โครงการGreen Kitchen หนุนเปลี่ยนเส้นทางอาหาร ดันเชียงใหม่สู่เมืองแห่งอาหารปลอดภัย

โครงการGreen Kitchen หนุนเปลี่ยนเส้นทางอาหาร ดันเชียงใหม่สู่เมืองแห่งอาหารปลอดภัย

เชียงใหม่ / โครงการ Green Kitchen เชียงใหม่ เผยคนเชียงใหม่มีสารเคมีตกค้างในเลือดสูง หนุนเปลี่ยนเส้นทางอาหารปลอดภัย ให้โรงแรม-ร้านอาหาร ติดต่อกลุ่มเกษตรอินทรีย์โดยตรง เลี่ยงซื้อพืชผัก-เนื้อสัตว์ จากตลาดที่ไม่รู้แหล่งที่มา พร้อมร่วมมือกับจังหวัด-อบจ.-ททท.-รพ-เสริมความรอบรู้ผู้บริโภค เพื่อยกระดับเชียงใหม่เป็นเมืองแห่งอาหารปลอดภัยศ.ดร.พวงรัตน์ แก้วล้อม ผู้จัดการโครงการ Green Kitchen เชียงใหม่ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยถึงรายงานจากสถาบันวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าจากการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดกลุ่มเกษตรกร (40 คน) มีค่าสูงเกินระดับมาตรฐาน 1.3 เท่า และเด็กนักเรียน (207) คน มีค่าสูงเกินระดับมาตรฐานถึง 4 เท่า ซึ่งโอกาสการรับสารเคมีมากจากการรับประทานผัก ผลไม้ เป็นหลัก
และจากการตรวจสอบพืชผักตามตลาดสดต่างๆ พบว่ามีสารเคมีตกค้าง รวมถึงผลการสุ่มตรวจเลือดผู้บริโภคที่เข้ามาในงานเมื่อปีที่ผ่านมา ก็พบร้อยละ 90 มีสารเคมีตกค้างในเลือด ทั้งนี้เมื่อพิจารณาเส้นทางของพืชผัก จะเห็นว่า ปกติพืชผักจากแหล่งผลิตในเชียงใหม่ทั้งอินทรีย์ และเคมี ถูกส่งรวมกันไปที่ตลาดใหญ่ในกรุงเทพฯ เช่นตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง ก่อนย้อนกลับมาที่ตลาดเมืองใหม่ และกระจายสู่ตลาดต่างๆ ทั่วเชียงใหม่จนถึงมือผู้บริโภคจึงมีแนวคิดเปลี่ยนเส้นทางอาหารของผู้บริโภค โดยเราได้รับการสนับสนุนจาก สสส.ต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 3 และทำงานครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ นั่นคือการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกผัก-เลี้ยงสัตว์อินทรีย์ โดยเริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์ดิน ปรุงดินให้เหมาะสมกับพืชผัก และติดต่อกับร้านอาหาร โรงแรมเพื่อรองรับผลิตสู่ครัว และผู้บริโภคโดยตรง จะได้รู้แหล่งผลิตที่ปลอดภัย และร่วมกันวางแผนการปลูกพืชผักต่างๆ ให้สามารถป้อนวัตถุดิบได้ตามความต้องการ สำหรับประชาชนทั่วไป หากต้องการหลีกเลี่ยงพืชผักที่มีสารเคมีตกค้าง หากไม่ได้ติดต่อกับผู้ผลิตพืชผักอินทรีย์เพื่อรับผักประจำ ก็สามารถทำได้ในเบื้องต้น คือการเลือกรับประทานพืชผักตามฤดูกาล และเลือกพืชผักที่รู้แหล่งผลิต ก็จะช่วยกรองสารเคมีได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งถ้าผู้บริโภคมีความรู้ด้านอาหารเพิ่มก็จะมีความปลอดภัยมีความสุขในชีวิตมากขึ้น โครงการปีนี้จึงจะเน้นหนุนคนให้มีความรู้ สัมผัสความรู้ในพื้นที่จริงๆ เพราะอยากให้เชียงใหม่เป็นต้นแบบ มีอาหารที่ปลูกในวิถีอินทรีย์ โดยที่ผู้บริโภครับรองเองว่าตรงนี้มีอาหารอินทรีย์“ขณะเดียวกัน การดำเนินโครงการฯ ยังตรงกับนโยบายของจังหวัดเชียงใหม่ ที่ผลักดันให้เชียงใหม่เป็นเมืองแห่งอาหารปลอดภัย ในปีนี้ทางจังหวัด และองค์การบริหารส่วนจังหวัด จึงเข้ามาสนับสนุนด้วย เพราะถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนดำเนินการเชียงใหม่เมืองแห่งอาหารปลอดภัย นอกจากนี้ ในการทำงานที่ผ่านมา ยังได้ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยมาตลอด โดย ททท.