เชียงใหม่เร่งบริหารเชื้อเพลิงโซนใต้จบ 28 ก.พ.เหลืออีก 5 หมื่นไร่ รองผู้ว่าฯกำชับเร่งสอบสวนหาคนเผานอกระบบมาดำเนินคดี

เชียงใหม่เร่งบริหารเชื้อเพลิงโซนใต้จบ 28 ก.พ.เหลืออีก 5 หมื่นไร่ รองผู้ว่าฯกำชับเร่งสอบสวนหาคนเผานอกระบบมาดำเนินคดี

ผอ.กองจัดการคุฒภาพอากาศ กรมควบคุมมลพิษแจงค่าฝุ่นสถานีตรวจวัดช่างเคิ่งแม่แจ่มสูงในช่วงหลัง 18.00-10.00 น.เกิดจากการสะสมฝุ่น ขณะที่คนในพื้นที่จี้ให้ย้ายจุดไปไว้ที่รพ.เทพรัตนเวชชานุกูลฯแทน ด้านรองผู้ว่าฯย้ำพื้นที่โซนใต้เร่งบริหารเชื้อเพลิงให้จบ 28 ก.พ.ซึ่งเหลืออีกกว่า 5 หมื่นไร่ ชี้หากไม่ทันให้ยกยอดไปปีหน้า สั่งการให้เร่งสอบสวนพื้นที่เผานอกระบบริหารฯเพื่อเอาตัวคนเผามาดำเนินคดี

เมื่อวันที่ 22 ก.พ.64ที่ศูนย์บัญชาการป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควันและฝุ่นpm2.5 จังหวัดเชียงใหม่ นายรัฐพล นราดิศร รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานประชุมคณะกรรมการฯ โดยประเด็นหลักเป็นการพิจารณาการบริหารจัดการเชื้อเพลิงล่วงหน้าและการหารือเกี่ยวกับการย้ายสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศที่ ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม เนื่องจากมีการท้วงติงจากทางอำเภอและผู้ปฏิบัติงานว่าจุดที่ติดตั้งเครื่องตรวจวัดอยู่บริเวณต่ำติดถนนทำให้ค่าตรวจวัดคุณภาพอากาศเกินค่ามาตรฐาน ทั้งเฉลี่ย 24ชั่วโมงและรายชั่วโมง และไม่สัมพันธ์กับการบริหารจัดการเชื้อเพลิง

ทั้งนี้นางพรศรี สุทธนารักษ์          ผู้อำนวยการกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า จากการเปรียบเทียบคุณภาพอากาศจากเครื่องตรวจวัดของกรมควบคุมมลพิษในสถานีหลักๆ  อย่างที่ ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่ในเดือนมกราคม 2564 ซึ่งเป็นสถานีที่ไม่ได้รับอิทธิพลจากการจราจร และมีกิจกรรมในแต่ละวันค่อนข้างคงที่ และค่าเฉลี่ยรายชั่วโมงของpm2.5 อยู่ระหว่าง 15-70 ไมโครกรัมต่อลบ.ม. เปรียบเทียบกับสถานีต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม มีค่าฝุ่นละอองรายชั่วโมงเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจนโดยเฉพาะในช่วงหลัง 18.00-10.00 น.และค่าเฉลี่ยรายชั่วโมงของ pm2.5 ในช่วงบ่ายซึ่งอากาศเปิดและมีกิจกรรมที่เป็นแหล่งกำเนิดฝุ่นละอองน้อยใกล้เคียงกับสถานีต.สุเทพ

