วงถก “ตัวตนอยู่หนใด? …” จี้รัฐ-สังคม ต้องมองคนอย่างสร้างสรรค์ ให้คุณค่าความเป็นมนุษย์  

วงถก “ตัวตนอยู่หนใด? …” จี้รัฐ-สังคม ต้องมองคนอย่างสร้างสรรค์ ให้คุณค่าความเป็นมนุษย์  

- in headline, จับกระแสสังคม

เฃียงใหม่ (25 มี.ค.60) / ถก “ตัวตนอยู่หนใด? แล้วใครไร้ตัวตน” นักวิชาการชี้รัฐ-สังคมต้องเปลี่ยนวิธีมองคนอื่นอย่างสร้างสรรค์-ให้คุณค่าความเป็นมนุษย์  อย่ามองการวิสามัญฯ “ชัยภูมิ ป่าแส” เป็นเรื่องปกติ ด้าน นศ.-นักกิจกรรม  ย้ำสังคมไทยตัดสินคนแบบเหมารวม ตีความคับแคบ ทำให้คนตัวเล็กตัวน้อยไร้สิทธิไร้เสียง ขณะที่เยาวชนพื้นที่สร้างสรรค์ทั่วประเทศ รวมตัวออกแถลงการณ์ เรียกร้อง 3 ข้อจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเมื่อเวลา 13.30 น. ที่ชั้น 1 อาคารศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้มีการจัดกิจกรรม “ตัวตนอยู่หนใด? แล้วใครไร้ตัวตน” ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากเพลง “จงภูมิใจ” ของชัยภูมิ ป่าแส โดยมีนายเบน โรเบิร์ต สวัสดิวัฒน์  กงสุลกิตติมศักดิ์อังกฤษประจำจังหวัดเชียงใหม่  และผู้สนใจร่วมกว่า 60 คน เข้าร่วม  และกิจกรรมประกอบด้วยการเสวนา “ตัวตนในสื่อ ตัวตนในอุดมคติ และตัวตนในตัวตน” การอ่านแถลงการณ์ จัดนิทรรศการ มุมบอร์ดแสดงความคิดเห็น และเวทีดนตรีสำหรับกิจกรรมเสวนา วิทยากรประกอบด้วย ดร.พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล, นายชัยพงษ์ สำเนียง นักศึกษาปริญญาเอกสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, น.ส.ศรัญญา กาตะโล เครือข่ายเยาวชนต้นกล้าชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ดำเนินรายการโดยนายนลธวัช มะชัย นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่นายชัยพงษ์ กล่าวว่า แม้จะมีตัวตน แต่ก็ไร้ตัวตนอยู่ดี เพราะท่ามกลางรัฐประหาร มีความรุนแรงต่อคนชายขอบ คนยากจน คนมีอำนาจน้อยในสังคมอีกจำนวนมาก ที่ต้องเผชิญกับอำนาจทหาร ซึ่งสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นมายาคติ คนถูกแยกเป็นหลายระดับ เช่น คนชายขอบ คนจน คนรวย กลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งได้รับการยอมรับไม่เท่ากัน ส่งผลให้รัฐผู้กุมอำนาจทำอะไรก็ได้ ในสังคมที่อำนาจถูกรวมศูนย์ ไม่มีความเป็นพหุวัฒนธรรม ความเป็นมนุษย์จะไม่เท่าเทียมกัน ยิ่งสื่อต่างๆ นำเสนอภาพกลุ่มชาติพันธุ์หรือชาวเขาให้ไม่เท่ากับคนไทย เป็นกลุ่มคนที่สกปรก น่ารังเกียจ ไม่มีความรู้ ฯลฯ  เมื่อเกิดปัญหากับแรงงานข้ามชาติกลุ่มไทใหญ่ ที่มีหลายกลุ่ม