เปิดพื้นที่การเรียนรู้”จวนมา แป๋งโคม ตัดตุง ที่กาดจริงใจ

เปิดพื้นที่การเรียนรู้”จวนมา แป๋งโคม ตัดตุง ที่กาดจริงใจ

บริษัท ในเครือกลุ่มเซ็นทรัล (Central Tham) ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเทศบาลตำบลท่าศาลา จังหวัดเชียงใหม่เปิดพื้นที่การเรียนรู้”จวนมา แป๋งโคม ตัดตุง ที่กาดจริงใจภายใต้การกำเนินงานวิจัยโครงการ“การพัฒนาศักยภาพทางธุรกิจและการเพิ่มมูลค่า ผลิตภัณฑ์ โคมล้านนาสำหรับผู้ประกอบการในตำบลท่าศาลา

วันที่ 1 ตุลาคม 2566 ณ โครงการจริงใจมาร์เก็ต บริษัทในเครือกลุ่มเซ็นทรัล (Central Tham) ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่(มช.)สานแรง สนับสนุน เปิดพื้นที่การเรียนรู้การพัฒนาโคมล้านนา ของตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเชิดชูภูมิปัญญาหัตถกรรมโคมล้านนาของตำบลท่าศาลา ภายใต้กิจกรรม “จวนมา แป๋งโคม ตัดตุง ที่กาดจริงใจ”

บริษัท ในเครือกลุ่มเซ็นทรัล (Central Tham) ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเทศบาลตำบลท่าศาลา จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้การกำเนินงานวิจัยโครงการ“การพัฒนาศักยภาพทางธุรกิจและการเพิ่มมูลค่า ผลิตภัณฑ์ โคมล้านนาสำหรับผู้ประกอบการในตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ระยะที่ 2” โดยนายจำรัส คำราพิศ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลท่าศาลา เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วยผศ.ดร.สุบัน พรเวียง (หัวหน้าโครงการ) สังกัดคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และนางอ้อมขวัญ สาณะเสน ผู้อำนวยการโครงการจริงใจมาร์เก็ต ในเครือกลุ่มเซ็นทรัล

โดยผศ. ดร. สุบัน พรเวียง อาจารย์คณะศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้รับผิดชอบโครงการ ต่อการผลักดันการผลิตภัณฑ์โคมล้านนาจากชุมชนท่าศาลา และกลุ่มผู้ประกอบการในการยกระดับผลิตภัณฑ์โคมล้านนาให้สามารถพัฒนาเป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ในจังหวัดเชียงใหม่ ที่พร้อมจะเผยแพร่ความรู้ความสามารถ และภูมิปัญญาล้านนา ให้เป็นที่รู้จักต่อนักท่องเที่ยวให้มากขึ้น จึงได้จัดกิจกรรม “จวนมา แป๋งโคม ตัดตุง ที่กาดจริงใจ” ภายในงานจะมีกิจกรรม Workshop การทำโคมล้านนา การตัดตุง และจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์โคม ณ ศาลาจตุรมุข โครงการจริงใจมาร์เก็ต ตำบลป่าตัน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566
กิจกรรมดังกล่าวจะเปิดแสดงนิทรรศการให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเรียนรู้และเยี่ยมชมได้ทุกวันเสาร์ – อาทิตย์ ตลอดระยะเวลา 3 เดือนตั้งแต่ 1 ตุลาคม2566 – 31 ธันวาคม2566

ชุมชนท่าศาลา จังหวัดเชียงใหม่ ต้นกำเนิดแหล่งการผลิตโคมของล้านนามาอย่างยาวนานมากกว่า 20 ทศวรรษ ฝีมือการประดิษฐ์โคมล้านนาโดยปราชญ์ชุมชนได้ถูกจัดจำหน่าย และกระจายทั่วฟ้าเมืองไทยและต่างประเทศมาอย่างยาวนาน แต่ทว่าหลายคนยังไม่รู้จักถึงที่มาของฐานการผลิต นี่จึงนับเป็นโอกาสสุดพิเศษ สำหรับทุกท่านที่สนใจเรียนรู้ และต้องการรับชมกระบวนการประดิษฐ์โคมล้านนา ที่จะได้ใกล้ชิดกับศาสตร์ที่ถูกสืบทอดมารุ่นต่อรุ่นจากกลุ่มผู้ประดิษฐ์โคมล้านนา พร้อมทั้งเป็นการสนับสนุน พัฒนา และธำรงค์ไว้ซึ่งประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นล้านนาในจังหวัดเชียงใหม่ และพื้นที่ใกล้เคียง โคมนับเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงออกทางอัตลักษณ์ภูมิปัญญาและความเชื่อที่พบเห็นมาตั้งแต่อดีตทั้งในงานพิธีกรรมท้องถิ่น พิธีกรรมหลวง และกิจกรรมสำคัญทั่วไป โดยรูปแบบของโคมจะแตกต่างกันไปตามแต่ละโอกาสที่จำเป็นต้องใช้ เช่น โคมเงี้ยว โคมดาว โคมหย้อ และโคมหัก เป็นต้น

