น่านจัดนักโภชนาการท้องถิ่น   เพิ่มคุณภาพอาหารกลางวันเด็ก 

น่านจัดนักโภชนาการท้องถิ่น   เพิ่มคุณภาพอาหารกลางวันเด็ก 

ระแสทุจริตอาหารกลางวันเด็ก ที่กลายเป็นข่าวครึกโครมในสังคมไทย และยังผุดขึ้นมาให้เห็นเรื่อยๆ ไม่ขาดสาย ไม่เพียงแค่ให้ความรู้สึกสังเวชใจ ที่ “ครู” ผู้ถูกยกย่องให้เป็นแม่พิมพ์ของชาติ และควรเป็น “ผู้ให้” กลับประพฤติตนไม่เหมาะสมเสียเอง สุดท้ายผลกรรมก็ตกกับเด็กตาดำๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องรับประทานอาหารกลางวันที่ด้อยคุณค่าทางโภชนาการสุรพล เธียรสูตร  นายกเทศมนตรีเมืองน่าน กล่าวว่า กระแสข่าวที่เด็กวัย 2-3 ขวบ ไปจนถึงเด็กประถม ซึ่งยังเป็นวัยที่จัดหาอาหารรับประทานเองไม่ได้ แต่กลับได้รับอาหารกลางวันที่ด้อยคุณค่าทางโภชนาการ เช่น ขนมจีนคลุกน้ำปลา ทำให้มองเห็นความจำเป็นที่ต้องสร้างพฤติกรรมให้รับประทานอาหารที่มีคุณค่า ไม่ให้ติดกับความเคยชินในวัฒนธรรมการกินอย่างไร้คุณภาพ จึงได้ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ทำ  NAN MODEL “เด็กไทยแก้มใส” และเชื่อว่าการมีนักโภชนาการอยู่ในสังกัด คอยช่วยสอดส่อง ดูแลให้เด็กได้รับอาหารปลอดภัยจากสารเคมี มีคุณค่าครบ 5 หมู่อย่างแท้จริง จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อตัวเด็ก ครอบครัว ชุมชน สังคมการทำงานของนักโภชนาการท้องถิ่น ทำให้การจัดอาหารกลางวันในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 แห่ง โรงเรียนในสังกัดเทศบาลอีก 3 แห่ง รวมเด็กกว่า 2,000 คน เป็นไปอย่างมีคุณภาพมากขึ้น โดยศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 แห่ง จะจัดเมนูเหมือนกัน เช่นเดียวกับโรงเรียนอีก 3 แห่ง ก็ใช้เมนูเดียวกัน ทั้งนักโภชนาการท้องถิ่น ครู แม่ครัว จะร่วมกันวางเมนูให้เหมาะสม ตลอดปีการศึกษา มีโปรแกรม Thai school lunch ช่วยคำนวณคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งเมื่อมีการวางแผนระยะยาว ก็ทำให้การจัดหาวัตถุดิบที่ได้คุณภาพ สะอาด ปลอดภัย ทำได้ง่ายยิ่งขึ้น ชุมชนที่อยู่รอบๆ ศูนย์ หรือโรงเรียน จะปลูกผัก ผลไม้ หรือเลี้ยงสัตว์ ให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานศึกษารดา เพ็ชรขัน  ผู้อำนวยการกองการศึกษา เทศบาลเมืองน่าน ยอมรับว่าที่ผ่านมา มักจะพบปัญหาโรงเรียนทำอาหารกลางวันไม่ตรงกับเมนูที่ส่งมาเบิกเงินอุดหนุน เมื่อนักโภชนาการท้องถิ่นเข้ามากำกับดูแลในจุดนี้ ก็ได้ให้ทุกโรงเรียนในสังกัดช่วยกันวางแผนและใช้เมนูเดียวกัน เช่นเดียวกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 แห่ง ก็จัดเมนูเหมือนกัน เพื่อให้ง่ายต่อการวางแผนหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพ“ช่วงแรกมีปัญหา ครูบางโรงเรียนถึงกับร้องเรียนว่าทำไม่ได้ ขั้นตอนยุ่งยาก หากเมื่อตรวจสอบลึกลงไปก็พบว่าเดิมครูเป็นผู้จัดซื้อวัตถุดิบในการทำอาหารกลางวันเอง ทางนายกเทศมนตรีจึงได้ยกตัวอย่างการซื้อวัตถุดิบผิดสเปคจากโรงเรียนในจังหวัดอื่น จนถูกออกจากราชการถึง 5 คน ซึ่งนั่นเป็นเพียงการซื้อของผิดสเปค ไม่ใช่การทุจริต ทำให้เสียงร้องเรียนเงียบหายไป และค่อยๆ ปรับตัวเข้าหากัน ก่อเกิดความร่วมมือ เช่น เมื่อนักโภชนาการเข้าไปตรวจสอบวัตถุดิบที่จะใช้ทำอาหารกลางวันแล้วพบว่าหมูบดติดมันมากเกินไป ขอให้เปลี่ยนเป็นเนื้อที่ติดมันน้อยลง ครูกับแม่ครัวก็คุยกับผู้จัดหาวัตถุดิบ ยอมจัดหาวัตถุดิบตามที่ต้องการให้” ผอ.