TMVS บุกเชียงใหม่ เพิ่มยอดสถานที่จัดงานที่ได้รับมาตรฐานฯเตรียมรับงานใหญ่ระดับนานาชาติ

TMVS บุกเชียงใหม่ เพิ่มยอดสถานที่จัดงานที่ได้รับมาตรฐานฯเตรียมรับงานใหญ่ระดับนานาชาติ

- in headline, เศรษฐกิจ

TMVS บุกเชียงใหม่ เพิ่มยอดสถานที่จัดงานที่ได้รับมาตรฐานฯเตรียมรับงานใหญ่ระดับนานาชาติ คาดปี 63 แนวโน้มจัดงานอีเว้นท์และแสดงสินค้าเพิ่มขึ้น

การจัดงานไมซ์ในประเทศไทย ทั้งการจัดการงานประชุมองค์กร การจัดงานอีเวนท์ และการจัดงานแสดงสินค้า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 8-10% ในปี 2563 โดยในปัจจุบันมีนักธุรกิจและภาครัฐเข้าร่วมงานไมซ์ทั้งระดับนานาชาติและระดับในประเทศสูงถึง 37 ล้านคน สร้างรายได้สู่เศรษฐกิจไทยถึงปีละ 232,700 ล้านบาท กอปรกับปัจจุบันภาครัฐต้องการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและกิจกรรมไมซ์​ ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างแบรนด์สินค้า พัฒนาเศรษฐกิจจากการจัดงานให้มีการกระจายการจัดงานให้ทั่วถึงทุกพื้นที่ในภูมิภาคทำให้เกิดความต้องการจัดงานต่างๆ จากภาคเอกชน องค์กร สมาคมและภาครัฐ
สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. ได้ริเริ่มโครงการ “TMVS” (Thailand MICE Venue Standard) เพื่อยกระดับมาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทยให้สามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ โดยได้สร้างตราสัญลักษณ์ “TMVS” เพื่อรับรองคุณภาพมาตรฐานซึ่งตราสัญลักษณ์นี้ จะสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ที่ต้องการจัดงานทั้งในระดับประเทศ และระดับนานาชาติ ได้มั่นใจในมาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทย  อันประกอบด้วย ด้านกายภาพ ด้านเทคโนโลยี ด้านการให้บริการ และด้านความยั่งยืน ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวมีการริเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 และได้สร้างจุดแข็งและจุดขาย ดึงงานในระดับนานาชาติสู่ประเทศไทย

นางอรชร ว่องพรรณงาม ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ สสปน. กล่าวว่า “กว่า 5 ปีของการพัฒนาและการส่งเสริมมาตรฐาน TMVS ต้องยอมรับว่ามาตรฐานเป็นสิ่งสำคัญมากในทุกธุรกิจ เราเข้าใจหัวใจของผู้ให้บริการ และผู้ใช้บริการสถานที่จัดงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม ศูนย์ประชุม หรือสถานที่ Unconventional Venue ว่าต้องการอะไรในโลกที่มีแรงกดดันและความเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจสูงมาก
ณ ปัจจุบัน ทีเส็บจึงได้เสริม Tool ด้านการจัดงานอย่างยั่งยืน (Sustainability) เข้ามาเพิ่มศักยภาพและสร้างความรู้ความเข้าใจทุกครั้งที่มีการจัดงาน ไม่ว่าจะเป็นผู้ให้บริการหรือผู้ใช้บริการห้องประชุมหรือโรงแรมต่างๆ
ก็ได้ประโยชน์จากมาตรฐาน TMVS
ปัจจุบันมาตรฐาน TMVS มีสถานประกอบการที่ผ่านการรับรองแล้วจำนวน 453 แห่งทั่วประเทศแบ่งเป็น 3 ประเภท โดยกลุ่มเป้าหมายที่ได้การส่งเสริมมาตรฐานห้องประชุมประกอบด้วย 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มศูนย์ประชุม กลุ่มโรงแรมหรือรีสอร์ท และกลุ่มหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

1. ประเภทห้องประชุม (Meeting Rooms) 397 แห่ง 1,083 ห้อง
2. ประเภทสถานที่จัดงานแสดงสินค้า (Exhibition Venues) 25 แห่ง 29 ฮอลล์
3. ประเภทสถานที่จัดกิจกรรมพิเศษ (Special Event Venues) 31 แห่ง

