วอนนายกฯ ชัดเจนในการฟื้นฟูพื้นที่บ้านพักตุลาการ ก่อนประชุม ครม.สัญจร

วอนนายกฯ ชัดเจนในการฟื้นฟูพื้นที่บ้านพักตุลาการ ก่อนประชุม ครม.สัญจร

เชียงใหม่ / เครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ ออกแถลงการณ์ 2 ฉบับ ขอนายกรัฐมนตรีให้ความชัดเจนในการฟื้นฟูพื้นที่บ้านพักตุลาการก่อนเดินทางมาประชุม ครม.สัญจร เชียงใหม่-ลำปาง พร้อมยื่น 8 ข้อเสนอถึงพ่อเมือง ให้สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน แนะทำถนนทางเข้าใหม่ ไม่ผ่านประตูหน้าสำนักงานศาลอุทธรณ์ภาค 5 เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 9 ม.ค. ที่ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการจังหวัดเชียงใหม่ ได้มีการประชุมทำแผนงานของบประมาณและเริ่มโครงการฟื้นฟื้นที่บ้านพักข้าราชการตุลาการ 45 หลัง โดยมีนายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เป็นประธานการประชุม และมีตัวแทนจากส่วนราชการต่างๆ เข้าร่วมหารือ แต่ไม่ปรากฏภาคประชาชน นักวิชาการ และศาลอุทธรณ์ภาค 5 ที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมด้วยในเวลาเดียวกัน ที่หน้าอาคารอำนวยการ ศูนย์ราชการ จ.เชียงใหม่ เครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ ได้แถลงข่าว และออกแถลงการณ์ 2 ฉบับ โดยฉบับแรกจะยื่นถึง พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เรื่อง “ข้อเสนอถึงนายกรัฐมนตรีในโอกาสเดินทางมาประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)สัญจร เชียงใหม่–ลำปาง  ในระหว่างวันที่ 14-15 มกราคม 2562”  และฉบับที่ 2 ยื่นถึงนายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ ผู้ว่าราชการ จ.เชียงใหม่ เรื่อง “ข้อเสนอถึงผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กรณีจะตั้งคณะทำงานฟื้นฟูพื้นที่บ้านพัก ขรก.ตุลาการ 45 หลัง”

นายบัณรส บัวคลี่ โฆษกเครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ กล่าวว่า ได้รับการประสานจากทางจังหวัดเชียงใหม่ให้เข้าร่วมประชุม เพื่อทำแผนงานของบประมาณและเริ่มโครงการฟื้นฟื้นที่บ้านพักข้าราชการตุลาการ 45 หลัง ร่วมกับภาครัฐ และฝ่ายยุทธการ ในวันนี้ (9 ม.ค.) เวลา 10.30 น. ที่ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการจังหวัดเชียงใหม่ แต่เครือข่ายฯ ได้หารือกันแล้ว และมีมติว่าจะไม่เข้าประชุมในครั้งนี้ เพราะได้สอบถามข้อมูลรายละเอียด พบว่าหลายอย่างยังไม่ชัดเจน โดยเฉพาะในระดับนโยบาย และผู้ว่าฯ ก็ตอบไม่ได้ ว่าหลังคณะกรรมการระดับประเทศมีมติ และนำเรื่องเข้า ครม.ไปแล้ว มีการเสนอนายกรัฐมนตรี ทางนายกฯ เห็นด้วย 100% หรือมีคำสั่งใดๆ เพิ่ม หรือมีการปฏิบัติการใดๆ ซึ่งทางเครือข่ายฯ ยังไม่เห็นคำสั่ง มีแต่คำบอกเล่าจากทางจังหวัด และผู้ว่าฯ ว่ามีแล้ว จึงเป็นที่มาของการออกแถลงการณ์ 2 ฉบับในครั้งนี้ และอยากให้นายกฯ แถลงให้ชัดเจน ก่อนเดินทางมา ครม.สัญจร ที่ จ.เชียงใหม่, ลำปางซึ่งแถลงการณ์ครั้งนี้ ออกในนามเครือข่ายฯ เพราะไม่อยากให้มีการแจ้งความจับอีก โดยฉบับแรกยื่นถึงนายกรัฐมนตรี มี 4 ข้อ คือ 1) นายกรัฐมนตรีมีความเห็นเช่นไรกับมติที่ประชุมของคณะกรรมการแก้ปัญหาฯ ที่มีนายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ เป็นประธาน และมีข้อสั่งการใดบ้าง เครือข่ายขอเรียกร้องให้รัฐบาลได้แถลงแนวทาง แผนงานและมาตรการแก้ปัญหาโครงการบ้านพักข้าราชการตุลาการอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นทางการต่อสาธารณะ 2) เครือข่ายภาคประชาชน พอใจในระดับหนึ่งที่ห้ามผู้ใดเข้าใช้ประโยชน์ในบ้านพัก 45 หลัง แต่ยังมองไม่เห็นว่ามาตรการฟื้นฟูพื้นที่ส่วนดังกล่าวจะสามารถปฏิบัติจริงได้หากยังไม่มีการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไป 

