เหมืองแร่อมก๋อยวุ่น เรียก 4 นศ.แม่โจ้รับทราบข้อกล่าวหาหมิ่นประมาท

เหมืองแร่อมก๋อยวุ่น เรียก 4 นศ.แม่โจ้รับทราบข้อกล่าวหาหมิ่นประมาท

เชียงใหม่ – นศ.แม่โจ้ ประสานศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่นช่วย หลังถูกบริษัทเหมืองอมก๋อย แจ้งความหมิ่นประมาท ด้านเครือข่ายยุติเหมืองแร่อมก๋อย ระบุสำนักนายกฯ ติดตามเรื่องใกล้ชิด แนะส่งข้อมูลทำ EIA ตรวจสอบละเอียด ขณะที่ทางอุตฯ จังหวัด นัดเจรจาหาทางจัดเวทีอีกครั้งจากกรณีที่ประชาชนในพื้นที่อมก๋อย ออกมาคัดค้านบริษัทเอกชนในการขอประทานบัตรเหมืองแร่ถ่านหิน ในพื้นที่ 284 ไร่ ของหมู่ 12 บ้านกะเบอะดิน ต.อมก๋อย อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ตั้งแต่วันที่ 26 เม.ย.2562 ที่ผ่านมา เพราะเกรงจะเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพนั้น ทำให้ชาวบ้านที่ร่วมเครือข่ายยุติเหมืองแร่อมก๋อย รวมถึงนักวิชาการ ถูกบริษัทเอกชนฟ้องหมิ่นประมาทล่าสุด นายวรพล โชติจิรเดชากุล หัวหน้าพรรคเสรีอินทนิล ซึ่งเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยบริหารศาสตร์ สาขารัฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิดเผยว่า นักศึกษาพรรคเสรีอินทนิล ได้ลงพื้นที่บ้านเบอกะดิน เมื่อวันที่ 26 พ.ค.2562 เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับชาวบ้าน หากมีการสร้างเหมืองถ่านหินในพื้นที่ และฟังความวิตกกังวลของชาวบ้าน ขณะเดียวกันก็ได้เผยแพร่ข่าวสารการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลในสื่อแห่งหนึ่ง โดยไม่ได้ระบุชื่อบริษัทเอกชนแต่อย่างใด หากกลับถูกบริษัทแจ้งความหมิ่นประมาท กับนักศึกษา 4 คนในกลุ่ม และทาง สภ.อมก๋อย ได้ออกหมายเรียกให้เข้ารับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 27 พ.ย.นี้ เวลา 13.00 น.“ตำรวจติดต่อมาทางโทรศัพท์ ให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาหมิ่นประมาท ด้วยการนำข้อความลงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในลักษณะเป็นการใส่ความบริษัทเอกชน จึงได้ประสานกับนายสุมิตรชัย หัตถสาร ผอ.ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น ขอให้ช่วยดำเนินการตามขั้นตอนของกฏหมายต่อไป” นายวรพล กล่าวน.ส.ขวัญหทัย โล่ติวิกุล ผู้ประสานงานเครือข่ายยุติเหมืองแร่อมก๋อย กล่าวว่า หลังจากที่ไม่สามารถจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นได้ ในวันที่ 28 ก.ย. ที่ผ่านมา ทางเครือข่ายยุติเหมืองแร่อมก๋อย ได้ทำหนังสือร้องเรียนความเดือดร้อนของชาวบ้านในพื้นที่ ถึงสำนักนายกรัฐมนตรี ต่อมาเมื่อวันที่ 14 พ.ย. ทาง พ.ต.ท.พงศ์อินทร์ อินทรขาว ผู้ตรวจราชการพิเศษสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมคณะได้ลงพื้นที่อมก๋อย เพื่อรับทราบข้อมูลตรงจากชาวบ้าน พร้อมทั้งแนะนำให้อุทธรณ์เรื่อง การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เข้าไป โดยให้รวบรวมข้อมูลความผิดพลาดของการดำเนินการให้ชัดเจน ส่งให้สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อตรวจสอบอย่างละเอียดนอกจากนี้ ยังได้ทำหนังสือถึงสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เรื่องการทำ EIA ที่ชาวบ้านในพื้นที่ไม่รับทราบข้อมูลมาก่อน ซึ่งก็มีการตอบกลับจากทาง สผ. ว่าหากมีข้อผิดพลาดจุดไหนให้แจ้งเข้ามา ทั้งที่ตามข้อเท็จจริง ทาง สผ.จะต้องเข้ามาตรวจสอบความถูกต้องของการทำ EIA เองขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ ได้นัดหมายเครือข่ายยุติเหมืองแร่อมก๋อย และกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ ให้เข้ามาพูดคุยเบื้องต้น เพื่อปรึกษาเรื่องการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นอีกครั้ง ในวันที่ 11 ธ.ค.นี้ ซึ่งทางเครือข่ายจะยื่นเงือนไขให้ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดเชียงใหม่ เข้ามาเป็นตัวกลางในการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นในครั้งต่อไป.

You may also like

builds มช. ขนทัพสตาร์ทอัพนักศึกษาคับคั่ง พิสูจน์ความสำเร็จ ตั้งบริษัทจริงระหว่างเรียน

จำนวนผู้