หลายฝ่ายหนุนไทยระบุสถานะโรฮีนจา-ดึงเมียนมาร์ร่วมแก้ปัญหา

หลายฝ่ายหนุนไทยระบุสถานะโรฮีนจา-ดึงเมียนมาร์ร่วมแก้ปัญหา

เชียงใหม่ (22 พ.ค.58) / ครส.ชี้การอพยพของชาวโรฮีนจา เกี่ยวข้องกับแรงงานข้ามชาติ จี้ดึงเมียนมาร์ร่วมแก้ปัญหาด้วย ขณะที่สภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม หนุนระบุสถานะให้ชัด เป็นคนเถื่อน-ค้ามนุษย์-ผู้ลี้ภัย หรือแรงงานข้ามชาติ เพื่อให้การช่วยเหลือถูกทาง ด้านกงสุลใหญ่สหรัฐ  ชื่นชมที่ไทยจะจัดประชุมหาทางออกร่วมกัน 4 ประเทศเมื่อเวลา 13.00 – 15.30 น. ของวันที่ 22 พ.ค. ที่ห้องประชุมชั้น 4 คณะสังคมศาสตร์ มช. ได้จัดเสวนา ” ROHINGYA Politics of Representation Trafficking and policy Alternatives”  โดยมีนายไมเคิล ฮีธ กงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกา ประจำ จ.เชียงใหม่ นายอิสมาแอล.หมัดอาด้ำ กรรมการสภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี และ นายบุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) เข้าร่วมเป็นวิทยากรนายบุญแทน กล่าวถึงกระแสข่าวของชาวโรฮีนจาว่า มีมานานแล้วแต่พึ่งเป็นข่าวและอยู่ในความสนใจของประชาชนเมื่อไม่นานมานี้ เพราะมีการขุดเจอหลุมศพชาวโรฮีนจาบริเวณชายแดนไทย-มาเลเซีย โดยปัจจุบันยังพบชาวโรฮีนจา ใช้เรือเป็นพาหนะ อพยพออกมาจากรัฐยะไข่ ประเทศเมียนมาร์ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเบื้องต้นทางทหารไทย ได้เข้าไปช่วยเหลือ มอบอาหาร น้ำ รวมถึงซ่อมแซมเครื่องยนต์เรือ เพื่อให้เดินทางต่อไปยังจุดหมายปลายทางที่ประเทศเพื่อนบ้านได้ทั้งนี้ปัญหาของโรฮีนจาในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 ข้อ ได้แก่ 1) มีขบวนการค้ามนุษย์เข้ามาเกี่ยวข้อง และ 2) การวางแนวทางการช่วยเหลือชาวโรฮีนจา ใน 3 ส่วน ได้แก่ อาหาร ยารักษาโรค และสร้างที่อยู่อาศัยชั่วคราว อย่างไรก็ตามการวางแนวทางแก้ไขปัญหาโรฮีนจา ควรจะดึงเมียนมาร์ เข้ามาร่วมแก้ไขปัญหาด้วยด้านนายอิสมาแอล กล่าวว่า ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากขบวนการค้าแรงงานข้ามชาติเป็นหลัก ดังจะเห็นได้จากในอดีต ที่ชาวโรฮีนจาเดินทางด้วยเรือประมงขนาดเล็ก จุคนได้ไม่เกิน 100 คน ตรงไปยังประเทศมาเลเซีย ขณะที่ปัจจุบันการเดินทางของชาวโรฮีนจาจะใช้เรือขนาดใหญ่ 2 ชั้น จุคนได้ครั้งละหลายร้อยคน และมีเป้าหมายขึ้นฝั่งที่ประเทศไทย ก่อนเดินทางต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ซ้ำยังมีขบวนการจัดหาเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ทั้งชักชวนให้เดินทางออกจากรัฐยะไข่ รวมถึงติดต่อญาติในมาเลเซีย โดยคนในขบวนการจัดหา จะอยู่ในเรือเพื่อทำหน้าที่ควบคุมเรือและชาวโรฮีนจาจนถึงจุดหมายปลายทางที่ปาดังเบซาร์ อ.สะเดา จ.สงขลาส่วนการเสียชีวิตของชาวโรฮีนจานั้น เท่าที่ทราบและได้สัมผัสมีหลายสาเหตุ เริ่มจากสุขภาพที่ไม่แข็งแรง และไม่ได้รับการตรวจก่อนออกนอกประเทศเมียนมาร์ จึงไม่สามารถทนความแออัดในระหว่างเดินทาง กระทั่งล้มป่วย ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ แล้วเสียชีวิต บางรายก็เกิดจากความอดอยากอย่างไรก็ตามปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการระบุสถานะของชาวโรฮีนจาที่ชัดเจน ว่าอยู่ในจำพวกใด ระหว่างผู้หลบหนีเข้าเมือง ค้ามนุษย์ ผู้ลี้ภัย หรือ แรงงานข้ามชาติ ซึ่งหากมีการระบุประเภทอย่างชัดเจนคาดว่าจะช่วยให้สามารถดำเนินการและใช้กฎหมายได้อย่างถูกต้องกับชาวโรฮีนจาขณะที่นายไมเคิล  กล่าวว่าสหรัฐฯ ชื่นชมประเทศไทยในการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะการจัดประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาโรฮีนจาร่วมกันระหว่าง ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และ เมียนมาร์ ในวันที่ 29 พ.ค. ที่จะถึงนี้ และขณะนี้สหรัฐฯ ได้ส่งเจ้าหน้าที่อาวุโสเข้าเมียนมาร์ เพื่อตรวจสอบข้อมูลแล้ว นอกจากนี้ยังช่วยสนับสนุนเงินทุนผ่านองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อนำไปใช้แก้ไขปัญหาโรฮีนจา และเปิดโอกาสให้โรฮีนจาบางส่วนอพยพไปตั้งถิ่นฐานที่สหรัฐฯด้วยสำหรับประเด็นการค้ามนุษย์นั้น อีกไม่นานรายงานการค้ามนุษย์ ปี 58 จะถูกเผยแพร่ ซึ่งในปี 57 พบว่าไทยถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มเทียร์ 3 (Tier 3) อันเป็นกลุ่มประเทศที่มีสถานการณ์การค้ามนุษย์ในระดับเลวร้ายที่สุดดังนั้นจึงต้องคอยจับตาดูว่าในปี 58 ไทยจะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มใดในช่วงท้ายของการเสวนา นายอิสมาแอล.ได้กล่าวถึงการช่วยเหลือชาวโรฮีนจาของสภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี ว่าได้เข้าไปช่วยเหลือชาวโรฮีนจาที่ถูกตำรวจตรวจคนเข้าเมืองจับกุมตั้งแต่ปี 56 โดยเน้นด้านอาหาร และน้ำดื่มเป็นหลัก นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าใจวิถีชีวิตของชาวโรฮีนจาที่นับถือศาสนาอิสลาม โดยเฉพาะการประกอบศาสนกิจเนื่องในวันสำคัญต่างๆ ด้วย.

You may also like

ดีป้า ปิดท้ายกิจกรรม Coding Inspire กระตุ้นเยาวชนเข้าถึงโค้ดดิ้งเท่าเทียมและทั่วถึง
ภายใต้ โครงการ Coding for Better Life ‘สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย

จำนวนผู้