ปัจจุบันในภาคเหนือมีโรงแรมที่ได้รับเครื่องหมาย TMVS แล้ว 21 แห่ง ได้แก่ Anantara Golden Triangle Elephant Camp & Resort,Central Plaza Chiangmai Airport,Chiangmai Grandview Hotel & Convention Center,Chiangmai Hill 2000,Chiangmai Phucome Hotel,Dhara Dhevi Hotel Chiang Mai, Duangtawan Hotel Chiang Mai,Green Nimman CMU Residence,Horizon Village & Resort,Khum Kham International Convention Centre Chiang Mai,Khum Phucome Hotel, Chiangmai,Le Méridien Chiang Mai,Le Méridien Chiang Rai Resort ,Lotus Hotel Pang Suan Kaew,Nan Boutique Resort, Ratilanna Riverside Spa Resort, Chiang Mai,Royal Park Rajapruek ,Shangri-La Hotel, Chiang Mai, The Riverie by Kata thani,Veranda Chiang Mai the High Resort,Wiang Inn Hotel   โดยสัดส่วนของสถานประกอบการที่ได้รับตราสัญลักษณ์ TMVS เชียงใหม่เป็นลำดับที่ 1 ของภาคเหนือ มีสถานประกอบการจำนวน 16 แห่ง และเป็นลำดับที่ 3 ของประเทศไทย รองจากกรุงเทพฯ (83แห่ง) และ ภูเก็ต (32แห่ง)
และในปีที่ผ่านมาประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมนานาชาติที่ได้รับการรับรองจาก ICCA จำนวน 193 งาน เป็นงานที่จัดในเชียงใหม่ 25 งาน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12.95 หรือเป็นเมืองที่จัดงานที่จัดงานประชุมนานาชาติมากเป็นลำดับ 2 รองจากกรุงเทพฯ นอกจากนี้ สถิติของ ICCA ในปี 2561 เชียงใหม่เป็นเมืองที่จัดงานประชุมนานาชาติมากเป็นลำดับที่ 25 ของเอเชีย ขยับขึ้นจากลำดับที่ 27 ในปี 2560 และเป็นเมืองที่จัดประชุมนานาชาติมากเป็นลำดับที่ 110 ของโลก ขยับขึ้นจากลำดับ 130 หรือขยับขึ้น 20 ลำดับ อีกทั้งยังเป็นเมืองที่
จัดงานประชุมนานาชาติมากเป็นลำดับที่ 7 ของอาเซียน ทั้งในปี 2560 และ 2561
ในการนี้ สสปน. จึงเล็งเห็นถึงการยกระดับสถานที่จัดงานให้มีมาตรฐานจำนวนมากขึ้น เพื่อรองรับ
การจัดงานระดับนานาชาติ ซึ่งจากการรายงานของ ICCA การประชุมนานาชาติที่จัดในเชียงใหม่ มีอัตราสูงขึ้นถึงร้อยละ 250 จากจำนวนงาน 10 งาน ในปี 2556 เพิ่มเป็น 21 งาน ในปี 2560 และ 25 งาน ในปี 2561 ทั้งนี้ คาดว่าจะมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นถึง 30 งาน ในปี 2563”

นางสาววารุณี คำเมรุ ผู้จัดการทั่วไป โรงแรมดวงตะวัน เชียงใหม่ อุปนายกสมาคมโรงแรมไทยภาคเหนือ และในฐานะผู้ให้บริการสถานที่การจัดงาน กล่าวถึง TMVS ว่า “ตราสัญลักษณ์ เป็นคุณภาพของมาตราฐาน
ที่น่าเชื่อถือ ออกให้โดยองค์กรของรัฐ ตรวจสอบรายละเอียดสินค้าบริการในมาตรฐานระดับเดียวกันกับ ISO การตรวจสอบในทุกๆ ด้าน เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการ (ลูกค้า) และผู้ให้บริการ (ผู้ประกอบการ) ในแง่ของผู้ใช้บริการการเลือกใช้โรงแรม ที่ได้รับมาตรฐานของตราสัญลักษณ์  TMVS  ก็เปรียบเหมือนมีคนมาคอยกลั่นกรองสินค้า (Product) และบริการ (Service) ให้แล้ว 80%  ที่เหลือผู้ใช้เลือกตัดสินใจเอง จาก Price, Place, Promotion, Personal, Contract
ในปีนี้ สมาคมโรงแรมไทยภาคเหนือ ได้จับมือกับทาง สสปน. เรื่องการประชุม Green Meeting/ Sustainability Events เพื่อการจัดงานอย่างยั่งยืน ด้วยการประกาศให้จังหวัดเชียงใหม่นำร่อง 20 โรงแรมชั้นนำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงแรมที่ได้ TMVS ประกาศลดการใช้ขวดน้ำพลาสติก (NO Plastic) ในห้องประชุมสัมมนา โดยสมาคมโรงแรมมีเป้าหมาย 1,000 งาน  และคาดหวังว่า จะลดการใช้ขวดน้ำพลาสติกได้กว่า 100,000 ขวด  โดยกิจกรรมจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 เป็นต้นไป คาดว่าจะได้ตามเป้าในเดือนเมษายน 2563”
อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนก็ยังคงเป็นสิ่งสำคัญ คุณอรชร ว่องพรรณงาม ระบุว่า                   “หากมาตรฐาน TMVS ได้รับการสนับสนุน และผลักดันให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในวงกว้างก็จะยิ่งเป็นการช่วยพัฒนาและยกระดับผู้ประกอบการด้านสถานที่จัดงานไทยที่ได้รับมาตรฐานดังกล่าว มีศักยภาพในการร่วมผลักดันให้ประเทศไทยเป็นจุดมุ่งหมายการจัดงานไมซ์ในเอเซีย และเป็นหนึ่งในผู้นำด้านการจัดงานอย่างยั่งยืนในเอเชียต่อไป”

You may also like

อบจ.เชียงใหม่ระดม108หน่วยงาน “รวมใจเป็นหนึ่ง”ฟื้นฟูทำความสะอาดเมืองตั้งเป้าเสร็จภายในเดือนต.ค.นี้ขณะที่”ทักษิณ”ให้ 1 ล้านสนับสนุนกิจกรรม

จำนวนผู้