“แม่น้ำโขง” ในเงื้อมมือมหาอำนาจ

“แม่น้ำโขง” ในเงื้อมมือมหาอำนาจ

ฏิกิริยาคัดค้าน  และการยกป้ายประท้วงเรือสำรวจของจีน  ครั้งแล้วครั้งเล่า ที่ อ.เชียงของ จ.เชียงราย คือเครื่องหมายแสดงความไม่พอใจของผู้คนที่มีวิถีชีวิตผูกพันกับสายน้ำ พวกเขาถือว่าแม่น้ำโชงมีคุณอนันต์ต่อมวลมนุษยชาติ และสิ่งแวดล้อม การระเบิดเกาะแก่งกลางลำน้ำเพื่อให้เรือสินค้าขนาดใหญ่ของจีนแล่นไปถึงหลวงพระบาง ของ สปป.ลาว  จึงเป็นการทำลายแม่น้ำโขงในทุกมิตินิวัฒน์ ร้อยแก้ว หรือ “ครูตี๋” ประธานกลุ่มรักษ์เชียงของ เล่าว่า นับจากวันที่ 19 เมษายนที่ผ่านมา ประเทศจีนได้ส่งเรือสำรวจ 7 ลำ เข้าสู่ลำน้ำโขง ที่ อ.เชียงของ โดยการสำรวจครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อออกแบบการระเบิดแก่ง-ปรับปรุงร่องน้ำ อันเป็นส่วนหนึ่งของแผนการเดินเรือจีนในแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภูมิภาคของกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ได้แก่ จีน พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม“จีนกำลังเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์เพิ่มเติม จากที่ทำมาแล้วอย่างยาวนาน  โดยตั้งแต่ปี 2539 รัฐบาลจีนได้สร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงไปแล้ว 6 แห่ง และรัฐบาลลาวได้สร้างอีก 1 แห่ง ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของแม่น้ำโขงอย่างเห็นได้ชัด ระดับน้ำที่เคยเพิ่มและลดอย่างคาดการณ์ได้ตามฤดูกาล เริ่มผันผวน พืชและสัตว์น้ำลดปริมาณลง หากบทเรียนเหล่านี้กลับไม่ได้สร้างความตระหนัก ตื่นรู้ให้กับรัฐบาลไทย เมื่อมีมติเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ต่อแผนพัฒนาการเดินเรือระหว่างประเทศในแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ค.ศ.2015-2025 เมื่อวันที่ 27 ธ.ค.59 ซึ่งไม่ต่างจากการปล่อยให้จีนรุกล้ำอธิปไตยของไทย” ครูตี๋ อธิบายถ้าปล่อยให้มีการระเบิดเกาะแก่งในลำน้ำโขง ไม่เพียงวิถีชีวิตของผู้คนจะเปลี่ยนแปลงไป หากยังเป็นการทำลายระบบนิเวศอย่างรุนแรงด้วย เพราะเกาะแก่งน้อยใหญ่กลางลำน้ำโขง เป็นที่พักพิงของพืชและสัตว์ ที่เป็นอาหารของชาวบ้าน เช่น ไก (สาหร่าย) ปู ปลา ขณะเดียวกันยังช่วยชะลอน้ำตามธรรมชาติ ไม่ให้ไหลแรงจนท่วมหรือกวาดล้างพื้นที่เกษตรริมฝั่งโขงเสียหาย โดยวิกฤติจากการใช้เขื่อนควบคุมแม่น้ำโขงไม่ให้ไหลตามธรรมชาติที่เห็นได้ล่าสุด คือที่ผ่านมาแม่น้ำโขงไม่มีฤดูแล้ง ผู้คนริม 2 ฝั่งโขง จึงไม่สามารถทำมาหากินตามแบบวิถีดั้งเดิมได้ดังนั้น เพื่อแสดงว่าประชาชนไม่เห็นด้วยกับการพัฒนาดังกล่าว เมื่อวันที่ 15 พ.ค.60 ที่ผ่านมาชาวบ้าน และภาคีเครือข่ายจึงรวมตัวกัน เพื่อปฏิบัติการปกป้องแม่น้ำโขง ภายใต้ชื่อ “ปฏิบัติการโขงร่มเย็น 93” เสนอให้รัฐบาลไทยดำเนินการ 4 ข้อ คือ 1) ประเมินผลกระทบทางสังคมสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจจากการระเบิดแก่งแม่น้ำโขงในระยะที่ 1 ที่ดำเนินการผ่านมา 10 กว่าปีแล้ว 2) ศึกษาเศรษฐศาสตร์ด้านมูลค่าและคุณค่าของนิเวศลุ่มน้ำโขง ตลอดลำน้ำ 96 กิโลเมตรในเขตพรมแดนไทย-ลาว เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำคัญในกระบวนการตัดสินใจ ก่อนที่จะเดินหน้าโครงการนี้ต่อไป3) รัฐควรศึกษาและพัฒนาเส้นทางเศรษฐกิจอื่น ๆ เช่น ถนนสาย R3A  เร่งพัฒนาการขนส่งทางราง การพัฒนาท่าเรือเชียงแสน