ชุมนุมวันชนเผ่าพื้นเมืองขอสังคมเป็นธรรมและยั่งยืน

ชุมนุมวันชนเผ่าพื้นเมืองขอสังคมเป็นธรรมและยั่งยืน

- in headline, รอบรั้วทั่วเหนือ

เชียงราย / เครือข่ายชนเผ่าทั่วประเทศรวมตัวจัดงานวันชนเผ่าพื้นเมือง ชูประเด็นยุค 4.0 สู่สังคมที่เป็นธรรมและยั่งยืน หวังใช้เวทีนี้สะท้อนมุมมองและผลักดันข้อเสนอ ยอมรับชนเผ่าต่างๆ ในไทยยังถูกละเลย หลายพื้นที่มีปัญหาสถานะบุคคล เข้าถึงบริการด้านสุขภาพของรัฐยาก วอนภาครัฐแก้ไขเมื่อวันที่ 9 ส.ค. ที่อาคารหอปรัชญารัชกาลที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกับภาคีองค์กร เครือข่ายที่ทำงานกับชนเผ่าพื้นเมือง และมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เปิดโครงการจัดงานรณรงค์เนื่องในวันชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ประจำปี 2561 ภายใต้ธีมงาน “วิถีชนเผ่าพื้นเมือง ยุค 4.0 สู่สังคมที่เป็นธรรมและยั่งยืน” โดยมีกิจกรรมที่สำคัญ เช่น มหกรรมอาหารชนเผ่าพื้นเมือง เวทีสมัชชาเด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง เวทีสัมมนาวิชาการ แลละการแสดงวัฒนธรรม เพื่อให้รัฐและสาธารณชนเข้าใจสถานการณ์ ปัญหา อัตลักษณ์ และตัวตนของชนเผ่าพื้นเมือง ตลอดจนยอมรับคุณค่าวิถีวัฒนธรรมและเคารพสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยทั้งนี้ ไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่เป็นชนเผ่าพื้นเมืองอาศัยอยู่กระจายทั่วทุกภูมิภาค และยังคงดำรงเอกลักษณ์ทางภาษา และมีการสสืบสานวิถีภูมิปัญญา จารีตประเพณีอันมีคุณค่าในฐานะเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่หลากหลายของชาติ และมีบทบาทสำคัญยิ่งกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศ และเนื่องจากประเทศศไทยมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และยังดำเนินการปฏิรูปประเทศอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นโอกาสสที่ชนเผ่าพื้นเมืองต้องติดตามให้เท่าทันสถานการณ์และเข้าไปมีส่วนร่วมกับกระบวนการดังกล่าว เพื่อสะท้อนมุมมองและผลักดันข้อเสนอของชุมชนเผ่าพื้นเมืองให้นำไปสู่การพัฒนานโยบาย และถือปฏิบัติการในชุมชนชนเผ่าพื้นเมือง ให้สอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรมและยุทธศาสตร์ของสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยต่อไป
นายศักดิ์ดา แสนมี่ เลขาธิการสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การจัดงานครั้งนี้ถือเป็นเวทีที่สร้างโอกาส และจังหวะ ให้ชนเผ่าพื้นเมืองมีพื้นที่สาธารณะในการนำเสนอประเด็นสร้างเสริมสุขภาวะต่างๆ ในบริบทของชนเผ่าพื้นเมืองต่างๆ ทั้งในภาคเหนือและภูมิภาคอื่นๆ ให้เห็นถึงความมั่นใจในลักษณะเครือข่าย ช่วยเพิ่มตัวอย่างดีๆ ให้มีมากขึ้นเรื่อยๆ อาทิ เรื่องอาหาร การแสดง ศิลปะวัฒนธรรม ซึ่งล้วนเป็นเรื่องเกี่ยวกับสุขภาวะทั้งสิ้น“ในภาพรวม ถือว่าคุณภาพชีวิตของชาติพันธุ์ต่างๆ ดีขึ้น เกิดการยอมรับมากกว่าเดิม แต่อาจยังไม่เพียงพอและทั่วถึง เป้าหมายการจัดงานจึงอยากให้รัฐเข้าใจประเด็นที่เรานำเสนอ ไม่ว่าบทเรียนดีๆ หรือปฏิบัติการดีๆ แล้วนำไปสู่การขยายผลให้เกิดการยอมรับตัวตน และเพิ่มพื้นที่ทางสังคมของพี่น้องชนเผ่าต่างๆ ซึ่งยอมรับว่าหลายคน หลายพื้นที่ยังติดพันปัญหาเรื่องสถานะบุคคล การบริการด้านสุขภาพของรัฐ หรือเรื่องการศึกษา ที่ถือเป็นประเด็นสำคัญอย่างยิ่ง” เลขาธิการสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย กล่าวขณะเดียวกันในส่วนของชุดโครงการเสริมสร้างสุขภาวะชุมชนบนพื้นที่สูงบนฐานวัฒนธรรมชนเผ่าพื้นเมือง ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และทางสมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย (IMPECT) เข้าไปหนุนเสริมชุมชนชาติพันธุ์ต่างๆ ให้ดำเนินการนั้น ขณะนี้ขึ้นสู่ปีที่ 2 ความท้าทายอยู่ที่การขยายผลจากชุดประสบการณ์ที่มีอยู่ ว่าจะทำอย่างไรให้ชุมชนใกล้เคียงได้เรียนรู้งานด้านสุขภาวะ แล้วนำไปใช้ในชุมชนของตนเองได้“ปีที่ 2 นี้ มีการเพิ่มพื้นที่เป้าหมายจาก 30 ชุมชนใน 30 โครงการ เป็น 45 ชุมชน 45 โครงการ ส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่เดิมต่อเนื่อง เพื่อยกระดับให้เป็นพื้นที่ต้นแบบ มีความเป็นรูปธรรมมากขึ้น ส่วนพื้นที่ใหม่ก็เข้ามาเพื่อพัฒนาศักยภาพในการจัดการปัญหาในชุมชนของตน ทางอิมเปคจึงพยายามดึงองค์กร เครือข่ายที่ทำงานในพื้นที่กับชุมชนชาติพันธุ์ต่างๆ มาร่วม เพราะถือว่ามีข้อมูล ต้นทุนในพื้นที่อยู่แล้ว การขยายผล หรือทำงงานก็จะง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น” นายศักดิ์ดา กล่าวในตอนท้าย.

You may also like

“ส.ว.ก๊อง”ลั่นลงสมัครป้องกันแชมป์สมัยหน้าในนามพรรคเพื่อไทย แย้มครั้งนี้ “ทักษิณ” ขอเป็นผู้ช่วยหาเสียง พร้อมลงพื้นที่ 25 อำเภอ

จำนวนผู้