เชียงใหม่ขยายเวลา “ห้ามเผาทุกชนิดเริ่ม 25 เม.ย.-31 พ.ค. หลังค่าตรวจวัดคุณภาพอากาศเกินค่ามาตรฐานต่อเนื่อง

เชียงใหม่ขยายเวลา “ห้ามเผาทุกชนิดเริ่ม 25 เม.ย.-31 พ.ค. หลังค่าตรวจวัดคุณภาพอากาศเกินค่ามาตรฐานต่อเนื่อง

เชียงใหม่ขยายเวลา “ห้ามเผาทุกชนิดเริ่ม 25 เม.ย.-31 พ.ค. หลังค่าตรวจวัดคุณภาพอากาศเกินค่ามาตรฐานต่อเนื่อง เหตุมีการเผาพื้นที่เตรียมการเกษตรลามเข้าพื้นที่ป่า ขณะที่มหาดไทยไฟเขียวผู้ว่าฯทุกจังหวัดขยายเวลาได้ หวั่นกระทบต่อสุขภาพของประชาชน

นายสมคิด ปัญญาดี ผู้อำนวยการส่วนสิ่งแวดล้อม สนง.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า  หลังจากพ้นมาตรการ 51 วันไม่เผา เพื่อเชียงใหม่ไร้หมอกควัน ผลปรากฏว่าค่าตรวจวัดคุณภาพอากาศเกินค่ามาตรฐานซึ่งมีหลากหลายปัจจัย โดยเฉพาะหมอกควันข้ามแดนที่ไม่อาจปฏิเสธได้ โดยผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศวันนี้(24 เม.ย.) ปริมาณฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่าระหว่าง 75- 173 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เกินเกณฑ์มาตรฐาน (120 ไมโครกรัม/ลบ.ม.) 4 สถานี ใน 3 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ น่าน และแม่ฮ่องสอน โดยตรวจวัดสูงสุดได้ 173 ไมโครกรัม/ลบ.ม. ที่ ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่  โดยในภาพรวมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกจังหวัด และสาเหตุของหมอกควัน เกิดจากไฟป่า เนื่องจากการลักลอบเผาป่าเพื่อหาของป่า ล่าสัตว์ ไฟไหม้ริมทาง และไฟไหม้บ่อขยะ

อย่างไรก็ตามในช่วงที่ผ่านมา จังหวัดเชียงใหม่ได้มีการจัดการวางแผนบริหารจัดการเชื้อเพลิงอย่างเป็นระบบ โดยดูจากจุดความร้อนหรือ Hot Spot ซึ่งปี 2560 สถิติตั้งแต่ 1 ม.ค.-31 พ.ค. พบจุดความร้อนสะสม 904 จุด และในปีนี้ตั้งแต่ 1 ม.ค.-21 เม.ย.พบจุดความร้อน 600 จุด ซึ่งเหลือเวลาอีก 1 เดือนกว่าก็จะสามารถวัดสถิติว่ามีพื้นที่เกิดการเผาไหม้และพื้นที่เสียหายจากไฟป่าจำนวนเท่าไหร่  ทั้งนี้หากดูย้อนหลังตั้งแต่ปี 2558 พบมีพื้นที่ป่าถูกเผาไหม้กว่า 3 ล้านไร่และปี  2559 ลดลงเหลือ 1.4 ล้านไร่ พอปี 2560 มีการบริหารจัดการและควบคุมการเกิดจุดความรอ้นได้ผลเป็นที่น่าพอใจ พบพื้นที่ป่าถูกเผาไหม้ 8 แสนกว่าไร่ และในปี 2561 มีการควบคุมการบริหารจัดการอย่างเต็มที่ สามารถควบคุมการเกิดจุดความร้อนเป็นที่น่าพอใจ แต่เนื่องจากการเกิดไฟป่ายังพบว่าเป็นเขตป่าถึงร้อยละ 80 เพราะยังมีราษฎรที่อาศัยและเข้าไปทำกินในเขตพื้นที่ป่าอยู่

ผอ.ส่วนสิ่งแวดล้อม สนง.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวอีกว่า ในช่วง 51 วันห้ามเผานั้น ในปี 2560 พบจุดความร้อน 609 จุด แต่ปีนี้พบจุดความร้อน 246 จุด ซึ่งลดลงจากปีก่อนถึงร้อยละ 64 และพบว่าทุกอำเภอมีสถิติที่ลดลง แต่ก็ยังพบว่าช่วงที่เกิดไฟป่ายังเป็นพื้นที่ป่าสงวนและป่าอนุรักษ์ ซึ่งมีพื้นที่กว้าง และช่วงที่หมดมาตรการห้ามเผาถึงแม้จะมีการควบคุมโดยเฉพาะพื้นที่ทำกินที่ติดกับพื้นที่ป่า ซึ่งใช้กำลังอาสาสมัคร ชุดเสือไฟแล้วก็ตามแต่ก็ยังพบว่ามีเชื้อเพลิงที่ลามจากการเผาพื้นที่ทำกินเข้าไปไหม้ป่าอีก จึงทำให้ปัจจุบันค่าคุณภาพอากาศเกินค่ามาตรฐาน

“ทางสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดทำร่างประกาศจังหวัดเชียงใหม่ เสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ลงนามเพื่อห้ามเผา หรือขยายระยะเวลาห้ามเอาออกไปอีก เริ่มตั้งแต่ 25 เม.ย.-31 พ.ค.2561 ทั้งนี้ก็เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน และในช่วงห้ามเผานี้จะเป็นการบูรณาการจากประชาชนจิตอาสา ผู้นำท้องถิ่นและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเฝ้าระวังด้วย ส่วนของจังหวัดอื่นๆ ก็ทราบว่าทางกระทรวงมหาดไทยเองก็มีหนังสือถึงผู้ว่าฯทุกจังหวัดว่าหากสถานการณ์หมอกควันยังไม่คลี่คลายก็สามารถขยายระยะเวลาห้ามเผาได้ และประกาศห้ามเผานี้ก็มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายเดิมทุกอย่างด้วย”นายสมคิด กล่าว.

You may also like

อบจ.เชียงใหม่จับมือภาคีเครือข่าย จัดงาน “วันสิ่งแวดล้อมไทย ประจำปี ภายใต้แนวคิด “รักษ์ป่า รักษ์ดิน รักษ์สิ่งแวดล้อม”

จำนวนผู้