แต่พอมีคนทำความผิดก็ตีรวมว่าเป็นพม่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ จึงพยายามสร้างพื้นที่ของตัวเองในสังคมไม่ได้จำยอมกับมายาคติ สิ่งที่สังคมตัดสิน หรือรัฐบีบคั้น ดังบทเพลงของชัยภูมิที่ว่า “ไม้ว่าเราไม่มีสัญชาติ แต่เราก็ยังมีลมหายใจ”อย่างไรก็ตาม ตราบใดที่ไม่สามารถสร้างความเข้าใจให้กับสังคมเกี่ยวกับพหุวัฒนธรรม ยอมรับความแตกต่าง ยอมรับชาติพันธุ์ ก็เท่ากับระบบการศึกษาของไทยล้มเหลว ยิ่งสถานการณ์หลังรัฐประหาร แม้แต่การจัดกิจกรรมเสวนาทางวิชาการ ยังต้องขออนุญาตครั้งแล้วครั้งเล่า จึงไม่ต้องมองว่าเสียงเล็กเสียงน้อยของคนชายขอบ และกลุ่มชาติพันธุ์จะมีความหมาย เพราะความคิดเรื่องรัฐชาติ สัญชาติ คือปัญหาของสังคมไทย ทั้งที่ความเป็นพลเมืองมีหลายแบบ พลเมืองทางเศรษฐกิจ พลเมืองทางวัฒนธรรม ฯลฯ ทว่าสังคมไทยมองความเป็นพลเมืองเฉพาะที่เป็นทางการเท่านั้น  (มีบัตร มีสัญชาติ) มีความคับแคบของการตีความ จึงไม่มีทางออก และเป็นปัญหาใหญ่มาก ทำให้คนจำนวนมากขาดพื้นที่ ขาดสิทธิ ขาดเสียง จำเป็นต้องครุ่นคิดและตั้งคำถามว่าเราจำเป็นต้องแก้ไขมุมมองต่อรัฐ ต่อสังคม ต่อคนชายขอบ ต่อชาติพันธุ์ไหมดร.พัทธ์ธีรา กล่าวว่า แม้การวิสามัญฆาตกรรมที่เกิดขึ้นในสังคมไทยนั้น จะนับครั้งไม่ถ้วน แต่เราต้องไม่ยอมรับความรุนแรง  อย่าเห็นว่าเป็นเรื่องปกติ ไม่ว่าจะเป็นการวิสามัญพลเมืองหมายเลขอะไร หรือเกิดขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้  และการที่นายชัยภูมิ ถูกวิสามัญฆาตกรรม  ถูกมองข้าม ไม่มีตัวตนในสังคม มาถึงวันนี้  “ผู้ไม่มีตัวตนกลับมีตัวตนทุกหนแห่ง” ซึ่งไม่ได้หมายถึงเฉพาะเขา แต่ยังรวมถึงผู้ไม่มีตัวตนทุกคนด้วยในสังคมไทยมีวิธีการมองคุณค่าความเป็นคน หรือความมีตัวตนหลายรูปแบบ มีการจำแนก รัฐมองว่าคนชายขอบ กลุ่มชาติพันธุ์มีปัญหา เกี่ยวข้องกับยาเสพติด และบางคนก็เชื่อตาม ดังนั้นการต่อรองจะทำอย่างไร เมื่อเสียงไม่ดังพอ ไม่ว่าคนกลุ่มนี้จะพูดหรือตะโกนอย่างไร โดยในพ.ศ. 2491 ประเทศไทยประกาศใช้กติกาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ให้เคารพ ปกป้อง เติมเติมสิทธิ์ของผู้อื่น อันเป็นพื้นฐานของสังคมมนุษย์ แต่การวิสามัญฆาตกรรมไม่ว่าจะเป็นคนมีบัตร หรือไร้บัตร ล้วนเป็นการละเมิดสิทธิผู้อื่น วิธีการตัดสินของรัฐด้วยการฆ่าตัดตอน อุ้มหาย ทำให้ความน่าเชื่อถือของไทยลดลงแบบดิ่งเหว ฉะนั้น การเปลี่ยนวิธีมองตัวตนของคนอื่น จากมายาคติ มาเป็นมองในหลายมิติอย่างสร้างสรรค์ มองอย่างให้คุณค่าคน และไม่ใช้วิธีฆ่าในการตัดสินปัญหา จึงเป็นสิ่งท้าทายอย่างยิ่งในสังคมดร.