“จุลนิตย์”นั่งปธ.หอการค้าเชียงใหม่ต่ออีกสมัยพร้อมคณะกรรมการอีก31 คน

“จุลนิตย์”นั่งปธ.หอการค้าเชียงใหม่ต่ออีกสมัยพร้อมคณะกรรมการอีก31 คน

จุลนิตย์” นั่งเก้าอี้ประธานหอการค้าเชียง
ใหม่ สมัยที่ 2 ร่วมหอการค้า 4 จ. ขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ ขอรัฐบาลใหม่ ทำตามนโยบายหาเสียงให้เป็นรูปธรรม

วันที่ 25 มีนาคม 2566 ที่โรงแรมยู นิมมานเชียงใหม่ นายจุลนิตย์ วังวิวัฒน์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สมัยที่ 23 เป็นประธานเปิดประชุมใหญ่สามัญสมาชิกหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ และเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารหอการค้า สมัยที่ 24 ประจำปี 2566-2567 มีนายวีรพงศ์ ฤทธิ์รอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมคณะกรรมการ
สมาชิก และเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมกว่า 200 คน

จากนั้น นายสมชาย ทองคำคูณ รองประธานหอการค้า และประธานจัดการเลือกตั้ง ได้ชี้แจงรายละเอียด และเชิญสมาชิกลงคะแนนเลือกคณะกรรมการ 31 คน ก่อนให้คณะกรรมการลงคะแนนเลือกประธานหอการค้าคนใหม่ ตามลำดับ ปรากฏว่าคณะกรรมการ ลงคะแนนด้วยมติเอกฉันท์ ให้นายจุลนิตย์ เป็นประธานหอการค้าเชียงใหม่ สมัยที่ 24 เป็นสมัยที่ 2 ติดต่อกัน โดยใช้เวลาเพียง 10 นาที

ต่อมานายจุลนิตย์ พร้อมคณะกรรมการหอการค้า สมัยที่ 24 ถ่ายภาพเป็นที่ระลึก ก่อนตัวแทนชมรมธนาคาร จ.เชียงใหม่ และภาคเอกชน ได้มอบช่อดอกไม้ เพื่อแสดงความยินดี โดยมีนายนิตย์ วังวิวัฒน์ อดีตประธานหอการค้า จ.เชียงใหม่ สมัยที่ 6 บิดานายจุลนิตย์ พร้อมครอบครัว ได้ร่วมมอบช่อดอกไม้ เพื่อแสดงความยินดีแก่บุตรชาย ที่ได้รับเลือกเป็นประธานหอการค้า สมัยที่ 2 ด้วย

นายจุลนิตย์ ให้สัมภาษณ์ว่า ขอขอบคุณสมาชิก และคณะกรรมการที่ไว้วางใจรับหน้าที่ดังกล่าว เป็นสมัยที่ 2 เพื่อมอบหมายให้ทำงานต่อเนื่อง พร้อมสร้างความเข้มแข็งให้องค์กร โดยร่วมมือภาคการศึกษา พัฒนาหลักสูตรให้ตรงความต้องการผู้ประกอบการ โดยเฉพาะหลักสูตรปริญญาโท ที่เรียนควบคู่ทำ
งานไปด้วย และบัตรสมาชิกบางจาก ซึ่งเป็นบัตรเครดิตเติมน้ำมัน ที่มีการคืนเงินแก่ผู้ใช้บริการ พร้อมส่วนลดต่าง ๆ ถือเป็นสวัสดิการแก่สมาชิก

ส่วนโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ หรือเมกกะโปรเจ๊ค ได้ร่วมกับหอการค้าลำพูน ลำปาง เชียงราย และเชียงใหม่ รวม 4 จังหวัด เพื่อผลักดันขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ หรือระเบียบเศรษฐกิจภาคเหนือร่วมกับภาครัฐ ทั้งระยะสั้น กลาง และระยะยาว ตามลำดับ

นายจุลนิตย์ กล่าวอีกว่า ปี 2566 แนวโน้มเศรษฐกิจเชียงใหม่ และภาคเหนือ น่าจะฟิ้นตัวและกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ไตรมาส 4 เนื่องจากไตรมาสแรกเศรษฐกิจเริ่มมีแนวโน้มดีขึ้น แต่การจับจ่ายใช้สอยยัง
ทรงตัว ดังนั้นต้องดูไตรมาสที่ 2 ในช่วงงานปี๋ใหม่เมืองหรือสงกรานต์ เมษายนนี้ว่ามีสัญญาณบวกหรือไม่ ประกอบกับผู้ประกอบการยังเก็บเงินทุนสำรองบางส่วน ยังไม่ลงทุนเต็มร้อย จนกว่าสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว เพื่อลดความเสี่ยงลงทุนดังกล่าว

ส่วนกรณีรัฐบาลยุบสภา ซึ่ง กกต. กำหนดเลือกตั้งวันที่ 14 พฤษภาคมนั้น อยากให้รัฐบาลใหม่ ทำตามนโยบายที่หาเสียงไว้ ขับเคลื่อนเป็นรูปธรรม ส่วนภาคเอกชน ต้องติดตาม ตรวจสอบผลักดัน มีส่วนร่วมกับนโยบายดังกล่าวมากขึ้น เพื่อให้การพัฒนาประเทศไปสู่เป้าหมายมากขึ้น.

You may also like

บสย. รุกโมเดล “SMEs Digital Gateway” ปั้น 11 สาขาภูมิภาคสู่ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน

จำนวนผู้