ปัญหามลพิษเกิดได้กับทุกคน ทั้งผู้ก่อมลพิษและคนทั่วไป การลดปัญหาก็ต้องแก้จากลดการเกิดจากแหล่งมลพิษหลัก

ปัญหามลพิษเกิดได้กับทุกคน ทั้งผู้ก่อมลพิษและคนทั่วไป การลดปัญหาก็ต้องแก้จากลดการเกิดจากแหล่งมลพิษหลัก

ประธานคณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือระบุสาเหตุหลักการเกิดฝุ่นpm2.5 มาจากการเผาในที่โล่ง ชี้คนที่อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดมลพิษมีความเสี่ยงสูงเกิดมะเร็งปอดได้ ในขณะที่ปัญหามลพิษเกิดได้กับทุกคน ทั้งผู้ก่อมลพิษและคนทั่วไป

รศ.ดร.สมพร จันทระ ประธานคณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ค่าเฉลี่ยฝุ่นpm2.5จะสูงมากในช่วงเดือนแรกก.พ.-มี.ค.-เม.ย. โดยปี 2015 ค่าเฉลี่ยรายวันสูงที่สุด สำหรับปี 2564 สถานีตรวจวัดที่ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ค่าเฉลี่ยรายวันพบว่ามีค่าเฉลี่ยสูงเกินค่ามาตรฐานถึง 250 ไมโครกรัมต่อลบ.ม.ส่วนจุดความร้อนรายอำเภอ ข้อมูลเฉลี่ย 4 ปี ทั้งเชียงดาว ฮอด อมก๋อยจะมีการเผาในที่โล่งค่อนข้างมาก ซึ่งพบว่าค่าที่ได้มีความสัมพันธ์กับค่าฝุ่นด้วย โดยช่วงม.ค.-เม.ย.จะพบว่ามีการเผาทั้งในประเทศ ภาคเหนือตอนบน พม่าและลาว

จากการศึกษาวิจัยสถิติการเกิดpm2.5 ในช่วงเกิดโควิดฯซึ่งให้มีการ  “work from home” ตั้งแต่ปีที่แล้วกลับพบว่าค่าฝุ่นไม่ได้ลดลงเหมือนที่กรุงเทพฯ ที่การเดินทางน้อยลงและค่าpm2.5 ก็ลดลง แต่ทางภาคเหนือต่างกันซึ่งแสดงให้เห็นว่าปัจจัยจากการจราจรมีผลต่อค่าpm2.5 น้อยกว่า เช่นเดียวกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเทียบกันจะเห็นว่าค่าที่ได้ต่างกัน

รศ.ดร.สมพร กล่าวอีกว่า ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการสะสมตัวของฝุ่นpm2.5 ของภาคเหนือคือสภาพภูมิประเทศที่อยู่ในแอ่ง และสภาพดิน ฟ้า อากาศซึ่งความกดอากาศสูงและอุณหภูมิทำให้อากาศถูกกดอยู่ในแอ่ง แต่ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือการเผาในที่โล่ง ซึ่งปัจจุบันได้ให้ความสำคัญของขนาดของฝุ่น ถ้า pm10 ซึ่งเป็นฝุ่นหยาบจะมีขนาดเท่ากับละอองเกสร แต่ถ้าเป็นpm2.5 เป็นฝุ่นละเอียดจะมีขนาดเท่ากับเม็ดเลือดแดงและมีขนาดฝุ่นที่ละเอียดลงไปอีกคือ pm0.1 0 จะเท่ากับไวรัส

จากการเก็บตัวอย่างที่เก็บในปี 62 ในเมืองกับนอกเมือง ซึ่งนอกเมืองคือที่เชียงดาว ซึ่งค่าฝุ่นเชียงดาวสูงกว่าเชียงใหม่ในเวลาเดียวกันเพราะมีการเผาในที่โล่งสูง และเมื่อเก็บข้อมูลแยกขนาดฝุ่นและเมื่อเทียบกับผลกระทบต่อสุขภาพจะพบว่าฝุ่นละเอียดจะเข้าสู่ร่างกายได้ลึกตั้งแต่ปอดจนถึงกระแสเลือด โดยพบว่าฝุ่นที่เล็กกว่า 1 ไมครอนที่เชียงดาวพบมากกว่าในตัวเมืองเชียงใหม่ และเมื่อแยกขนาดและคำนวณสัดส่วนพบว่าประมาณ 50% ของฝุ่นเชียงใหม่มีขนาดเล็กกว่า 1 ไมครอน แต่ที่เชียงดาวเกือบ 60% มีขนาดเล็กกว่า 1 ไมครอน เมื่อเอาไปคำนวณความเสี่ยงต่อสุขภาพคนจะได้รับผลกระทบมากกว่า

“เมื่อดูปริมาณสารก่อมะเร็งจากฝุ่น พบว่าปริมาณฝุ่นที่ละเอียดมากๆ มีสารก่อมะเร็งมากด้วย และได้ข้อมูลความเสี่ยงพบว่านอกเมืองมีมากกว่าในตัวเมือง โดยพบว่าหากสูดเอาอากาศpm2.5 เข้าสู่ร่างกายจากตัวอย่างที่เชียงดาวมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งจากการหายใจมากกว่าคนในเมืองที่สูดหายใจ “ประธานคณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวและว่า

อากาศสามารถเคลื่อนที่ได้แบบไร้พรหมแดน ดังนั้นปัญหามลพิษเกิดได้กับทุกคน ทั้งผู้ก่อมลพิษและคนทั่วไป การลดปัญหาก็ต้องแก้จากลดการเกิดจากแหล่งมลพิษหลักซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ แหล่งกำเนิดมลพิษหลักในภูมิภาคอาเซียนคือการเผาในที่โล่ง มาตรการรับมือและการปรับตัวของชุมชนเช่นการใช้หน้ากากกันฝุ่น การใช้เครื่องฟอกอากาศ การอยู่ในพื้นที่ปลอดฝุ่นล้วนแต่จำเป็นเพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพ

You may also like

builds มช. ขนทัพสตาร์ทอัพนักศึกษาคับคั่ง พิสูจน์ความสำเร็จ ตั้งบริษัทจริงระหว่างเรียน

จำนวนผู้