พัทธ์ธีรา ยังกล่าวต่อไปว่า เมื่อหันกลับมามองทางออกในแง่ของการศึกษา ระบบการศึกษาไทยประสบความสำเร็จในการหล่อหลอมให้คนพยายามบังคับ ปรับตัว ให้เป็นพลเมืองไทย แต่ล้มเหลวอย่างยิ่งในการสร้างความเป็นมนุษย์ การศึกษาที่สูงไม่ได้ประกันว่าจะมีความเป็นมนุษย์มากขึ้นด้าน น.ส.ศรัญญา กล่าวว่า คนไทยมักจะเหมารวมคนเผ่านั้นทำลายป่า เผ่านี้ค้ายา เผ่าโน้นสกปรก คนเล็กคนน้อยเหล่านี้จึงต้องพยายามต่อสู้ ลุกขึ้นามารณรงค์ให้สังคมมองเห็นตัวตน อันเป็นจุดเริ่มจ้นการแต่งเพลงของ”ชัยภูมิ ป่าแส” เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้คนด้อยโอกาส ให้สื่อ สังคม มองพวกเราอีกแบบหนึ่ง ที่ไม่ใช่แบบเดิม ซึ่งตัดสินไปเรียบร้อยแล้ว“เวลาเราแต่งชุดชนเผ่า สังคมมองว่าเราเป็นคนดอย เมื่อเราพูดภาษาของตัวเอง ก็มองว่าพูดไทยไม่ชัด ไม่ใช่คนไทย การเรียนสูงๆ จึงไม่ใช่ทางออก ถ้ายังมองว่าคนไม่ใช่คน และอยากฝากให้คิดว่าในสถานการณ์เช่นนี้เราจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไรในสังคม” น.ส.ศรัญญา กล่าวต่อมาในเวลาประมาณ 15.50 น. น.ส.วรวลัญช์ ศรีนา ตัวแทนดีจัง Young Team เยาวชนพื้นที่สร้างสรรค์ทั่วประเทศ ได้อ่านแถลงการณ์ หยุดการละเมิดสิทธิเพื่อนของเรา และขอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างยุติธรรมโดยด่วน กรณีการวิสามัญฆาตกรรมนายชัยภูมิ ป่าแส เยาวชนกลุ่มรักษ์ลาหู่ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ เนื้อความโดยสรุปคือ 1) เรียกร้องให้ผู้รับผิดชอบและผู้เกี่ยวข้องกับการวิสามัญฆาตกรรม รวมถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และองค์กรด้านสิทธิเด็ก หยุดให้ข่าวที่เป็นการละเมิดสิทธิเด็ก หยุดสนับสนุนมาตรการความรุนแรงต่อผู้ต้องสงสัยที่ยังเป็นเด็กและเยาวชน ซึ่งยังไม่ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงถึงการกระทำความผิดตามข้อกล่าวหา2) ขอให้ไต่สวน ตรวจสอบข้อเท็จจริง ทั้งโดยหน่วยงานรับผิดชอบ ร่วมกับองค์กรที่เป็นกลาง เช่นคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และองค์กรนานาชาติด้านสิทธิมนุษยชน รวมถึงภาคประชาชน เพื่อสร้างความจริงและความเป็นธรรมให้กับนายชัยภูมิ ป่าแส 3) ขอให้หยุดการข่มขู่คุกคาม และดูแลความปลอดภัยของญาติมิตร ครอบครัว คนในพื้นที่ซึ่งเกี่ยวข้องกับนายชัยภุมิ และนายพงศนัย แสงตะหล้า เพื่อนของนายชัยภูมิที่ถุกคุมขัง กับประจักษ์พยานบุคคลต่างๆ.

You may also like

ผบ.นบ.ยส.35 ลงพื้นที่อำเภอไชยปราการ เพื่อตรวจเยี่ยมกำลังพลเพิ่มความเข้มก่อนหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์

จำนวนผู้