Music Hero สานพลังเครือข่ายดนตรีอาสา ผ่านกิจกรรม“วันเด็กหลังเขาฯ”ที่ห้วยหินลาดนอก

Music Hero สานพลังเครือข่ายดนตรีอาสา ผ่านกิจกรรม“วันเด็กหลังเขาฯ”ที่ห้วยหินลาดนอก

เชียงราย (28 ม.ค.60) / Music Hero จัดกิจกรรม“วันเด็กหลังเขา ความสุขไปถึงช้า” ให้น้องๆ ปกาเกอะญอ ที่บ้านห้วยหินลาดนอก สานพลังกลุ่มนักดนตรีจิตอาสาภาคเหนือ มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานดนตรีเพื่อสังคมนายรัชพงศ์  โอชาพงศ์ ผู้รับผิดชอบโครงการ Music  Hero ดนตรีอาสาสร้างสุขทุกพื้นที่ ของสำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยว่า จากการที่ Music  Hero สนับสนุนให้นักดนตรีทำกิจกรรมจิตอาสา โดยใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือใน 3 รูปแบบ คือ การเล่นดนตรีอาสา, การแต่งเพลงอาสา และการสอนดนตรีอาสานั้น ก่อให้เกิดนักดนตรีอาสาในโครงการกว่า 30 กลุ่ม“จากประสบการณ์ที่เคยทำงานกับนักดนตรีมานาน ทำให้รู้ว่านักดนตรีส่วนใหญ่มีความฝันอยากเป็น Super Star ซึ่งถ้ามีแต่นักดนตรีเช่นนี้ งานดนตรีเพื่อสังคมก็จะไปไม่รอด โครงการ Music Heroจึงเกิดขึ้น และมีนักดนตรีอาสากระจายอยู่ทั่วประเทศ ส่วนใหญ่คือเยาวชน นักศึกษา ที่รวมกลุ่มกันตั้งวงขึ้น ในส่วนของภาคเหนือมีประมาณ 9 วง และการจัดกิจกรรมวันเด็กหลังเขา ความสุขไปถึงช้า ที่บ้านห้วยหินลาดนอก อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย ระหว่าง 27-29 ม.ค.2560 ถือเป็นการสานพลังเครือข่ายดนตรีอาสาภาคเหนือ ให้มีพื้นที่พบปะ ทำความรู้จัก เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน จะได้มีแนวทางสานต่อกิจกรรมภายหลังหมดโครงการกับ สสส. โดยมีกลุ่มนักดนตรีจากทางภาคอีสาน และ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ บางส่วนมาร่วมแจมด้วย” ผู้รับผิดชอบโครงการ Music  Hero ดนตรีอาสาสร้างสุขทุกพื้นที่ กล่าวนายชาติชาย ธรรมโม ผู้จัดการชุมชนนักกิจกรรมภาคเหนือ (CAN) กล่าวเสริมว่า สำหรับการเลือกพื้นที่บ้านห้วยหินลาดนอก เพราะทางชุมชนนักกิจกรรมภาคเหนือ (CAN) ซึ่งร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดงาน เห็นว่าเป็นชุมชนที่มีความโดดเด่นในด้านการศึกษาทางเลือก ทำโรงเรียนชุมชน การศึกษานอกระบบโรงเรียน ขณะเดียวกันยังเป็นพื้นที่ที่มีการต่อสู้เรื่องอุทยานทับที่ มีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยชุมชนการเข้ามาทำกิจกรรมของกลุ่มนักดนตรีอาสา จะเกิดประโยชน์ทั้งการให้และการรับ คือให้ความสุขกับเด็กๆ เนื่องจากดนตรีเปิดพื้นที่กว้าง เชื่อมโยงได้กับทุกกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นร้องเท้าดนตรี การวาดภาพ เกมต่างๆ ไม่เพียงแค่การร้องเพลงหรือเล่นดนตรีอย่างเดียว ส่วนการรับ เป็นการได้ศึกษาเรียนรู้วิถีการดำรงชีวิต วัฒนธรรมของชาวบ้านด้านนายณัฐคมน์ กาวิละ หัวหน้ากลุ่มอนุรักษ์ศิลป์ ซึ่งเป็นกลุ่มดนตรีอาสาพื้นบ้านล้านนา ประเภทซอ กล่าวว่า เลือกเรียนรู้และเล่นซอล่องน่าน เพราะมีความเป็นพื้นบ้าน เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นของ จ. น่าน แพร่ และพะเยาบางส่วน จึงมีเสน่ห์สนใจมาก ซึ่งปกติใครๆ ก็เล่นแต่กีต้าร์เบส เซ็ตกลองชุด เพลงสตริง ซ้ำๆ จำเจ หากวัฒนธรรมพื้นบ้านที่เป็นรากเหง้าของเรากลับไม่มีใครนึกถึง ถ้าเราไม่สืบทอด วันหน้าย่อมหายสูญไปอย่างแน่นอน“ที่ผ่านมา ทางกลุ่มมีโอกาสได้เล่นดนตรีอาสา ให้ความบันเทิงกับประชาชนและนักท่องเที่ยว บริเวณถนนคนเดิน จ.แพร่ ทุกวันเสาร์ เพิ่งหยุดไปในช่วงของการไว้ทุกข์ ถวายความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และการมาร่วมกิจกรรมวันเด็กหลังเขาฯ ก็จะทำให้ทางกลุ่มได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ดนตรีในรูปแบบอื่นๆ อย่างหลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะซอที่ไม่ได้มีแค่ 3 จังหวัด แม้แต่ในกลุ่มชาติพันธุ์อย่างปกาเกอะญอก็มีซอที่เรียกว่า อื่อธา เช่นกัน” นายณัฐคมน์ กล่าวขณะที่นายมูฮำมัดฮูซีน ดอเลาะแม นักดนตรีวง Remas ที่เดินทางจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า รู้สึกตื่นเต้นที่ได้มาร่วมกิจกรรมครั้งนี้ เพราะเป็นครั้งแรกที่เดินทางขึ้นเหนือ และจะได้เรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนวัฒนธรรม และสภาพอากาศ สภาพแวดล้อม ที่แตกต่างจากที่เคยเป็นอยู่ โดยในส่วนของดนตรี 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่นำมาโชว์ ใช้เครื่องดนตรีของอาหรับ เรียกว่า“กอมปัง” และเพลงที่ร้องก็ใช้ภาษามลายู ซึ่งเป็นภาษากลางที่ใช้ได้ถึง 5 ประเทศ คือไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน และติมอร์ตะวันออก.

You may also like

อบจ.เชียงใหม่ระดม108หน่วยงาน “รวมใจเป็นหนึ่ง”ฟื้นฟูทำความสะอาดเมืองตั้งเป้าเสร็จภายในเดือนต.ค.นี้ขณะที่”ทักษิณ”ให้ 1 ล้านสนับสนุนกิจกรรม

จำนวนผู้