ชลประทานเชียงใหม่เข้าดำเนินการควบคุมการรั่วซึมอ่างเก็บน้ำห้วยแม่พริก ให้อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย

ชลประทานเชียงใหม่เข้าดำเนินการควบคุมการรั่วซึมอ่างเก็บน้ำห้วยแม่พริก ให้อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย

ชลประทานเชียงใหม่เข้าดำเนินการควบคุมการรั่วซึมอ่างเก็บน้ำห้วยแม่พริก ให้อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย พร้อมทั้งแนวทางแก้ไขปัญหาในระยะเร่งด่วน ไปจนถึงการดำเนินการปรับปรุง โดยอบต.ห้วยทรายของบฯจังหวัดสร้างอาคารท่อส่งน้ำใหม่ทดแทนของเดิมที่ชำรุด

นายจานุวัตร เลิศศิลป์เจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 1 เชียงใหม่ เปิดเผยว่า จากกรณีที่ชาวบ้านและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่ตำบลสันทราย อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่มีความวิตกกังวลต่อปัญหาการรั่วซึมอ่างเก็บน้ำห้วยแม่พริกหลังจากที่มีฝนตกหนักในพื้นที่ และในบริเวณใกล้เคียงมีเหตุอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กซึ่งเป็นอ่างดิน คันดินพังและน้ำทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรตลอดจนพื้นที่ทางการเกษตร จึงได้ร้องขอให้ชลประทานเชียงใหม่เข้าไปตรวจสอบอ่างเก็บน้ำห้วยพริกด้วยนั้น

สำหรับอ่างเก็บน้ำห้วยแม่พริกเป็นโครงการชลประทานขนาดเล็ก (ถ่ายโอน) ความจุ 650,000 ลบ.ม. ก่อสร้างแล้วเสร็จ ปี พ.ศ. 2529 เกิดรั่วซึมบริเวณฐานยันฝั่งซ้าย (left abutment) ด้านข้างลาดฐานเขื่อน จำนวน 2 จุด ขนาดรอยรั่วซึม 30 ซม. และ 80 ซม. ราษฎรด้านท้ายน้ำมีความวิตกกังวลอ่างเก็บน้ำจะพังเสียหาย ซึ่งปัจจุบันอ่างเก็บน้ำมีน้ำเก็บกักไว้ ร้อยละ 90

ผอ.สำนักชลประทานที่ 1 เชียงใหม่ กล่าวอีกว่า ในระยะเร่งด่วนทางสำนักงานชลประทานฯได้ทำการควบคุมการรั่วซึมให้อยู่ในเกณฑ์ความปลอดภัยเขื่อน เพื่อสร้างความมั่นใจ ความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน ของประชาชน และในระยะสั้นได้ทำการซ่อม ปรับปรุง อ่างเก็บน้ำกลับคืนสู่สภาพเดิมให้สามารถใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์

ในการปฏิบัติเพื่อควบคุมสถานการณ์นั้น ได้มีการลดระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำ โดยการใช้กาลักน้ำ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 200 มม. และ 150 มม. จำนวน 2 สาย ความสามารถในการระบาย 20,000 ลบ.ม./วัน การระบายน้ำดำเนินการเท่าที่จำเป็น เพื่อให้มีปริมาณน้ำเก็บกักเพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำในฤดูแล้ง นอกจากนี้ยังได้ทำการตรวจสอบยืนยันสาเหตุของการรั่วซึม โดยตั้งสมมุติฐานไว้ 2 ด้านคือ

สมมุติฐานที่ 1 จากการรั่วซึมมาจากรอยต่อระหว่างตัวเขื่อนกับฐานยันฝังซ้าย และสมมติฐานที่ 2 : การรั่วซึมมาจากการชำรุดบริเวณท่อของอาคารท่อส่งน้ำ (Conduit) ซึ่งใช้งานมากกว่า 32 ปี และจากผลการพิสูจน์จากพฤติกรรมทางชลศาสตร์ โดยการ เปิด-ปิด วาล์วอาคารท่อส่งน้ำ (Outlet) วัดปริมาณน้ำที่รั่วซึมทั้ง 2 จุด ซึ่งผลการทดสอบพบว่า ปริมาณน้ำที่รั่วซึมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะสำคัญกับการ เปิด-ปิด วาล์วด้านท้าย (ปิดวาล์วปริมาณการรั่วซึมเพิ่มขึ้น เปิดวาล์วปริมาณการรั่วซึมลดลง)

นอกจากนี้ยังตรวจพิสูจน์ทราบโดยการใช้นักประดาน้ำ น้ำผงสีเติมบริเวณอาคารรับน้ำของอาคารท่อส่งน้ำ (Intake Structure) ผลการพิสูจน์ทราบ หลังจากเติมผงสีภายใน 12 วินาที ผงสีที่เติมปรากฏที่รอยรั่ว จุดที่ 1 และ 2  โดยได้ข้อสรุปวิเคราะห์สาเหตุของการรั่วซึมที่เกิดขึ้นมาจากความบกพร่อง Imperfection ของอาคารท่อส่งน้ำ Conduit Outlet ทั้งนี้ในการแก้ไขปัญหาให้คำปรึกษาในระยะเร่งด่วน ได้นำแผ่นเหล็กปิดปากท่อ Intake ปิดทับด้วยกระสอบทราย เพื่อหยุดการรั่วซึม  หยุดการระบายน้ำออกจากอ่างเก็บน้ำ ปิดวาล์ว ด้านท้าย Outlet เพื่อสงวนน้ำให้เกษตรกรใช้ในฤดูแล้ง  ใช้กาลักน้ำชั่วคราว ในการส่งน้ำให้พื้นที่เกษตรกรรม และแจ้งให้อบต.ห้วยทราย ตัดต้นไม้ใหญ่ที่ขึ้นบริเวณทำนบดินทั้งหมด ส่วนการแก้ไขปัญหาในระยะสั้น ทำการปรับปรุง/ซ่อมแซม โดยการ Plug ปิดท่อ Outlet เดิมที่เป็นสาเหตุการรั่วซึม โดยทางองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทรายเสนอของบประมาณผ่าน กชภจ. ดำเนินการและก่อสร้าง Outlet ใหม่ทดแทน โดยทางสำนักงานชลประทานที่ 1  สนับสนุนเทคนิควิชาการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการ โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณผ่านจังหวัดเชียงใหม่.

You may also like

SUN ขับเคลื่อนนวัตกรรมเกษตรครบวงจร และจัดพิธีบวงสรวงพระพิรุณ ประจำปี 2567

จำนวนผู้