ผู้ว่าฯเชียงใหม่ยังไม่ฟันธงสถิติภาคเหนือพบผู้ป่วยมะเร็งปอดมากสุด ขณะที่รศ.ดร.วิษณุชี้ไทยใช้ค่าตรวจวัด 24 ชม.เฉลี่ยสูงกว่า WHO กำหนดคนไทยต้องปอดแข็งแรงกว่าทั่วโลกถึง 3.3 เท่า

ผู้ว่าฯเชียงใหม่ยังไม่ฟันธงสถิติภาคเหนือพบผู้ป่วยมะเร็งปอดมากสุด ขณะที่รศ.ดร.วิษณุชี้ไทยใช้ค่าตรวจวัด 24 ชม.เฉลี่ยสูงกว่า WHO กำหนดคนไทยต้องปอดแข็งแรงกว่าทั่วโลกถึง 3.3 เท่า

ผู้ว่าฯเชียงใหม่ยังไม่ฟันธงสถิติภาคเหนือพบผู้ป่วยมะเร็งปอดมากสุด ขอตรวจสอบข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขก่อน เผยปีนี้เดินหน้าแก้ไขปัญหาไฟป่าเร็วกว่าเดิม 1 เดือน   ขณะที่รศ.ดร.วิษณุชี้ฝุ่นpm2.5เป็นสาเหตุมะเร็งและอันตรายต่อสุขภาพแจงประเทศไทยยังใช้ค่าตรวจวัดโดยใช้ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ที่ 50 ไมโครกรัม/ลบ.ม. แต่ WHO แนะนำ 15 ไมโครกรัม/ลบ.ม. ดังนั้น คนไทยเราถูกสมมติให้มีปอดและร่างกายที่แข็งแรงกว่าคนทั่วไปของโลก 3.3 เท่าตัว

วันนี้ (12 พ.ย. 65) นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยถึงกรณีที่มีสถิติออกมาว่าภาคเหนือ มีผู้ป่วยมะเร็งปอดมากที่สุดเมื่อเทียบกับภาคอื่น โดยคาดว่า น่าจะมาจากมลพิษทางอากาศ PM2.5 ในจังหวัดเชียงใหม่ นั้น เบื้องต้น ขอตรวจสอบข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขอีกครั้ง เพื่อความถูกต้อง

อย่างไรก็ตาม ปัญหาหมอกควันไฟป่า ถือว่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานาน ซึ่งหลังจากรู้ปัญหาและเจอสาเหตุ ภาครัฐก็ได้มีวิธีบริหารจัดการให้สถานการณ์ทุเลาเบาบางลง และแก้ปัญหาในแต่ละจุด พร้อมสร้างความเข้าใจ และประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วน โดยปีนี้ จะได้นำบทเรียนจากปีที่ผ่านมา ทั้งสิ่งที่ทำแล้วเกิดผลดีในปีก่อน ก็จะนำมาทำซ้ำและขยายผล ส่วนบทเรียนที่ทำแล้วไม่ได้ผล ก็จะปรับให้ดีขึ้น ประกอบกับการขยายพื้นที่เป้าหมายในการป้องกันการเผา และในปีนี้ได้มีการเดินหน้าแก้ไขปัญหาไปแล้ว ซึ่งเร็วกว่าเดิมเป็นเวลา 1 เดือน

ส่วนปัญหาไฟเผาที่มาจากประเทศเพื่อนบ้านนั้น ก็ได้มีการคุยกับกงสุลใหญ่ของเมียนมาและผู้นำแนวชายแดน เพื่อช่วยควบคุมการเผา หรือหากเกิดขึ้นแล้วก็ขอให้รีบดับอย่างเร็วที่สุด เพื่อลดผลกระทบของหมอกควันที่ลอยข้ามมาในจังหวัดเชียงใหม่ และพื้นที่ภาคเหนือตอนบน

ด้านปัญหาความไม่สอดคล้องกันของจังหวัดข้างเคียงในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่า ก็จะได้มีการหารือร่วมกันกับจังหวัดลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน เพื่อให้การดำเนินงานสอดคล้องกันและลดข้อจำกัดในการแก้ไขปัญหา เพื่อทำให้ชาวเชียงใหม่และชาวเหนือมีความมั่นใจที่มากขึ้น และมีการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม

อย่างไรก็ตาม ประชาชนในพื้นที่ หมู่บ้าน ชุมชน ถือเป็นกำลังหลักสำคัญในการร่วมมือและสอดส่องป้องกันการเผาในพื้นที่ ซึ่งหากพบเห็นสามารถแจ้งได้ทันทีในทุกช่องทาง เพื่อให้ควันจากการเผาเกิดขึ้นน้อยที่สุด

