นอภ.ดอยสะเก็ดวอนสถ.ดึงอบจ.เชียงใหม่และอปท.ในพื้นที่ 4 อำเภอโซนกลางหารือ หลังลงนามMOUแต่ไม่เอาขยะไปกำจัดที่ศูนย์ฯของอบจ.

นอภ.ดอยสะเก็ดวอนสถ.ดึงอบจ.เชียงใหม่และอปท.ในพื้นที่ 4 อำเภอโซนกลางหารือ หลังลงนามMOUแต่ไม่เอาขยะไปกำจัดที่ศูนย์ฯของอบจ.

นอภ.ดอยสะเก็ดวอนสถ.ดึงอบจ.เชียงใหม่และอปท.ในพื้นที่ 4 อำเภอโซนกลางหารือ หลังลงนามMOUแต่ไม่เอาขยะไปกำจัด มีเพียงดอยสะเก็ดแห่งเดียวทำให้เครื่องจักรทำงานไม่เต็มที่ เผยบางแห่งเบิกเงินแต่นำไปกำจัดที่อื่น ชี้ท้องถิ่นนั้นอาจถูกเรียกเงินคืนขณะที่ผู้รับจ้างจะโดนบทลงโทษ ด้านผู้รับเหมามอบเงินกองทุนเพื่อพัฒนาชุมชนโดยรอบแม้จะขาดทุน

เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมา ที่ว่าการอำเภอดอยสะเก็ด จ. เชียงใหม่ นายอรรถชา กัมปนาทแสนยากร นายอำเภอดอยสะเก็ด เป็นประธานประชุมโครงการศูนย์จัดการขยะมูลฝอยรวมแบบครบวงจร ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เชียงใหม่ เพื่อติดตาม และแก้ปัญหาของชุมชนโดยรอบโครงการ โดยมีนายสุรศักดิ์ โอสถิตย์พร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ เขตอ.ดอยสะเก็ด พร้อมด้วยนายเกริก เกียรติเวชช์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัทวีพีเอ็น คอลเล็คชั่นส์จำกัด ผู้รับสัมปทานกำจัดขยะ พื้นที่โซนกลาง 4 อำเภอ คือ อ.สันทราย อ.สันกำแพง อ.แม่ออน และ อ.ดอยสะเก็ด พร้อมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำชุมชนกว่า 15 คน เข้าร่วมประชุม โดยใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมง

นายอรรถชา กัมปนาทแสนยากร นายอำเภอดอยสะเก็ด กล่าวว่า หลังจากที่ทางอบจ.เชียงใหม่ให้บ.วีพีเอ็นฯ เข้ามาดำเนินการจัดการขยะเมื่อปลายปี 2560 ที่ผ่านมา ยังมีปริมาณขยะที่เข้าสู่โรงงาน มีเพียงของอ.ดอยสะเก็ดเท่านั้น เฉลี่ย วันละ 30 ตัน หรือ 900 ตัน/เดือนเท่านั้น จากที่สามารถรองรับการกำจัดขยะได้ถึงวันละ 200 ตัน ทำให้ผู้รับเหมากำจัดขยะประสบปัญหาขาดทุนมาโดยตลอด เนื่องจากจุดคุ้มทุนอยู่ที่ 70 ตัน/วัน จึงอยากให้กรมส่งเสริมปกครองท้องถิ่น (สถ.) อบจ.เชียงใหม่และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในพื้นที่ 4 อำเภอของจังหวัดเชียงใหม่ มานั่งพูดคุยกัน เพื่อนำขยะในแต่ละพื้นที่มากำจัดที่โรงงานดังกล่าวตามบันทึกข้อตกลง(MOU)ที่อปท.กับอบจ.เชียงใหม่ได้ทำมาหลายปีแล้วในราคาตันละ 800 บาท เนื่องจากศูนย์จัดการขยะฯแห่งนี้ใช้งบประมาณในการก่อสร้างกว่า 466 ล้านบาท

นายอำเภอดอยสะเก็ด กล่าวอีกว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มีผู้รับเหมาที่ทำสัญญาจัดเก็บ และกำจัดขยะกับ อปท. เบิกค่าจัดเก็บและกำจัดขยะไปแล้ว แต่ไม่ชำระค่ากำจัดขยะกับ อบจ. เชียงใหม่ บางรายนำไปกำจัดที่อื่น หรือลักลอบทิ้งขยะนอกพื้นที่ ทำให้เกิดปัญหามลภาวะและกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัญหาดังกล่าวผู้ตรวจราชการกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นรับทราบแล้ว อาจใช้มาตรการบทลงโทษแก่ผู้รับเหมาหรือผู้รับจ้าง โดยให้ อปท.เลิกสัญญาจ้างและเรียกเงินคืนทั้งหมด เพื่อรักษาผลประโยชน์ของท้องถิ่นเป็นหลัก

นอกจากนี้ทางอำเภอยังได้รับเรื่องร้องเรียนจากชุมชนที่อยู่รอบโครงการ ว่า น้ำใต้ดิน ที่ใช้ผลิตประปาหมู่บ้าน อาจมีสารปรอทปนเปื้อน แต่ยังไม่ทราบแหล่งที่มาของสารดังกล่าว ส่วนน้ำบนผิวดินไม่พบสารปนเปื้อน จึงขอให้ผู้เกี่ยวข้อง นำเจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์การแพทย์ มาตรวจวัดคุณภาพน้ำใต้ดินหมู่บ้าน จำนวน 5 แห่ง ที่อยู่ใกล้เคียงโรงงานขยะ คือบ้านป่าตึง จำนวน 2 จุด บ้านป่ายางงาม 2 จุด บ้านทุ่งยาว บ้านกิ่วแลและบ้านป่าคาหมู่บ้านละ 1 จุด รวม 7 จุด เพื่อป้องกันและสร้างความมั่นใจการใช้น้ำใต้ดินเพื่อการอุปโภค บริโภค ของชุมชนด้วย

นายอรรถชา กล่าวด้วยว่า สำหรับเงินกองทุนเพื่อพัฒนาชุมชนโดยรอบโครงการ ที่ผู้รับเหมากำจัดขยะของ อบจ. เชียงใหม่มอบให้กับอำเภอดอยสะเก็ด รวมทั้งต.ป่าป้อง และหมู่บ้านใกล้เคียง รวม 9 แห่ง ในครั้งนี้ จำกัด จำนวน 143,934.69 บาท ซึ่งก่อนหน้านั้นทางบริษัทได้มอบเงินให้กองทุนดังกล่าว จำนวน 625,988.19 บาท รวมเป็นเงิน ทั้งสิ้น 769,422.88 บาท เพื่อใช้พัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน โดยบางส่วนนำมาสร้างบ่อบำบัดน้ำเสีย ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และน้ำจุลินทรีย์แจกฟรีแก่ชุมชน เพื่อย่อยสลายและกำจัดกลิ่น โดยนำร่องที่ ต.ป่าป้องเป็นตำบลแรกก่อน เพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของชุมชน ภายใต้การทำงานแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมรับผลประโยชน์ด้วยกัน.

You may also like

กลุ่ม Chiang Mai Pride จับมือร่วมกับ Asset World Corporation (AWC) และ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดงาน “Chiang Mai Colourful Pride Month 2024” เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ และเชื่อมโยงการท่องเที่ยว

จำนวนผู้