คะฉิ่นในไทยวอน UN-ICRC ช่วยคะฉิ่น1.2แสนคน ที่ยังติดอยู่ในพื้นที่สู้รบ

คะฉิ่นในไทยวอน UN-ICRC ช่วยคะฉิ่น1.2แสนคน ที่ยังติดอยู่ในพื้นที่สู้รบ

- in AEC, headline

เชียงใหม่ / กลุ่มคะฉิ่นในไทย จัดแถลงข่าวรำลึก 7 ทศวรรษสงครามที่ไม่เคยยุติในรัฐคะฉิ่น และทุกขเวทนาของผู้ประสบภัยสงคราม 1.2 แสนคน ที่ติดอยู่ในพื้นที่สู้รบ วอนสังคมโลกรับรู้ พร้อมยื่นหนังสือ UN-UNHCH-ICRC ให้เร่งหาทางช่วยเหลือเมื่อเวลา 17.30 น. วันที่ 9 มิ.ย.62 ที่โรงแรมฮอลิเดย์การ์เด้น จ.เชียงใหม่ กลุ่มคะฉิ่นในประเทศไทย ได้จัดแถลงข่าว “เสียงร่ำร้องที่ไม่มีใครเคยได้ยินจากผู้ได้รับภัยจาการสู้รบรัฐคะฉิ่น ประเทศเมียนมา” เพราะตั้งแต่เมียนมา หรือพม่าได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรในปี 1948 ก็มีการสู้รบกับชนกลุ่มน้อยมาโดยตลอด แม้จะมีการเซ็นสัญญาสงบศึก หรือเกิดสัญญาปางโหลง แต่ในทางปฏิบัติยังคงมีการสู้รบอยู่เสมอคะฉิ่น ซึ่งเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของเมียนมา จึงต้องทนทุกข์ทรมานกับความขัดแย้งทางการเมืองและทหาร จนล้มตาย บาดเจ็บ ถูกละเมิดสิทธิ ละเมิดชีวิต รวมถึงถูกปฏิบัติอย่างไร้ค่าในบ้านเกิดของตนเอง แตกต่างจากชนกลุ่มน้อยบางส่วน เช่นโรฮิงญา กะเหรี่ยง ฉาน สามารถหลบหนีภัยไปยังประเทศเพื่อนบ้าน หรือประเทศที่สามได้ ทำให้โลกรู้จักพวกเขาดี แต่คะฉินซึ่งประสบชะตากรรมเดียวกัน กลับไม่สามารถหลบหนีไปที่ไหนได้ ซ้ำในพื้นที่ยังมีการสู้รบต่อเนื่อง จนโลกภายนอกไม่สามารถเข้าถึง และยังหลบหนีไม่ได้โดยสิ้นเชิง เพราะพื้นที่ด้านหนึ่งถูกล้อมไว้ด้อยกองทัพเมียนมา อีกด้านหนึ่งติดกับประเทศเพื่อนบ้านที่เข้มงวด ไม่อนุญาตให้พวกเขาหลบภัยได้ปัจจุบันมีคะฉิ่นได้รับผลกระทบจากการสู้รบอาศัยอยู่ในค่ายผู้อพยพ ที่สร้างขึ้นตามมีตามเกิดในพื้นที่ของพวกเขาเองกว่า 120,000 คน ครึ่งหนึ่งเป็นเด็ก สตรี และคนชรา ซึ่งรัฐคะฉิ่นมีค่ายผู้อพยพในพื้นที่ตนเองกว่า 100 แห่ง ถือว่ามากที่สุดในบรรดารัฐชนกลุ่มน้อยทั้งหลาย พวกเขาไม่มีสิทธิ์กระทั่งจะเป็นผู้อพยพ ไม่มีสิทธิ์ได้รับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเช่นเดียวกับผู้อพยพจากภัยสงครามทั่วโลก และความช่วยเหลือจากองค์กรระหว่างประเทศยังถูกกองทัพเมียนมาห้ามเข้าไปในพื้นที่มาเป็นเวลา 8 ปีเต็ม ส่งผลให้ผู้ประสบภัยกว่า 1.2 แสนคน อยู่อย่างแร้นแค้น ไร้ความหวังว่าจะมีชีวิตที่ดีขึ้นจึงขอวิงวอนต่อสังคมโลก ให้รับรู้ถึงความทุกข์ทรมานของพวกเขา และวิงวอนต่อองค์กรมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ทั้งองค์การสหประชาชาติ(UN) ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ (UNHCR) คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) ให้ช่วยเหลือพวกเขาอย่างเร่งด่วน ก่อนที่ภัยจากการสู้รบจะเข่นฆ่าพวกเขาให้ตายลงอย่างช้าๆ และเงียบงันต่อมาในเวลา 10.00 น. ของวันที่ 10 มิ.ย. ตัวแทนคะฉิ่นในประเทศไทย ได้อ่านแถลงการณ์ “เสียงร่ำร้องที่ไม่มีใครเคยได้ยินจากผู้ได้รับภัยจาการสู้รบรัฐคะฉิ่น ประเทศเมียนมา” ทั้งภาคภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พร้อมการแสดงประกอบ ที่หน้าสำนักงานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ จ.เชียงใหม่ (ICRC) เลขที่ 36 ถนนศิริมังคลาจารย์ ซอย 11 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ก่อนที่นายจุง บาย ผู้ประสานงานคะฉิ่นในประเทศไทย จะนำเข้ายื่นผ่านนายไกสอน เตียวประเสริฐ หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ ไปถึง Mr.Peter Maurer  ประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์นางกรรณิกา เพชรแก้ว ผู้ประสานงานคะฉิ่นในประเทศไทย กล่าวว่า หลังจากนี้จะนำหนังสือเข้ายื่นต่อองค์การสหประชาชาติ (UN) และข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ (UNHCR) ที่กรุงเทพฯ เพื่อกระตุ้นให้สังคมรับรู้ถึงการมีอยู่ของคนกลุ่มนี้ และหาทางช่วยเหลือกลุ่มผู้ประสบภัยที่ยังติดอยู่ในพื้นที่ต่อไป.

You may also like

builds มช. ขนทัพสตาร์ทอัพนักศึกษาคับคั่ง พิสูจน์ความสำเร็จ ตั้งบริษัทจริงระหว่างเรียน

จำนวนผู้