ร.ร.บ้านสามหลังเน้น”มื้อเที่ยง”ปลอดภัย ขยายผลสู่ชุมชนหาผักปลอดสาร

ร.ร.บ้านสามหลังเน้น”มื้อเที่ยง”ปลอดภัย ขยายผลสู่ชุมชนหาผักปลอดสาร

เชียงใหม่ / โรงเรียนบ้านสามหลัง เตรียมขยายผล “การจัดการสารเคมีในพื้นที่เสี่ยง เพื่อส่งเสริมการบริโภคผักผลไม้ที่ปลอดภัย” ผอ.ย้ำแค่โรงเรียนไม่พอ ต้องหนุนชุมชนปลูกผักปลอดสารด้วย หวังดึงเข้าโครงการอาหารกลางวัน คู่กับการให้เด็กได้บริโภคที่บ้าน ขณะที่เทศบาลสองแควหนุนจัดส่งผักปลอดสารเข้าโรงเรียนนายชลอ ใจซื่อ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสามหลัง ต.สองแคว อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ เปิดเผยว่า จากการที่ทางโรงเรียนได้ ทำโครงการ “การจัดการสารเคมีในพื้นที่เสี่ยง เพื่อส่งเสริมการบริโภคผักผลไม้ที่ปลอดภัย” กับทางมูลนิธิการศึกษาไทย จากการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มาตั้งแต่ปี 2560 โดยใช้วิธีส่งเสริมให้เด็กๆ ได้ปลูกพืชผัก เพาะเห็ด เลี้ยงไก่ กบ ปลา เพื่อส่งเข้าโครงการอาหารกลางวัน ก็พบว่าสามารถเพิ่มความปลอดภัยของอาหารกลางวันโรงเรียนได้ระดับหนึ่ง  แต่ยังจำเป็นต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เด็กๆ ในพื้นที่มีสุขภาวะที่แข็งแรง เติบโตสมวัยในทุกๆ รุ่นเนื่องจากผลการวิจัย “การจัดการสารเคมีในระดับท้องถิ่น และการส่งเสริมการบริโภคอาหารกลางวันที่ปลอดภัย” ของมูลนิธิการศึกษาไทย ที่ตรวจหาสารตกค้างในผักที่โรงเรียนใช้ทำอาหารมากและบ่อยที่สุด 5 ชนิด  เช่น แครอท กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว ผักกวางตุ้ง คะน้า มะเขือเจ้าพระยา มะเขือเทศ จากโรงเรียน 55 แห่ง ในเชียงใหม่ 20 แห่ง ปทุมธานี 11 แห่ง สกลนคร 12 แห่ง และพังงา 12 แห่ง เมื่อเดือนกรกฎาคม 2560-ตุลาคม 2561 พบว่ามีการใช้ออร์กาโนฟอสเฟตมาก โดยเฉพาะผักที่ส่งตรวจ 5 ชนิด พบเกือบ 100% และสารที่พบมากที่สุดคือคลอร์ไพริฟอสทั้งจากการตรวจปัสสาวะนักเรียนและครู จำนวน 436 ตัวอย่างในกลุ่มเป้าหมาย 4 จังหวัดข้างต้น ก็พบออร์กาโนฟอสเฟต ในปัสสาวะถึง 99% ของจำนวนตัวอย่าง ซึ่งสารออร์กาโนฟอสเฟต ก็คือสารที่มีฤทธิ์ขัดขวางการทำงานของระในบบประสาทส่วนกลาง และระบบประสาทรอบนอก โดยจะจับตัวกับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรส ที่มีหน้าที่ส่งสัญญาณประสาทหยุดการทำงาน ทำให้ปริมาณของอ็นไซม์ลดลง และมีผลต่อกล้ามเนื้อ รวมถึงต่อมต่างๆ และกล้ามเนื้อเรียบ ที่ควบคุมอวัยวะต่างๆ ในการทำงานมากกว่าปกติ เนื่องจากปริมาณเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสมีไม่มากพอที่จะหยุดการทำงาน จึงพบอาการม่านตาหรี่ หายใจลำบาก เวียนศีรษะ อาเจียน มือสั่น เดินโซเซ ชัก หมดสติ กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกิดตะคริวที่กล้ามเนื้อ ต่อมต่างๆ รวมถึงทำให้ต่อมน้ำลายขับน้ำลายออกมามาก ต่อมเหงื่อก็ขับเหงื่อออกมามากเช่นกัน“ความรุนแรงของผลกระทบจากสารเคมี คือสิ่งที่ทุกคนต้องตระหนัก และหาทางป้องกัน โดยเฉพาะกลุ่มเด็ก ที่จะเติบโตเป็นกำลังสำคัญของชาติ ถ้าได้รับพิษภัยจากสารเคมีในปริมาณมาก ก็อาจก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ และเติบโตอย่างด้อยคุณภาพ ดังนั้นนอกจากการส่งเสริมให้ครูและเด็กทำกิจกรรมเกษตรปลอดสารที่โรงเรียนบ้านสามหลังแล้ว จึงพยายามขยายผลไปยังโรงเรียนใกล้เคียงในพื้นที่ อ.