ให้สามารถรองรับการขนส่งสินค้าได้เต็มศักยภาพมากกว่าการจะทำลายเกาะแก่งแม่น้ำโขง และ 4) ให้รัฐบาลยกเลิกโครงการปรับปรุงร่องน้ำเพื่อการเดินเรือพาณิชย์ อันเป็นการปกป้องวิถีชีวิตของประชาชนท้องถิ่น ที่พึ่งพาอาศัยแม่น้ำโขง อาหาร น้ำอุปโภค รายได้ และดำรงไว้ซึ่งเกาะแก่ง หาดดอนทราย ระบบนิเวศเฉพาะที่สำคัญของแม่น้ำโขง ที่ช่วยหล่อเลี้ยงประชาชนกว่า 60 ล้านคน ทั้งในเขตประเทศไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนามประธานกลุ่มรักษ์เชียงของ กล่าวว่า ล่าสุด เมื่อวันที่ 22 พ.ค.60 ทางกลุ่มได้ส่งจดหมายถึง นายสีจิ้นผิง ประธานาธิบดีของจีน เพื่อชี้แจงกรณีข้อกังวลเรื่องโครงการปรับปรุงร่องน้ำเพื่อการเดินเรือแม่น้ำโขง โดยจดหมายระบุว่า เป็นเวลานานที่ประเทศจีนพยายามลงมาทางแม่น้ำโขงตอนใต้ เพื่อควบคุมระบบเศรษฐกิจและพยายามทำให้ประเทศต่างๆ ดำเนินการตามความต้องการของตน แต่หลายครั้งที่โครงการ และธุรกิจจากจีนเป็นเหมือนเครื่องมือทำลายความสัมพันธ์ในประเทศลุ่มน้ำโขง เช่น การลงทุนปลูกกล้วย การสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขงตอนบนซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ริมน้ำโขงแล้ว ยังส่งผลให้เศรษฐกิจโดยภาพรวมในภูมิภาคสั่นคลอนด้วย เนื่องจากเศรษฐกิจรวมศูนย์อยู่ที่จีน และแม้ปัจจุบันจีนจะได้ประโยชน์ก็ตาม แต่ในอนาคตการอยู่รวมกันในระดับภูมิภาค จะถือเอาแค่ประโยชน์ของประเทศใดประเทศหนึ่งไม่ได้ เพราะหลายประเทศต้องพึ่งพาอาศัยกัน และในเรื่องการระเบิดแก่งน้ำโขง กลุ่มรักษ์เชียงของกังวลว่าจะเป็นตัวเร่งเวลาในการทำลายสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพราะกรณีการทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)นั้น คนที่มีอำนาจประเมินผลคือ จีน ซึ่งไม่ยุติธรรมกับไทย และประเทศอื่นๆกรณีทีมที่ปรึกษาเข้ามาพบกลุ่มรักษ์เชียงของหลายครั้งนั้น ทางกลุ่มได้มีความพยายามจะขอดูร่างแผนแม่บท และข้อกำหนดอำนาจหน้าที่ (TOR) ของโครงการก่อน เพื่อความชัดเจน และอยากจะมีสิทธิทักท้วงได้ เพราะได้ต่อสู้ภาคประชาชนมาหลายรูปแบบแล้ว จึงลองใช้วิธีชี้แจงกับรัฐบาลจีนด้วย โดยเน้นย้ำว่าการเปลี่ยนแปลงใดๆ ของระบบนิเวศและทรัพยากรแม่น้ำโขง ย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อพวกเรา และในความเป็นจริงแล้ว การเชื่อมโยงเส้นทางเพื่อค้าขายระหว่างจีนและประเทศเพื่อนบ้าน สามารถทำได้หลายช่องทางไม่ว่าจะเป็นการขนส่งทางบก ทางรถไฟ และขนส่งทางน้ำ โดยไม่ต้องปรับปรุงร่องน้ำ ระเบิดเกาะแก่ง ขุดลอกสันดอนทรายกลางแม่น้ำโขง เพียงแค่ปรับขนาดของเรือบรรทุกให้สอดคล้องกับนิเวศภายภาพของแม่น้ำโขงเท่านั้นครูตี๋ ย้ำว่า ได้ระบุสิ่งสำคัญไว้ในจดหมาย คือ อยากให้ประธานาธิบดีจีนมองการอยู่ร่วมกันของพี่น้องในลุ่มน้ำโขงอย่างสันติ แม่น้ำโขงเป็นดังทรัพยากรล้ำค่าที่เราล้วนจำเป็นต้องดูแลรักษาใช้ร่วมกัน หากมุ่งทำลายแม่น้ำ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าหรือระเบิดแม่น้ำเพื่อการเดินเรือ สุดท้ายก็คงไม่มีใครได้ประโยชน์ ทั้งประชาชนในท้องถิ่นและคนจีน เราเห็นว่า

“การค้าขาย ต้องควบคู่ไปกับการรักษามิตรภาพ และอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เป็นมุ่งเน้นการพัฒนาอย่างสร้างสรรค์” 

You may also like

SUN ขับเคลื่อนนวัตกรรมเกษตรครบวงจร และจัดพิธีบวงสรวงพระพิรุณ ประจำปี 2567

จำนวนผู้