รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา ร่วมพิธีส่งเฮือนหลองข้าวนันทขว้างให้กับพิพิธภัณฑ์เรือนโบรานล้านนา มช.เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมไว้ให้คนรุ่นหลัง

รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา ร่วมพิธีส่งเฮือนหลองข้าวนันทขว้างให้กับพิพิธภัณฑ์เรือนโบรานล้านนา มช.เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมไว้ให้คนรุ่นหลัง

รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา ร่วมพิธีส่งมอบยุ้งข้าวล้านนาให้กับพิพิธภัณฑ์เรือนโบรานล้านนา มช.เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมไว้ให้คนรุ่นหลัง และบ่งบอกถึงความสง่างามทางวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่

เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2560 เวลา 10.00 น. ณ พิพิธภัณฑ์บ้านโบราณ อำเภอเมืองเชียงใหม่ นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานในพิธีมอบยุ้งข้าวล้านนา ให้กับพิพิธภัณฑ์บ้านโบราณ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งนางโสภา เมืองกระจ่าง ทายาทตระกูลนันทขว้าง เป็นเจ้าของเดิม ร่วมส่งมอบยุ้งข้าวนันทขว้างพร้อมมอบเงินบริจาคอีกจำนวน 100,000 บาท โดยมีนายปวิณ ชำนิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมเป็นสักขีพยาน

สำหรับพิพิธภัณฑ์บ้านโบราณ หรือหลองข้าวนันทขว้าง เป็นหลองข้าวโบราณที่ได้รับความอนุเคราะห์จากนางโสภา เมืองกระจ่าง ซึ่งมีความต้องการจะอนุรักษ์ไว้เป็นสมบัติของชาวล้านนา ได้บริจาคให้อยู่ในความดูแลของพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา  และได้รื้อถอน ย้ายจากที่ตั้งเดิมในอำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน โดยทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้สนับสนุนงบประมาณในการรื้อถอนและติดตั้งจำนวน 5 แสนบาท และทางสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้รับงบสนับสนุนจากม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัฒน์อีก 3 แสนบาท ซึ่งหลองข้าวนันทขว้างได้ติดตั้งแล้วเสร็จเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม 2560 ที่ผ่านมา

สำหรับยุ้งข้าว หรือ หลองข้าวในภาษาล้านนาแห่งนี้ มีชื่อว่า หลองข้าวป่าซาง (นันทขว้าง) โดยถือเป็นหลองข้าวขนาดใหญ่ เป็นสิ่งบ่งบอกถึงฐานะของเจ้าของในอดีต เป็นเฮือนหลองข้าวลักษณะแบบ 12 ปันนา เมื่อดูจากลักษณะของรูปแบบสถาปัตยกรรมดั้งเดิมแล้ว สันนิษฐานว่าจะมีอายุประมาณ 150-170 ปี บริเวณเสาช่วงการหลองข้าวมีร่องรอยบากไม้ เพื่อนำแผ่นไม้มาใส่กั้นเป็นห้องเก็บข้าว ซึ่งรูปแบบที่มีความโดดเด่น คือ ลวดลายแกะสลักรูปนกยูงหน้าจั่วทั้งสองด้าน และมีการปรับปรุงใส่ไม้ฉลุบริเวณระเบียง และดัดแปลงทางขึ้นตั้งแต่ในอดีต คือมีการต่อเติมบันไดถาวรขึ้นลงทางด้านหน้า จากโครงสร้างหลองข้าวเดิมที่ไม่มีทางขึ้นไปต้องใช้บันไดไม้พาดเท่านั้น ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา

รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า ในฐานะเป็นคนในครอบครัวของแม่โสภา ซึ่งถือเป็นผู้บุกเบิกสิ่งดีๆ ที่ท้องถิ่นที่มีอยู่เพื่อมุ่งหวังให้คนรุ่นหลังได้เห็นถึงศิลปวัฒนธรรม ความสวยงามที่มีอยู่ ด้วยอยากให้คนรุ่นหลังไม่หลงลืมรากเหง้า ซึ่งคนยองป่าซางก็เป็นส่วนหนึ่งของคนไทย จึงอยากให้คนรุ่นหลังได้เห็นและขอให้มีความเชื่อมั่นและศรัทธาในวัฒนธรรมเก่าแก่ และไม่เพียงแต่คนไทยเท่านั้น เหตุที่แม่โสภามอบยุ้งข้าวโบราณนี้ให้ทางพิพิธภัณฑ์บ้านโบราณก็เพื่อจะได้ให้ชาวต่างประเทศได้เห็นและเรียนรู้ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมที่เก่าแก่และสืบทอดกันมาด้วย

ด้านนายปวิณ ชำนิประศาสน์ ผวจ.เชียงใหม่ กล่าวว่า ถือเป็นโชคดีที่ได้มาเห็นความงามของเรือนโบราณ ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ มียุทธศาสตร์ประการหนึ่ง คือ ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมบนอารยธรรมล้านนา ทำให้สถานที่แห่งนี้เป็นที่ที่คนสนใจในความหลากหลายทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ให้กับผู้ที่ได้มาเยี่ยมชม โดยจังหวัดเชียงใหม่ เป็นเมืองแห่งความงดงามทางวัฒนธรรมที่หล่อหลอมทุกกลุ่มชาติพันธุ์ได้อย่างดี จนทำให้เชียงใหม่กลายเป็นนครที่สง่างามทางวัฒนธรรมสืบมาจนถึงปัจจุบัน

สำหรับ พิพิธภัณฑ์บ้านโบราณแห่งนี้ ได้เปิดแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมของคนล้านนาไว้ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ มีเรือนโบราณอยู่จำนวน 8 เรือน และยุ้งข้าวโบราณ 4 หลัง เรือนแต่ละหลังมีอายุเก่าแก่กว่าร้อยปี มีเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมเรือนโบราณล้านนา ที่โดดเด่น สวยงาม มีเสน่ห์เป็นที่ดึงดูดใจต่อผู้พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง และในวันที่ 22 – 24 พฤศจิกายนนี้ จะมีการจัดกิจกรรมหมู่บ้านล้านนา พิพิธภัณฑ์มีชีวิต วิถีชีวิตล้านนา เป็นการจำลองวิถีชีวิต การอยู่ การกิน การแต่งกายของชาวไทยยวน ไทลื้อ ไทใหญ่ ไทเขิน ซึ่งหาดูได้ยากในปัจจุบัน.

You may also like

กลุ่ม Chiang Mai Pride จับมือร่วมกับ Asset World Corporation (AWC) และ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดงาน “Chiang Mai Colourful Pride Month 2024” เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ และเชื่อมโยงการท่องเที่ยว

จำนวนผู้