บูรณาการองค์ความรู้และการจัดการคุณภาพอากาศที่ยั่งยืน

บูรณาการองค์ความรู้และการจัดการคุณภาพอากาศที่ยั่งยืน

AiroTec CMRU” จับมือ “GISTDA” ผนึกกำลังร่วมกับพันธมิตร ฝึกอบรม”Pandora and GEMS Data Processing & Application”เพื่อบูรณาการองค์ความรู้และการจัดการคุณภาพอากาศที่ยั่งยืน

ศูนย์ปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีอวกาศภูมิสารสนเทศและวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมเพื่อคุณภาพอากาศที่ดีแห่งเอเชีย (AiroTEC) มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จับมือกับสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์กรมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม หรือในนามของจิสด้า (GISTDA) สหประชาชาติ (UNESCAP) กรมควบคุมมลพิษ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผนึกกำลังร่วมกับพันธมิตร 16 หน่วยงาน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติจังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศภาคเหนือ สำนักงานบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 (เชียงใหม่) สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 สภาลมหายใจเชียงใหม่ สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเชียงใหม่ สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่ และศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ จัดกิจกรรมฝึกอบรม “Pandora and GEMS Data Processing & Application” ภายใต้การนำของ GISTDA ซึ่งอยู่โครงการ “Building the Pan-Asia Partnership for Geospatial Air Pollution information” (PAPGAPi) ให้กับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติในระดับพื้นที่ ของเครื่องตรวจวัดภาคพื้นดิน Pandora ประกอบด้วย กรมควบคุมมลพิษ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อีกทั้งนักวิจัยและเจ้าหน้าที่รัฐของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจวัดคุณภาพอากาศในระดับพื้นที่และท้องถิ่น โดยมี ดร.สุรัสวดี ภูมิพานิช ผู้จัดการโครงการกล่าวรายงาน และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรศักดิ์ นุ่มมีศรี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ให้การต้อนรับ ระหว่างวันที่ 19-21 เมษายน 2566 ณ ห้องประชุมเอื้องสายส่องแสง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่


สำหรับภายในงานมีการบรรยายเทคโนโลยีเพื่อการเฝ้าระวังและติดตามคุณภาพอากาศ และการอบรมเชิงปฏิบัติการเครื่องตรวจวัดภาคพื้นดิน Pandora และข้อมูลดาวเทียมระบบ GEMS การแสดงนิทรรศการยานไร้คนขับ (UAV) เพื่องานด้านคุณภาพอากาศ รวมทั้งการลงพื้นที่เยี่ยมชมการดำเนินงานด้านการจัดการคุณภาพอากาศของศูนย์ AiroTec CMRU ตำบลริมเหนือ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมและบูรณาการข้อมูลที่ได้จากเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและสถานีตรวจวัดภาคพื้นดิน อีกทั้งสร้างเสริมองค์ความรู้และฝึกอบรมการใช้ข้อมูลที่ได้จากเครื่องตรวจวัด Pandora และข้อมูล GEMS ในการตรวจวัดคุณภาพอากาศ ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นการผนึกกำลังร่วมกับพันธมิตรเพื่อแลกเปลี่ยนและหารือแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศในการติดตามเฝ้าระวังและการจัดการคุณภาพอากาศในประเทศไทยที่ยั่งยืนต่อไป


ด้าน ดร.รัชพล สัมพุทธานนท์ ผอ.ศูนย์ AiroTec CMRU กล่าวเพิ่มเติมว่า “สำหรับทางศูนย์ฯ ของเราจะนำเสนอในหัวข้อ “นวัตกรรมการตรวจวัดคุณภาพอากาศและฝุ่นควัน PM 2.5 การบูรณาการศาสตร์เพื่อร่วมจัดการปัญหาฝุ่นควันเพื่ออากาศที่ดีในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแม่ฮ่องสอนเพื่อสุขภาพที่ดีของคนในชุมชน” และกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการตามแนวคิด From Space, To the Earth, For Communities เพื่อประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่นตามหลักปรัชญาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ยิ่งไปกว่านั้นทางศูนย์ฯ มีความมุ่งหวังให้พันธมิตรทั้ง 16 หน่วยงานร่วมมือกันช่วยจัดการปัญหาหมอกควันให้คลี่คลาย ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว”


ขณะที่ ดร.ชยานนท์ สวัสดีนฤนาท รอง ผอ.ศูนย์ AiroTEC ได้กล่าวเสริมว่า “การรับมือกับปัญหาฝุ่นควัน ควรจะมีการสร้างการรับรู้และตระหนักถึงค่าฝุ่นควันด้วยเซนเซอร์ รวมทั้งการให้ความรู้กับสังคมในการป้องกันตนเองในช่วงวิกฤติฝุ่นควัน PM 2.5 ด้วยการสวมหน้ากากอนามัย N95 การประดิษฐ์เครื่องฟอกอากาศ DIY และการสร้างห้องแรงดันบวกปลอดฝุ่นเพื่อการจัดการคุณภาพอากาศที่ยั่งยืนให้กับประชาชนในท้องถิ่นต่อไป”

You may also like

ชลประทานยันน้ำพอสำหรับแล้วนี้ แม้นาปรังแม่ออนเสียหายยับเพราะเป็นพื้นที่นอกเขตฯ

จำนวนผู้