ไทยเป็นเจ้าภาพประชุมรัฐมนตรีด้านสิ่งแวดล้อมกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงครั้งที่ 5 ที่เชียงใหม่เป็นครั้งแรก

ไทยเป็นเจ้าภาพประชุมรัฐมนตรีด้านสิ่งแวดล้อมกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงครั้งที่ 5 ที่เชียงใหม่เป็นครั้งแรก

ไทยเป็นเจ้าภาพประชุมรัฐมนตรีด้านสิ่งแวดล้อมกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงครั้งที่ 5 ที่เชียงใหม่เป็นครั้งแรก ภายใต้กรอบความร่วมมือ 9 สาขา โดยจะมีการรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุมและร่างแถลงการณ์ร่วมระดับรัฐมนตรีในกลุ่ม GMS

นางรุ่งนภา พัฒนวิบูลย์ ผอ.สำนักความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า ประเทศไทยโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับรัฐมนตรีด้านสิ่งแวดล้อมของกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ครั้งที่ 5(The Fifth Greater Mekong Subregion Enviroment Ministers’ Meeting:GMS EMM-5) ในระหว่างวันที่ 30 มกราคม-1 กุมภาพันธ์ 2561 ที่โรงแรมแชงกรีลา จ.เชียงใหม่ ภายใต้กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงครั้งแรกของประเทศไทย

สำหรับการประชุมในระดับรัฐมนตรีครั้งนี้ จะจัดขึ้นในวันที่ 1 ก.พ.2561 โดยมีรัฐมนตรีสิ่งแวดบ้อมจากราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาและราชอาณาจักรไทย และรัฐมนตรีช่วยด้านสิ่งแวดล้อมจากสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ด้วย

ทั้งนี้ นอกจากจะเป็นวาระที่ประเทศไทยต้องเป็นเจ้าภาพ โดยเรียงตามลำดับอักษรภาษาอังกฤษแล้ว ยังถือเป็นการแสดงเจตนารมณ์ที่ชัดเจนของประเทศไทยที่มีส่วนร่วมดำเนินงานดูแล อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงอย่างยั่งยืน รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการร่วมมือดำเนินงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับประเทศสมาชิกอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

อีกทั้งยังส่งเสริมบทบาทผู้นำของประเทศไทย ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในการดำเนินงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และแสดงความความพร้อม ตลอดจนภาพลักษณ์ที่ดีในการส่งเสริมความร่วมมือในอนุภูมิภาค ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและพันธกิจในการสร้างบทบาทนำ รวมถึงสนับสนุนการดำเนินงานของประเทศสมาชิกในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

ในการประชุมครั้งนี้จะมีการรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุมได้แก่ 1.ร่างกรอบยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการของแผนงานหลักด้านสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2561-2565 จัดทำขึ้นเพื่อเป็นกรอบแผนงานสำหรับการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงภายในระยะ 5 ปีและ2.ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรี GMS EMM-5 มีสาระสำคัญในการให้คำมั่นร่วมกัน เพื่อสร้างเศรษฐกิจสีเขียวที่ครอบคลุมและยั่งยืน ตามแนวทางของแผนงานหลักด้านสิ่งแวดล้อม(Core Environment Program:CEP)ที่มุ่งเน้นหลักการลงทุนที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม โดยการเสริมสร้างนโยบายที่เชื่อมต่อการลงทุน ปรับปรุงกระบวนการวางแผนทางยุทธศาสตร์ และให้การสนับสนุน เพื่อสร้างความพร้อมด้านการลงทุน นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการเชื่อมโยงแผนงานหลักด้านสิ่งแวดล้อม(CEP)กับระเบียงเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและส่งเสริมการดำเนินโครงการของกรอบการลงทุนระดับภูมิภาค(Regional Invesment Framework:RIF)ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม

สำหรับวันที่ 30-31 มกราคม 2561 นั้นยังมีการประชุมเชิงนโยบายและการประชุมเชิงวิชาการ ในหัวข้อหลักคือ Inclusive Green Growth:Inversting for a Sustainable Future โดยมีประเด็นหัวข้อการสัมมนาที่น่าสนใจอาทิ พลังงานสีเขียว การลงทุนในทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน แนวทางการดำเนินงานสู่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนและการสร้างภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคต

ผอ.สำนักความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวด้วยว่า สำหรับกรอบความร่วมมือภายใต้โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง Greater Mekong Subregion:GMS จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2535 ประกอบด้วยประเทศสมาชิกในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง 6 ประเทศได้แก่ ราชอาณาจักรไทย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามและสาธารณรัฐประชาชนจีน(เฉพาะแคว้นยูนนานและเขตปกครองกว่างซี) โดยได้รับการสนับสนุนจากธนาคารพัฒนาเอเชียหรือ ADB ทั้งด้านงบประมาณและวิชาการ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางการค้าและการลงทุน

รวมถึงการสนับสนุนการยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน ตลอดจนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ส่งเสริมกันอย่างมีประสิทธิภาพในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยมีความร่วมมือ 9 สาขาได้แก่ คมนาคม โทรนาคม พลังงาน การค้า การลงทุน การเกษตร สิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งมีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)เป็นหน่วยงานหลักและมีทส.เป็นหน่วยงานประสานการดำเนินงานของคณะทำงานด้านสิ่วแวดล้อม.

 

ณัชชา อุตตะมัง ข่าว.

You may also like

 รมช.คมนาคมเปิดการทดลองเดินรถโดยสารHOP&GO เชื่อมโยงโครงข่ายสาธารณะไปยัง 7 แหล่งท่องเที่ยวในเชียงใหม่

จำนวนผู้