ครบรอบ 50 ปีกรมวิชาการเกษตรจัดงาน “วันถ่ายทอดเทคโนโลยีภาคเหนือตอนบน”15-16 ก.พ.66 ที่อุทยานหลวงราชพฤกษ์

ครบรอบ 50 ปีกรมวิชาการเกษตรจัดงาน “วันถ่ายทอดเทคโนโลยีภาคเหนือตอนบน”15-16 ก.พ.66 ที่อุทยานหลวงราชพฤกษ์

ครบรอบ 50 ปีกรมวิชาการเกษตรจัดงาน “วันถ่ายทอดเทคโนโลยีภาคเหนือตอนบน”พร้อมลงนามบันทึกข้อตกลงกับจ.เชียงใหม่เพื่อขับเคลื่อนเกษตรปลอดภัย ยกระดับการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐานและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร วางเป้าปลูกนางพญาเสือโคร่งดึงดูดคนมาเที่ยวชม นำร่องส้มอ.ฝางปลอดภัยและ MOUกับอีกหลายหน่วยงานเพื่อสร้างความยั่งยืนให้เกษตรกร

เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 15 ก.พ.66 ที่อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่ นายระพีภัทร์ จันทรศีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เป็นประธานเปิดงาน “วันถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพืชภาคเหนือตอนบน นวัตกรรมพืชพร้อมใช้ พัฒนาเกษตรกรไทยยั่งยืน” นอกจากนี้ยังได้ลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนเกษตรปลอดภัย ยกระดับการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐานและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนายศักดิ์ชัย คณานุวัฒน์ชัยเดช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เป็นผู้ลงนาม โดยงานนี้กรมวิชาการเกษตรจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-16 ก.พ.2566 โดยมีเกษตรกรเข้าร่วมงานกว่า 2,000 คน

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า เนื่องจากปีนี้เป็นปีที่กรมวิชาการเกษตรครบรอบ 50 ปี จึงได้จัดกิจกรรมนี้ขึ้น รวมทั้งลงนามบันทึกข้อตกลงกับทางจังหวัดเชียงใหม่ด้วย ในการที่จะขับเคลื่อนเกษตรปลอดภัย ยกระดับการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐานและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ ตลอดผักผลไม้ปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP และ Organic Thailand ซึ่งมีหลายแห่งที่ไปดูมาทั้งจริงใจมาร์เก็ตเชียงใหม่,ตลาดข่วงเกษตรอินทรีย์ คณะเกษตรมช.และตลาดนัดเกษตรสีเขียวศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่

“เราเชื่อในศักยภาพของภาคเหนือ โดยเฉพาะเชียงใหม่มีการตื่นตัวเรื่องอาหารปลอดภัยมาก และหลายแหล่งมีการผลิตและเชื่อมโยงกับการตลาด มีการส่งผลผลิตให้โรงพยาบาล เรือนจำและร้านอาหาร ทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่ดีและเข้าร่วมเป็นเครือข่ายในการผลิตมากขึ้น นอกจากนี้กรมฯยังได้ร่วมมือกับสสส.และหน่วยงานอื่นกำหนดพื้นที่นำร่อง เช่น ส้มที่อ.ฝางเชื่อมกับตลาดไท โดยจะมีการดูตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ”อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกล่าวและว่า

สำหรับการพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรก็เช่น การปลูกต้นนางพญาเสือโคร่ง ที่มีความโดดเด่นสวยงาม ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาชม โดยขยายพื้นที่ปลูกต้นนางพญาเสือโคร่งในแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ให้ได้อย่างน้อยปีละ 10,000 ต้น เพิ่มพื้นที่สีเขียว ทั้งยังเป็นการลดฝุ่นpm2.5 ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทุกๆ ปีในปลายฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อนด้วย

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวด้วยว่า การผลิตพืชให้ได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ กรมวิชาการเกษตรร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่ได้ดำเนินภารกิจทั้งด้านการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพมาตร และการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของสินค้าเกษตร สร้างแรงจูงใจเชิงบวกแก่กลุ่มเกษตรกร จนได้รับการรับรองแหล่งผลิตพืชจนได้รับมาตรฐาน GAP จำนวน 13,859 ราย พื้นที่ 138,387 ไร่ และรับรองแปลงผลิตพืชอินทรีย์ จำนวน 119 รายพื้นที่ 1,809 ไร่

ด้านนางสาวจงรัก อิ่มใจ ผอ.สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 กล่าวว่า สพท.1และหน่วยงานเครือข่ายวิชาการเกษตรในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ได้ร่วมกันจัดนิทรรศการต่างๆ ที่น่าสนใจเป็นอันมาก โดยภายในงานแบ่งกิจกรรมเป็นโซนต่างๆ โซนที่ 1 เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการผลิตและแปรรูป โซน 2 นวัตกรรมกาแฟอะราบิกาครบวงจรสู่ระดับสากล โซนที่ 3 ชีวภัณฑ์ก้าวหน้า ลดพึ่งพาสารเคมี โซนที่ 4 สิ่งสู่ BCG ด้วยปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ โซนที่ 5 การเพิ่มประสิทธิภาพระบบพืชด้วยนวัตกรรมการผลิตพืชไร่ โซนที่ 6 มุ่งสู่การเป็นผู้นำด้านเมล็ดพันธุ์พืชเขตร้อนระดับโลก และโซนที่ 7 ยกระดับมาตรฐานการผลิตพืชเพื่อการส่งออกและเพิ่มศักยภาพพืชท้องถิ่นด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวอีกว่า กรมวิชาการเกษตรวางแผนลงนามบันทึกข้อตกลงกับจังหวัดเชียงใหม่ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรหรืออ.ต.ก. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช(ThaiPAN)ในการจัดหาช่อทางจำหน่ายสินค้าเกษตรที่มั่นคง เพิ่มมูลค่าการผลิต โดยเฉพาะส้มที่นำร่องที่อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ รวมถึงการผลิตพืชผักปลอดภัย นำร่องการผลิตพื้นที่นครปฐม ให้สามารถยกระดับสินค้าเกษตรให้กับผู้บริโภคได้มีโอกาสเข้าถึงสินค้าเกษตรปลอดภัยได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น.

 

You may also like

“ส.ว.ก๊อง”ลั่นลงสมัครป้องกันแชมป์สมัยหน้าในนามพรรคเพื่อไทย แย้มครั้งนี้ “ทักษิณ” ขอเป็นผู้ช่วยหาเสียง พร้อมลงพื้นที่ 25 อำเภอ

จำนวนผู้