“หากเปรียบเทียบข้อมูลจากช่วงเดือนธันวาคม 2563 กับมกราคม 2564 จะพบว่าค่าเฉลี่ยรายชั่วโมงของpm2.5 พื้นที่ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม ในเดือนธันวาคม 2563 ซึ่งเป็นช่วงเดือนที่อิทธิพลจากการเผายังไม่มาก ฝุ่นละอองรายชั่วโมงเพิ่มสูงขึ้นเพียงเล็กน้อยในช่วงหัวค่ำและช่วงเช้า และค่าเฉลี่ยรายชั่วโมงของ pm2.5 ส่วนใหญ่ไม่เกิน 70 ไมโครกรัมต่อลบ.ม.แต่ในเดือนมกราคม 2564 ฝุ่นละอองรายชั่วโมงเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงหลัง 18.00-10.00 น.และค่าเฉลี่ยรายชั่วโมงของpm2.5 ในช่วงบ่ายซึ่งอากาศเปิดและมีกิจกรรมที่เป็นแหล่งกำเนิดฝุ่นละอองน้อยส่วนใหญ่ไม่เกิน 70 ไมโครกรัมต่อลบ.ม.ซี่งจะเห็นว่าแหล่งกำเนิดมลพิษนั้นไม่ได้มาจากยานพาหนะ และพื้นที่แม่แจ่มเป็นแอ่งหุบเขา เพราะฉะนั้นการยกตัวของอากาศที่มองว่าอากาศจะยกตัวได้แบบแนวตั้งเท่านั้น”ผู้อำนวยการกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ กล่าว    

อย่างไรก็ตาม ในที่ประชุมก็ยังมีการถกเถียงกันว่า การบริหารจัดการเชื้อเพลิงของจังหวัดเชียงใหม่ ได้กำหนดห้วงเวลาในการบริหารจัดการไว้ในระหว่างเวลา 09.00-16.00 น.โดยใช้ระบบการจองล่วงหน้า 3 วันเพื่อให้ทางวอร์รูมพิจารณาโดยดูจากปัจจัยสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศ ทิศทางลมเป็นหลัก ซึ่งเป็นการบริหารจัดการตามหลักวิชาการ แต่ค่าคุณภาพอากาศที่ตรวจวัดได้ดูจะไม่สัมพันธ์กับความเป็นจริง จึงเสนอขอให้กรมควบคุมมลพิษ ย้ายสถานีตรวจวัดจากจุดปัจจุบันขยับไปไว้ที่โรงพยาบาลเทพรัตนเวชชานุกูล เฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา ซึ่งอยู่ที่ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม แต่เป็นจุดที่น่าจะเหมาะสมกว่าจุดที่ตั้งปัจจุบัน ซึ่งผู้แทนของกรมควบคุมมลพิษขอนำข้อเสนอดังกล่าวไปให้คณะกรรมการฯพิจารณาก่อน

นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้พิจารณาการบริหารจัดการเชื้อเพลิงล่วงหน้า ของพื้นที่โซนใต้ซึ่งมีการเสนอขอบริหารเชื้อเพลิงก่อนจะสิ้นสุดในวันที่  28 ก.พ.นี้ โดยอยู่ในเขตป่าสงวนจำนวน 36,231 ไร่ ป่าอนุรักษ์ 12,748.36 ไร่ ทั้งนี้ที่ผ่านมาอำเภอทางโซนใต้ได้เริ่มบริหารเชื้อเพลิงตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.ประกอบด้วย อ.แม่แจ่ม จอมทอง ฮอด อมก๋อย แม่วาง ดอยหล่อ หางดง สันป่าตอง แม่ออน สันทราย พร้าว ฝาง กัลป์ยาณิวัฒนา สะเมิง เชียงดาวและดอยสะเก็ด ซึ่งจะต้องบริหารจัดการเชื้อเพลิงรวม 175,672.98 ไร่ ในเดือนกุมภาพันธ์ 248,829.61 ไร่ รวมทั้งสิ้น 424,502.27 ไร่ แยกเป็นพื้นที่เกษตร 22,549.46 ไร่และพื้นที่ป่า 401,952.46 ไร่  แต่ได้มีการบริหารเชื้อเพลิงแล้วไม่ถึงครึ่งที่เสนอมา โดยรวมทั้งหมด 130,250.80 ไร่แยกเป็นพื้นที่เกษตร 4,920.80 ไร่และพื้นที่ป่า 125,330 ไร่