นอกเหนือจากการใช้โคมประกอบพิธีกรรมแล้ว ในเทศกาลสำคัญประจำปี เช่น เทศกาลยี่เป็ง หรือ งานลอยกระทง ที่จัดขึ้นโดยจังหวัดเชียงใหม่ จะมีการประกวดแข่งขันการประดิษฐ์โคมสวยงาม โดยได้เปิดโอกาสให้ผู้ชำนาญการผลิตโคมล้านนาในชุมชนต่างๆ ได้ออกมาแสดงทักษะ และศักยภาพฝีมือ ให้กับคนในพื้นที่ นักท่องเที่ยวได้ชมอยู่เป็นประจำเพื่อเชิดชูเอกลักษณ์ของความเป็นล้านนา และอนุรักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิมไม่ให้สูญหาย กิจกรรม “จวนมา แป๋งโคม ตัดตุง ที่กาดจริงใจ” จึงเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่เกิดจากความร่วมมือขององค์กรทั้งภาครัฐ และเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่ ในการร่วมสืบสานวัฒนธรรมด้านโคมหัตถกรรมอันล้ำค่าต่อประชาชนทุกคน ให้อยู่เชิดชูคู่ถิ่นล้านนาสืบไป

ผศ. ดร. สุบัน พรเวียง อาจารย์คณะศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้รับผิดชอบโครงการฯ เปิดเผยว่า กิจกรรมในครั้งนี้เป็นความร่วมมือเพื่อยกระดับสินค้าหัตถกรรมชุมชนเผยแพร่และประชาสัมพันธ์เปิดช่องทางการตลาดที่ทางโครงการได้คัดเลือก โคมของเทศบาลตำบลท่าศาลาอาจจัดแสดงหรือโชว์เคสโคมที่ได้รับการพัฒนาแล้วและเพิ่มมูลค่าทางการตลาดเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เห็นโดยการจัดแสดงผลิตภัณฑ์โคมที่ได้รับการพัฒนาจะมีอยู่ 3 จุดจุดแรกที่จริงใจมาร์เก็ตเพิ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมถึง 31 ธันวาคม 2561 รวมระยะเวลา 3 เดือนจุดที่ 2 ที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเชียงใหม่ภายใต้กิจกรรมชื่อว่าเสน่ห์แห่งความล้านนาจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 7 ถึง 8 ตุลาคมนี้และที่วัดดอนจั่นภายใต้กิจกรรมคมมงคลโดยจุดนี้จะมีต่อเนื่องตลอดไปและมีผู้ประกอบการในชุมชนหมุนเวียนมาจัดทำโคมที่นี่

“ความสำเร็จของโครงการนี้คาดว่าจะทำให้ผู้ประกอบการมีรายได้เพิ่มมากขึ้นจากวันละ 100 บาทเป็น 600-700 บาทนอกจากนี้อย่างเป็นต้นแบบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างผู้ประกอบการใหม่เป็นทางเลือกใหม่ให้กับคนที่จะเข้ามาสืบทอดเพราะลักษณะโคมที่ทำนี้จะเน้นลูกค้าพรีเมี่ยมโดยผู้ประกอบการสามารถจำหน่ายได้ตลอดปีเพราะไม่ใช่ของที่ใช้ในช่วงเทศกาลแต่จะเป็นโคมตกแต่ง”

เหตุผลที่เลือกพื้นที่ตำบลท่าศาลาเป็นแหล่งพัฒนาโคมเนื่องจากว่าตำบลท่าศาลาเป็นแหล่งกำเนิดโคมมาตั้งแต่รุ่นพ่อครูแม่ครูแต่คนส่วนใหญ่ไม่รู้จักถ้าหากไม่มีคนรับช่วงต่อเกรงว่าภูมิปัญญานี้จะหายไปดังนั้นจึงจำเป็นต้องรักษาไว้สำหรับต้นทุนในการผลิตโคมทางเลือกใหม่นี้จากเดิมต้นทุนบวกค่าแรงอยู่ที่ 17 บาทแต่เมื่อออกจำหน่ายหักกับค่าแรงแล้วผู้ประกอบการแทบจะมีรายได้น้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำแต่พอพัฒนาโคมในรูปแบบใหม่ยกตัวอย่างโครงมงคลที่วัดดอนจั่นเจ้าอาวาสวัดดอนจั่นทำอักขระปลุกเสกให้ด้วยจึงจำหน่ายโขมละ 99 บาทซึ่งเป็นราคาศรัทธาและทำให้ผู้ประกอบการมีรายได้เพิ่มขึ้นโฉมละ 34 บาทหรือ 5 เท่าจากเดิมด้วยเหตุนี้ก็จะทำให้มีการต่อยอดและสร้างผู้ประกอบการสืบทอดภูมิปัญญาด้วย

ผศ.ดร.สุบัน กล่าวด้วยว่า ในปีแรกของโครงการมีผู้ประกอบการเข้าร่วม 10 กลุ่มจำนวน 35 คนในขณะนี้ได้ยื่นโครงการปีที่ 2 โดยจะขยายกลุ่มผู้ประกอบการเพิ่มเป็น 16 กลุ่ม 93 คน โดยขยายไปยังตำบลป่าแดดป่าบง จากเดิมแค่ตำบลท่าศาลา.

You may also like

อบจ.เชียงใหม่ระดม108หน่วยงาน “รวมใจเป็นหนึ่ง”ฟื้นฟูทำความสะอาดเมืองตั้งเป้าเสร็จภายในเดือนต.ค.นี้ขณะที่”ทักษิณ”ให้ 1 ล้านสนับสนุนกิจกรรม

จำนวนผู้