TCEB จับมือภาคีเปิดตัวงาน World Tea & Coffee Expo 2023 ผลักดันสร้างชื่อเสียงให้ภาคเหนือเป็น “ถิ่นของชาและกาแฟระดับโลก”ตอกย้ําความเป็นผู้นําอุตสาหกรรมชาและกาแฟของภาคเหนือตอนบน
เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2566 ณ ร้านอาหารชิดลมคาเฟ่ แอนด์ เรสเตอร์รองท์ เชียงใหม่ ดร.จุฑา ธาราไชย ผอ.สํานักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน.ร่วมกับนายวีรพงศ์ ฤทธิโชค รองผวจ.เชียงใหม่,น.ส.จงรัก อิ่มใจ ผอ.สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1,น.ส.สุลัดดา ศรุติลาวัลย์ ผอ.ททท.สำนักงานเชียงใหม่,นายสงกรานต์ มูลวิวัส นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ หน.กลุ่มนโยบายและแผนงาน สนง.อุตสาหกรรมจ.เชียงใหม่และนายสุรพล ปลื้มใจ ผอ.สำนักส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 ได้ร่วมกันแถลงข่าวเปิดตัวงาน World Tea & Coffee Expo 2023 ซึ่งเป็นงานประชุมและแสดงสินค้าในอุตสาหกรรมชาและกาแฟระดับโลก ที่จะจัดขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่เร็วๆนี้โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาคีร่วมผนึกกําลังให้การจดังาน ครั้งนี้บรรลุเป้าหมาย ผลักดันสร้างชื่อเสียงให้ภาคเหนือเป็น “ถิ่นของชาและกาแฟระดับโลก”
ทั้งนี้ งานประชุมและแสดงสินค้า World Tea & Coffee Expo 2023 กําหนดจัดขึ้นระหว่าง วันที่ 26-29 มกราคม 2566 ณ ศูนย์การค้า One Nimman ย่านธุรกิจที่สําคัญใจกลางเมืองเชียงใหม่ ซึ่งทาง สสปน. ได้ใช้กลไก การแสดงสินค้าขับเคลื่อนพืชเศรษฐกิจระดับภาค เพื่อสร้างชื่อเสียง (Destination Branding) ต่อยอดความพร้อมของ ภาคเหนือตอนบนในการเป็นผู้นําอุตสาหกรรมชาและกาแฟระดับโลก ซึ่ง เป็นโครงการที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2563 โดยในปีนี้ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “A Cup of Success” เพื่อเน้นย้ํา ถึงความสําเร็จของธุรกิจชาและกาแฟในไทยที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด รวมถึงความสําเร็จที่กําลังจะเกิดขึ้นใน อนาคต
ภายในงานแบ่งเป็นสองส่วน ได้แก่ ส่วนของงานแสดงและจําหน่ายสินค้า ในบริเวณพื้นที่ลาน กิจกรรม กลางแจ้ง และส่วนของงานประชุมวิชาการนานาชาติในชื่อ The 3rd Tea and Coffee International Symposium ณ ห้องประชุม Nimman Convention Centre โดยในส่วนของงานแสดง สินค้าประกอบด้วยบูธของผู้ประกอบการจํานวน 50 ราย แบ่งเป็นบูธผู้ประกอบการชาและกาแฟภาคเหนือ รวมทั้งภาคอื่น ๆ จํานวน 45 ราย และต่างประเทศจํานวน 5 ราย โดยท้ังหมดเป็นผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติ ผ่านเกณฑ์ตามที่ สสปน. กําหนดไว้ ไม่ว่าจะเป็นในด้านความน่าเชื่อถือ คุณภาพ และมาตรฐานของสินค้า การ นํานวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ในกระบวนการผลิต และศักยภาพที่สามารถต่อยอดธุรกิจต่อไป ได้ในอนาคต เป็นต้น
โดยอีกหนึ่งกิจกรรมที่จะเป็นโอกาสทางการค้าที่สําคัญของผู้ประกอบการคือ การเจรจาธุรกิจ (Business Matching) ซึ่งในครั้งนี้มีการเชิญคู่ค้า หรือ buyer จากทั่วประเทศ 20 ราย และจากต่างประเทศ จํานวน 5 ราย โดยการเจรจาจะมีทั้งรูปแบบออฟไลน์ภายในงาน และการเจรจาผ่านทางออนไลน์ ทั้งนี้ ตัวเลข
ดร.จุฑา กล่าวว่า คาดการณ์มูลค่าซื้อขายจากการเจรจาธุรกิจอยู่ที่ 8 ล้านบาท เพราะมีผู้ซื้อเข้ามาร่วมเจรจาธุรกิจด้วย โดยเฉพาะผู้ซื้อรายใหญ่อย่าง ปตท.OR,แบล็คแคนยอนและซีพี นอกจากนี้ยังมีเจ้าของผู้ประกอบการร้านกาแฟด้วย และส่วนของการซื้อขายภายในงานอยู่ที่ 2 ล้าน บาท ในส่วนของผู้เข้าชมนั้น เดิมตั้งเป้าไว้ที่ 1,000 คน แต่ด้วยสถานที่จัดงานที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง จึงมั่นใจว่า จะมีผู้เข้าชมมากกว่าที่ตั้งเป้าไว้อย่างแน่นอน
ในส่วนของงานประชุมวิชาการนานาชาติ Tea & Coffee International Symposium จะเป็น การประชุม Hybrid แบบเต็มวันในวันที่ 26 มกราคม 2565 ณ ห้องประชุม Niman Convention ซึ่งอยู่ใน บริเวณเดียวกัน โดยได้เชิญนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญจากในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งกงสุลต่างประเทศ มาแลกเปลี่ยน และให้ความรู้ในห้วข้อต่าง ๆ ได้แก่ A cup Of success : ความสําเร็จของ ธุรกิจชาและกาแฟ ในไทย บทบาทความสําคัญ ของหน่วยงานต่าง ๆ ในการมีส่วนร่วมและผลักดันอุตสาหกรรมชาและกาแฟ, Light Cup : ทิศทางตลาด ชา และกาแฟไทยกับแนวโน้มตลาดโลก, Meduim Cup : ตลาด ชาและกาแฟใน ไทย โอกาสและอุปสรรคในการเติบโต, Dark Cup : เจาะลึก การส่งออก และการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ และ Special Cup : Tea and Coffee Tourism ชากาแฟกับ โอกาสในการต่อยอดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
นอกเหนือจากนี้ ยังมีกิจกรรมพิเศษ A Cup of Country ซึ่งเป็นการนําเสนอ สาธิตการชง เครื่องดื่มชา กาแฟจากประเทศต่าง ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนและแสดงถึงทั้งคุณค่าและความยิ่งใหญ่ของเครื่องดื่มชา กาแฟที่แทรกซึม อยู่ในวิถีชีวิตของผู้คน ทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมทั่วโลกมายาวนานจนถึงปัจจุบัน.