กองการศึกษา อธิบายนันท์ลินี  สายสุริยะรัชกร  นักโภชนาการท้องถิ่น เทศบาลเมืองน่าน เล่าถึงอุปสรรคในการทำงานว่า แม้จะทำความเข้าใจ ให้ความรู้กับครูและแม่ครัวทั้งเรื่องการจัดเมนู การเลือกวัตถุดิบ กระบวนการผลิตเพื่อไม่ให้สูญเสียคุณค่าทางโภชนาการ สัดส่วนของอาหาร ปริมาณการตัก การดูแลสุขาภิบาลโรงอาหาร สถานที่ประกอบอาหาร อุปกรณ์ อาคารสถานที่ ตลอดจนการแต่งกายของแม่ครัวต้องสะอาด รัดกุม มีผ้ากันเปื้อน ผ้าคลุมผม ตัดเล็บสะอาด หากในกระบวนการทำงานจริงมักจะมีปัญหาจุกจิกเสมอ เช่น เมนูก๋วยเตี๋ยว บางโรงเรียนเด็กชอบกินเส้นหมี่ บางโรงเรียนเด็กชอบเส้นใหญ่ เมื่อดูแล้วมีคุณค่าทางอาหารที่ใกล้เคียง สามารถใช้ทดแทนกันได้ ก็ให้ใช้ตามความชอบของเด็กๆ แต่ละโรงเรียนนอกจากนี้ความเคยชินของแม่ครัว อาทิ ทำอาหารรสชาติเค็ม ตักอาหารให้เด็กที่มาก่อนในปริมาณมาก จนไม่เพียงพอกับเด็กที่มาทีหลัง หั่นผักชิ้นโต ไม่สวยงาม ทำให้เด็กเขี่ยผักออกและมีอาหารเหลือทิ้งแต่ละวันในปริมาณมาก เมื่อเข้าไปแนะนำให้ปรับพฤติกรรม ก็ต้องใช้เวลา และปรับทีละน้อย มิฉะนั้นแม่ครัวจะรู้สึกเครียด เป็นภาระหนัก และที่สำคัญคือการปรับพฤติกรรมเด็กให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ก็ไม่สามารถทำได้ภายในวันเดียว อย่างการเปลี่ยนข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง เมื่อเปิดเทอมต้องเริ่มจากการผสมข้าวกล้องลงในข้าวขาวเพียง 1 ใน 3 ก่อนเพิ่มปริมาณข้าวกล้องมากขึ้นเรื่อยๆ  ตามวันเวลาที่ผ่านไป มิฉะนั้นเด็กจะรู้สึกว่าข้าวแข็ง สีไม่สวย จึงไม่กินเธอย้ำว่า งานสร้างเสริมภาวะโภชนาการในอาหารกลางวันของเด็ก ไม่ใช่หน้าที่ของนักโภชนาการและแม่ครัวเท่านั้น ครูเองก็ต้องช่วยกระตุ้น เมื่อถึงคาบเรียนสุดท้ายก่อนรับประทานอาหาร ไม่ว่าจะเป็นครูสอนวิชาใด ต้องหยิบยกเรื่องอาหารไปพูดคุยกับเด็กว่าวันนี้มีเมนูใด มีอะไรเป็นส่วนประกอบ และให้คุณค่าทางโภชนาการอย่างไร เด็กจะได้เกิดความอยากรู้อยากเห็น และอยากรับประทานให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่การตระหนักรู้ถึงปัญหา และนำร่องจ้างนักโภชนาการท้องถิ่น ของเทศบาลเมืองน่านในครั้งนี้ จึงไม่ใช่แค่ขจัดปัญหาทุพโภชนาการ เพิ่มคุณค่าของถาดอาหารกลางวันให้เด็ก เพราะเด็กในวันนี้ย่อมเป็นผู้ใหญ่ในวันหน้า หากเด็กได้รับอาหารที่ดีในปริมาณที่เหมาะสม ก็จะส่งเสริมพัฒนาการทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา มีสุขภาพที่ดี พร้อมจะเติบโตอย่างมีคุณภาพ.

You may also like

“ส.ว.ก๊อง”ลั่นลงสมัครป้องกันแชมป์สมัยหน้าในนามพรรคเพื่อไทย แย้มครั้งนี้ “ทักษิณ” ขอเป็นผู้ช่วยหาเสียง พร้อมลงพื้นที่ 25 อำเภอ

จำนวนผู้