ขณะที่ รศ. ดร.วิษณุ อรรถวานิช อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญงานวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเกษตร และยังเป็นเจ้าของรางวัล “ป๋วย อึ๊งภากรณ์” นักเศรษฐศาสตร์รุ่นใหม่ที่มีผลงานดีเด่น ประจำปี 2562 ได้โพสต์เฟสบุ๊คส่วนตัวว่า ภัยร้ายต่อสุขภาพจากฝุ่นพิษ PM2.5 มีอะไรบ้าง นอกจากมะเร็งปอด? ก่อนอื่นขอให้กำลังใจคุณหมอกฤตไทที่ตรวจพบโรคมะเร็งปอดระยะสุดท้ายนะครับ ต้องขอขอบคุณคุณหมอมากๆ ที่ช่วยสร้างความตระหนักรู้ให้สังคมไทยถึงอันตรายของฝุ่นพิษ PM2.5 จริงๆ นอกจากมะเร็งปอดแล้ว ฝุ่นพิษ PM2.5 ยังเป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะโรคที่เราเรียกว่า โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases: NCDs) ซึ่งไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ แต่เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งจะมีการดำเนินโรคอย่างช้าๆ ค่อยๆ สะสมอาการอย่างต่อเนื่อง และเมื่อมีอาการของโรคแล้วมักจะเกิดการเรื้อรังของโรค

การรวบรวมผลการศึกษาจากวารสารวิชาการทั้งในไทยและต่างประเทศในสมุดปกขาวอากาศสะอาด และสมุดปกเขียวอากาศสะอาด ซึ่งจัดทำโดยเครือข่ายอากาศสะอาด ประเทศไทย พบว่า ฝุ่นพิษ PM2.5 ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปอด มะเร็งตับ มะเร็งไต มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเม็ดเลือดขาว หัวใจล้มเหลว หัวใจขาดเลือด เส้นเลือดอุดตันในสมองเฉียบพลัน สมองเสื่อม เบาหวาน ระบบสืบพันธุ์ผิดปกติ หอบหืด โรคซึมเศร้า โรคอ้วน เยื่อบุตาอักเสบ จมูกอักเสบ ผื่น และภูมิแพ้
สาเหตุที่ทำให้เจ้าฝุ่นพิษ PM2.5 อันตรายมากเพราะขนาดของฝุ่นที่เล็กมากซึ่งมีขนาดเล็กกว่าหรือเท่ากับ 2.5 ไมครอน หรือถ้าจะให้เข้าใจง่ายๆ คือ เจ้าฝุ่นพิษนี้มีขนาดเล็กกว่าขนาดเส้นผมถึง 30-40 เท่า เมื่อหายใจเข้าไปขนจมูกของเราไม่สามารถช่วยกรองได้ ฝุ่นจิ๋วนี้เลยเข้าปอดและกระแสเลือดได้ง่ายมาก สิ่งที่อันตรายจากฝุ่นพิษจริงๆ คือ สิ่งที่ติดมากับฝุ่น ไม่ว่าจะเป็นโลหะหนัก (ตะกั่ว ปรอท) สารก่อมะเร็ง (พีเอเอ็ช) สารก่อการกลายพันธุ์ (ไดอ๊อกซิน (dioxin) PM2.5 จัดเป็นสารก่อมะเร็งกลุ่ม 1 ซึ่งอันตรายมาก
ช่วงนี้ค่าฝุ่นพิษ PM2.5 กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ต้องหาทางป้องกันด้วยความไม่ประมาทกันนะครับ ตรวจเช็คแอปก่อนออกจากบ้าน ถ้าค่าฝุ่นจิ๋วสูง ควรใส่หน้ากากอนามัย N95 ที่ป้องกันเจ้าฝุ่นจิ๋วได้ หน้ากากอนามัยธรรมดาป้องกันได้น้อยมาก และควรอ่านค่าฝุ่น PM2.5 ด้วยมาตรฐานสากล ประเทศไทยเรายังเตือนภัยโดยใช้ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ที่ 50 ไมโครกรัม/ลบ.ม. แต่ WHO แนะนำ 15 ไมโครกรัม/ลบ.ม. ดังนั้น คนไทยเราถูกสมมติให้มีปอดและร่างกายที่แข็งแรงกว่าคนทั่วไปของโลก 3.3 เท่าตัว.

You may also like

“ส.ว.ก๊อง”ลั่นลงสมัครป้องกันแชมป์สมัยหน้าในนามพรรคเพื่อไทย แย้มครั้งนี้ “ทักษิณ” ขอเป็นผู้ช่วยหาเสียง พร้อมลงพื้นที่ 25 อำเภอ

จำนวนผู้