ได้ช่วยเผยแพร่ข้อมูลร้านอาหารปลอดภัย และแนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงอาหารต่างๆ ให้กับนักท่องเที่ยว ซึ่งททท.จะช่วยให้ต้นแบบหรือตัวอย่างที่ดีถูกมองเห็น นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และจากจุดเล็กๆ นี้คนจะได้ห่างไกลจากโรค NCD’s มะเร็ง เนื้องอก ภูมิแพ้ ฯลฯ ถือเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และปรับเปลี่ยนความเชื่อด้วยความรู้” ศ.ดร.พวงรัตน์ กล่าว ด้าน รศ.วินิตา บุณโยดม รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ที่ผ่านมา มช.สนับสนุนโครงการร่วมกับ สสส.มาตลอด เพราะอยากให้คนเชียงใหม่รอบรู้เรื่องอาหารให้มากขึ้น เพื่อก่อให้เกิด Chiangmai Greentopia หรือเชียงใหม่เมืองอาหารปลอดภัย ที่มี Green Farm เป็นต้นแบบแหล่งเพาะปลูก หรือแหล่งผลิตที่ปลอดภัย Green Kitchen ต้นแบบร้านอาหารปลอดภัย ใช้วัตถุดิบที่ไม่มีสารเคมีตกค้าง Green Hospital โดยมีศูนย์ศรีพัฒน์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลต่างๆ ร่วมกันขับเคลื่อนส่งเสริมด้านสุขภาพ ทำให้เกิด Green Family ต้นแบบผู้บริโภคอาหารย์อินทรีย์ในเชียงใหม่นางพัศลินทร์ เศวตรัตน์ ผอ.ททท.สำนักงานเชียงใหม่ กล่าวเสริมว่า เชียงใหม่มีความโดดเด่นเรื่องอาหาร ทั้งอาหารเชิงวัฒนธรรม อาหารพื้นเมือง อาหารนานาชาติ รวมไปถึงอาหารชาติพันธุ์ และด้วยความเป็นเมืองท่องเที่ยวจึงมีชาวต่างชาติจากทุกมุมโลกเข้ามามาก ทำให้ร้านอาหาร และเชฟ มีการรังสรรค์เมนูอย่างหลากหลาย นำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาสร้างจุดขาย เป็นอาหารผสานศิลปะ ที่มีความคิดสร้างสรรค์ สวยงาม และสนองตอบเทรนด์ของนักท่องเที่ยวที่ชอบความแปลกใหม่ แต่ยังคงไว้ซึ่งรากเหง้า อัตลักษณ์ของท้องถิ่นล่าสุด ททท. กำลังร่วมมือกับ มช. และโครงการ Green Kitchen เชียงใหม่ ภายใต้การสนับสนุนของ สสส. วางแผนทำกิจกรรมเชิงท่องเที่ยวเกษตรอินทรีย์ และมีกิจกรรมรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มที่สนใจสุขภาพ wellness กลุ่มสูงวัย เช่น เทศกาลชิมลำไยในสวน เพราะลำไยเป็นพืช GI (สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ที่บอกถึงคุณภาพและแหล่งที่มาสินค้า) ของเชียงใหม่ แต่ปกติลำไยจะมีใช้สารเคมีมาก สวนลำไยอินทรีย์จึงเป็นอีกช่องทางหนึ่ง ที่เข้าไปทำเส้นทางเสนอขายให้กลุ่มเป้าหมายได้ โดยอาจผูกติดกับโรงแรมเป็นแพ็คเกจเล็กๆ ที่ต่อยอดออกไป อาทิ พักโรงแรมนี้สามารถไปชมสวนลำไย ชิมน้ำลำไย มีเมนูลำไยพิเศษที่ปลอดภัยจากสารเคมี เป็นต้น

You may also like

อบจ.เชียงใหม่​ ร่วมภาคีเครือข่าย เฉลิมพระเกียรติ​ในหลวง ร.10 ครบ 6 รอบ “ปลูกต้นไม้ ปล่อยปลา ที่หนองเขียว”

จำนวนผู้