นายรัฐพล นราดิศร รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ขอให้เจ้าของพื้นที่ที่ขอบริหารจัดการเชื้อเพลิงปฏิบัติตามข้อกำหนด โดยเฉพาะห้วงเวลาที่บริหารเชื้อเพลิงได้ขอให้จบภายในเวลา 16.00 น.และหากจัดการไม่ทันให้ยกยอดไปบริหารเชื้อเพลิงในปีถัดไป เช่นเดียวกับพื้นที่เกษตร จะใช้หลักการเดียวกัน นอกจากนี้ให้สอบสวนตามข้อสั่งการผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ในที่ประชุมคณะทำงานศูนย์บัญชาการป้องกัน แก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 ให้อำเภอดำเนินการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน(Hotspot) ที่อยู่นอกเหนือพื้นที่การบริหารจัดการเชื้อเพลิง โดยให้สอบสวนหาสาเหตุการเกิดจุดความร้อนดังกล่าว รวมไปถึงเรียกผู้ที่ครอบครองพื้นที่และผู้ที่อยู่ใกล้เคียงพื้นที่ที่เกิดจุดความร้อนดังกล่าว มาบันทึกปากคำเพื่อค้นหาผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมาย

และให้ศูนย์บัญชาการฯระดับอำเภอ จัดชุดสอบสวนโดยบูรณาการ ประกอบด้วย ฝ่ายปกครอง, ท้องถิ่น, ตำรวจ, ป่าไม้, เกษตร และเจ้าของพื้นที่ป่า ให้นำข้อมูลการตรวจสอบจุดความร้อนบริเวณพื้นที่ให้แล้วเสร็จ พร้อมรายงานผลการตรวจสอบให้ศูนย์ฯ จังหวัดทราบภายในเวลา 09.00 น. ของวันถัดไป โดยในวันนี้มี(22 ก.พ.)มีจุดพิจารณาให้ดำเนินการสอบสวนของอำเภอแม่แจ่ม พิกัด 416807 2026200 ตำบลบ้านทับ, พิกัด 417256 2026500 ตำบลบ้านทับ, พิกัด 417326 2026870 ตำบลบ้านทับ, อำเภออมก๋อย พิกัด 395516 1980340 ตำบลนาเกียน, พิกัด 395585 1980700 ตำบลนาเกียน, พิกัด 395198 1980770 ตำบลนาเกียน, อำเภอดอยเต่า พิกัด 471195 1988140 ตำบลท่าเดื่อ, อำเภอฮอด พิกัด 466926 2006220 ตำบลบ้านตาล, อำเภอดอยหล่อ พิกัด 467131 2058010 ตำบลสันติสุข, พิกัด 467072 2057640 ตำบลสันติสุข, พิกัด 468282 2055150 ตำบลสันติสุข, อำเภอแม่สันทราย พิกัด 505263 2098310 ตำบลป่าไผ่,พิกัด 505204 2097930 ตำบลป่าไผ่, อำเภอแม่ออน พิกัด 526441 2054770 ตำบลแม่ทา, อำเภอฝาง พิกัด 534985 2189980 ตำบลแม่คะ

นายรัฐพล กล่าวด้วยว่า ให้เร่งทำประกาศจังหวัดเชียงใหม่เรื่องห้ามเผาในที่โล่ง ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.เป็นต้นไป เพราะที่ผ่านมาจังหวัดเชียงใหม่ไม่มีประกาศห้ามเผาเด็ดขาด แต่เป็นประกาศเกี่ยวกับวิธีบริหารจัดการเชื้อเพลิง.

You may also like

SUN ประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ในรูปแบบ Hybrid Meeting

จำนวนผู้