3) ขอให้นายกรัฐมนตรีได้ประสานแจ้งแนวทางแก้ปัญหาของรัฐบาลไปยังสำนักงานศาลยุติธรรม จะได้ดำเนินการรังวัดและคืนพื้นที่ในส่วนบ้านพัก 45 หลังให้กับกรมธนารักษ์ เพื่อให้การฟื้นฟูดำเนินไปได้อย่าราบรื่น  4) ขอให้มีความชัดเจนเพื่อให้สังคมมองเห็นภาพในระยะยาวว่า เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 5 แห่งใหม่ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ และย้ายทั้งบุคลากรผู้พักอาศัยไปจังหวัดเชียงรายแล้ว รัฐบาลจะดำเนินการกับพื้นที่อาคารชุดส่วนที่เหลืออย่างไร และจะให้มีการฟื้นฟูแบบไหน ขอให้นายกรัฐมนตรีดำเนินการให้ชัดเจน แล้วเสร็จก่อนจะเดินทางมาประชุม ครม.สัญจรครั้งนี้สำหรับแถลงการณ์ฉบับที่ 2 ที่ยื่นถึงผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่นั้น ทางเครือข่ายได้ยืนยันไม่เข้าร่วมประชุมทำแผนงานของบประมาณและเริ่มโครงการฟื้นฟูพื้นที่บ้านพักตุลาการ 45 หลัง ในวันนี้ (9 ม.ค.) จนกว่าจะมีความชัดเจนในระดับนโยบาย พร้อมทั้งย้ำจุดยืนของเครือข่ายฯ ว่ามุ่งมั่นในเป้าหมายสุดท้าย คือขอให้รื้อถอนหรือย้ายสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งล้ำขึ้นไปในแนวป่าลงมา และฟื้นฟูให้กลับเป็นป่าสมบูรณ์ดังเดิม

เพราะการเรียกร้องของประชาชนตลอดปีที่ผ่านมา ได้ผลในระดับต้นเท่านั้น คือไม่มีผู้อาศัยในเขตบ้านพัก 45 หลัง พร้อมกับจะมีมาตรการฟื้นฟู แต่การดำเนินการในภาคปฏิบัติยังไม่ชัดเจนทั้งในระดับนโยบาย และระดับจังหวัด ทางเครือข่ายได้ประสานงานแจ้งผู้ว่าราชการจังหวัดไปเบื้องต้นแล้ว ถึงจุดยืน และความเห็นของภาคประชาชน ซึ่งสรุปได้ 8 ข้อ ดังนี้

1) การฟื้นฟูให้เต็มรูปแบบ ต้องรื้อย้ายสิ่งปลูกสร้าง แต่รัฐบาลยืนกรานไม่รื้อย้ายอ้างว่าไม่มีกฎหมายให้อำนาจ ดังนั้นการฟื้นฟูที่จะมีขึ้นควรเรียกว่า โครงการฟื้นฟูพื้นที่ระยะต้น 2) จะต้องมีความชัดเจนจากสำนักงานศาลยุติธรรมว่า จะมอบพื้นที่ส่วนดังกล่าวกลับคืนกรมธนารักษ์ 3) ควรจะถอดย้ายชิ้นส่วน เฟอร์นิเจอร์ และอุปกรณ์สำคัญออกจากตัวบ้าน ป้องกันการกล่าวหา กล่าวโทษ หรือ ทรัพย์สินราชการเสียหาย 4) ให้มีความชัดเจนว่า คณะกรรมการที่จะดำเนินงานฟื้นฟูทั้งปวง มีขอบเขตอำนาจหน้าที่แค่ไหน5) หากจะมีการฟื้นฟูพื้นที่บ้านพัก 45 หลังไปพลางๆ ขณะที่ยังไม่รื้อสิ่งปลูกสร้าง อาจจะเป็นผลดีกว่าปล่อยทิ้งร้างไว้โดยไม่ดำเนินการใดๆ โดยต้องเป็นการดำเนินการโดยกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางของประชาชนในจังหวัดทุกหมู่เหล่า ปลูกสร้างความรู้สึกมีส่วนร่วมและเป็นเจ้าของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมดอยสุเทพพร้อมกันไป 6) การจะให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางและสะดวกต่อทุกฝ่าย ควรจะมีการทำถนนทางเข้าใหม่ ที่ไม่ต้องผ่านประตูหน้าของสำนักงานศาลอุทธรณ์ภาค 5 เครือข่ายฯ จึงได้เสนอแนวถนนทางเข้า 2 แนว คือเลาะแนวรั้วด้านทิศใต้ ไปยังสะพานข้ามบ้านพัก 45 หลัง หรือ ใช้เส้นทางลำลองจากอ่างเก็บน้ำชลประทาน 7) จังหวัดต้องให้เกียรติและจริงใจกับการเปิดให้ประชาชนเข้าไปร่วมทำงาน  8) เครือข่ายฯ พร้อมจะให้ความร่วมมือกับภาคราชการในการแก้ปัญหาเช่นที่เคยปฏิบัติมาตลอดปี 2561.

You may also like

SUN ขับเคลื่อนนวัตกรรมเกษตรครบวงจร และจัดพิธีบวงสรวงพระพิรุณ ประจำปี 2567

จำนวนผู้