AOT ดันท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เสริมขีดความสามารถ อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 หวังรับนทท. 60 ล.คนต่อปี
เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2567 นางกรรณิการ์ เปรมประเสริฐ รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ให้การต้อนรับสื่อมวลชน ผู้บริหาร และคณะเจ้าหน้าที่ ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ในการศึกษาดูงานเยี่ยมชม อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 ( Satellite 1 : SAT-1 ) อาคารหลังนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสาร จากเดิม 45 ล้านคนต่อปี เป็น 60 ล้านคนต่อปี อีกทั้งยังบรรเทาความแออัดของผู้โดยสารและเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี
ทั้งนี้ ลักษณะเป็นอาคาร 4 ชั้น มีพื้นที่ประมาณ 216,000 ตร.ม. มีจำนวนประตูทางออกที่เชื่อมต่อกับหลุมจอดประชิดอาคาร 28 หลุมจอด สามารถจอดอากาศยานขนาด CODE F เช่น A380 ได้ 8 หลุมจอด และอากาศยานขนาด CODE E เช่น Boeing 747 ได้ 20 หลุมจอดโดยเป็นอาคารสูง 4 ชั้น และมีชั้นใต้ดิน 2 ชั้น มีพื้นที่ประมาณ 251,400 ตารางเมตร ช่วยเพิ่มศักยภาพในการรองรับผู้โดยสาร จาก 45 ล้านคนต่อปี สู่ 60 ล้านคนต่อปี
โดยใช้ รถไฟฟ้า ( Aoto mated People Mover: APM )เชื่อม 2 อาคาร ในสนามบิน พร้อมรอรับบริการที่สถานีประมาณ 3 นาที และเป็นรถไฟฟ้าไร้คนขับแห่งแรกของไทย ที่สามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 210 คนต่อขบวน ซึ่งจะสามารถขนส่งผู้โดยสารได้มากถึง 3,590 คนต่อชั่วโมงต่อเที่ยว
อาคารเทียบเครื่องบินรองมีลักษณะเป็นอาคาร 4 ชั้น พื้นที่ทั้งหมดประมาณ 216,000 ตารางเมตร โดยแบ่งชั้นดังนี้
* ชั้น B2 : สถานีขนส่งผู้โดยสาร (APM Station)
* ชั้น B1 : ชั้นลำเลียงกระเป๋าและสัมภาระ (Baggage Handling)
* ชั้น GF : ชั้นลานจอดเครื่องบิน (Apron Level) โดยชั้นนี้เป็นชั้นที่มีรถบัสรับ-ส่ง, มีโถงพักคอย และ Office ของเจ้าหน้าที่
* ชั้น 2 : ชั้นผู้โดยสารขาเข้า (Arrival Level)
* ชั้น 3 : ชั้นผู้โดยสารขาออก (Departure Level)
* ชั้น 4 : ชั้นบริการผู้โดยสารพิเศษ (VIP Lounges Level)
พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัยอีกด้วย