ดอยหล่อด้วย เพราะปกติทุกโรงเรียนก็ใช้โปรแกรม Thai School Lunch ในการจัดเมนูอาหารกลางวันล่วงหน้าอยู่แล้ว  ทำให้กำหนดวัตถุดิบและปริมาณได้ค่อนข้างแม่นยำ และช่วยให้วางแผนการปลูกพืชผักให้สอดคล้องอย่างเหมาะสม” ผอ.โรงเรียนบ้านสามหลัง กล่าวแต่สิ่งที่หลายโรงเรียนพบก็คือ โรงเรียนมีพื้นที่น้อย ไม่เพียงพอกับการใช้เป็นที่เพาะปลูกในโรงเรียน  ก็แนะนำทางออกอื่นๆ เช่น แบ่งกล้าพันธุ์ให้เด็กและผู้ปกครองนำไปปลูกดูแลที่บ้าน ซึ่งในปี 2561 ที่ผ่านมา โรงเรียนบ้านสามหลัง ได้ส่งเสริมให้ผู้ปกครองนำพืชผักไปปลูกที่บ้านได้ 13 ครอบครัว ปีนี้จึงตั้งเป้าหมายเพิ่มอีก 13 ครอบครัว ซึ่งแม้จะได้ผลผลิตน้อย ไม่เพียงพอในการนำมาจำหน่ายเข้าโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน แต่อย่างน้อยที่สุดครอบครัวนั้นก็จะมีพืชผักปลอดภัยไว้บริโภคภายในบ้าน“ถึงอย่างไรโรงเรียนก็ต้องซื้อวัตถุดิบในการทำอาหาร และมีงบอาหารกลางวันอยู่แล้ว แม้ส่วนหนึ่งผลิตเองได้  แต่ก็มีช่วงที่สะดุดอยู่ ตอนนี้จึงพยายามเชื่อมโยงกับกลุ่มผู้ผลิตอินทรีย์ เช่น กลุ่มข้าวอินทรีย์ ผักอินทรีย์  อยากให้นำมาเสนอขายที่โรงเรียน และอีกกลุ่มหนึ่งที่น่าสนใจ ก็คือกลุ่มชาวบ้าน และผู้สูงอายุ ที่ได้รับการส่งเสริมจากเทศบาลตำบลสองแคว ให้ปลูกพืชผักและสมุนไพรเพื่อบริโภค ซึ่งเมื่อผลิตได้ระดับหนึ่งผลผลิตก็จะเหลือขาย” นายชลอ ย้ำด้าน นายวิชัย อินตาโน ปลัดเทศบาลตำบลสองแคว บอกว่า สภาพสังคมปัจจุบันทำให้ชาวบ้านห่างไกลจากพืชผักพื้นบ้าน และพืชสมุนไพร หันไปพึ่งพืชผักจากท้องตลาดเป็นหลัก ทำให้ขาดความปลอดภัยในการบริโภค เพราะพืชผักที่วางขาย ส่วนใหญ่จะใช้สารเคมีในปริมาณมาก จนบางรายเจ็บป่วย และยังมีแนวโน้มของการป่วยด้วยโรคความดัน เบาหวานเพิ่มขึ้นอีกด้วยทางเทศบาล จึงได้จัดสวนพฤกษาสมุนไพร หัวใจรักสุขภาพ ขึ้นเป็นศูนย์เรียนรู้ มีแปลงสาธิตพืชผักพื้นบ้าน  และพืชสมุนไพร ในพื้นที่เกือบ 1 ไร่ เช่น ผักปลัง ข้าวโพด มะเขือ ผักบุ้ง ชะอม กระเจี๊ยบเขียว ฟักทอง บวบ ถั่วพลู ถั่วแปบ ฯ โดยเน้นส่งเสริมความรู้ให้ชาวบ้าน ทั้งกลุ่มผู้สูงอายุ วัยแรงงาน วัยรุ่น ตลอดจนนักเรียน ในการปลูกพืชผักแบบปลอดสารเคมี โดยทางสวนพฤกษาสมุนไพร ได้พยายามรวบรวมพืชพื้นบ้าน พืชสมุนไพร แล้วขยายพันธุ์ แบ่งสู่ชุมชน ให้คนที่สนใจนำไปปลูกบริโภคในครัวเรือน ส่วนผลผลิตที่เหลือจากสวนพฤกษาสมุนไพร ก็จัดจำหน่ายในตลาดชุมชน นำรายได้สมทบกองทุนผู้สูงอายุ“ล่าสุด ทางโรงเรียนบ้านสามหลังเข้ามาคุย จะทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการส่งวัตถุดิบเข้าโครงการอาหารกลางวันของเด็กนักเรียน เพื่อส่งเสริมการบริโภคผักผลไม้ที่ปลอดภัย ซึ่งก็น่าจะเป็นอีกช่องทางหนึ่ง ที่จะสนับสนุนให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มจากการเพาะปลูกพืชแบบปลอดสารเคมี และยังทำให้เด็กๆ ในชุมชนได้รับอาหารที่ปลอดภัยอีกด้วย” ปลัด ทต.สองแคว กล่าว.

You may also like

“ส.ว.ก๊อง”ลั่นลงสมัครป้องกันแชมป์สมัยหน้าในนามพรรคเพื่อไทย แย้มครั้งนี้ “ทักษิณ” ขอเป็นผู้ช่วยหาเสียง พร้อมลงพื้นที่ 25 อำเภอ

จำนวนผู้