กมธ.สถาปนิกล้านนา-อาจารย์สถาปัตย์ มช. เติมเต็มองค์เจดีย์หลวงด้วยปรากฏการณ์แสง

กมธ.สถาปนิกล้านนา-อาจารย์สถาปัตย์ มช. เติมเต็มองค์เจดีย์หลวงด้วยปรากฏการณ์แสง

เชียงใหม่ / กมธ.สถาปนิกล้านนา จับมืออาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มช. สร้างปรากฏการณ์แสง  เติมเต็มรูปทรงและสัดส่วนความสูงที่สมบูรณ์ให้องค์เจดีย์หลวง หวังให้ผู้คนได้สัมผัสกับประสบการณ์ความงดงามในอดีตเพจเฟสบุ๊ค Faculty of Architecture Chiang Mai University ได้เผยแพร่เมื่อวันที่ เมื่อ 27 ก.ค.64  ว่าทางกรรมาธิการสถาปนิกล้านนา สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ร่วมกับ ผศ.ดร.บุรินทร์ ธราวิจิตรกุล หัวหน้าศูนย์นวัตกรรมล้านนาสร้างสรรค์ (CLIC) และผศ.กานต์ คำแก้ว อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มช. ต่อยอดการทดลองเชิงปรากฏการณ์แสงของกรรมาธิการสถาปนิกล้านนาฯ ที่ได้พยายามทดลองนำปรากฏการณ์แสง มาสร้างมุมมองใหม่ต่อสถาปัตยกรรมในภาคเหนือมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ นายปราการ ชุณหพงษ์ ประธานกรรมาธิการสถาปนิกล้านนา ได้วางเป้าหมายสำคัญในงานสถาปนิกล้านนา’64 ด้วยการสร้างปรากฏการณ์แสง เพื่อเพิ่มคุณค่า และมิติการรับรู้ใหม่ให้กับวัดเจดีย์หลวงวรวิหารซึ่งการทดลองปรากฏการณ์แสง ที่วัดเจดีย์หลวงวรวิหารนี้ เป็นการร่วมกันค้นหาวิธีการสร้างมุมมองใหม่ต่อองค์เจดีย์หลวง โดยตั้งคำถามว่า องค์เจดีย์หลวงในสภาพสมบูรณ์ จะมีความยิ่งใหญ่และงดงามได้เพียงใด จึงมีแนวความคิดหาทางใช้ปรากฏการณ์แสงเติมเต็มรูปทรงและสัดส่วนความสูงที่สมบูรณ์ให้กับองค์เจดีย์หลวง เพื่อให้ผู้คนได้สัมผัสกับประสบการณ์ความงดงามขององค์เจดีย์หลวงในอดีตเมื่อระดมสมองร่วมกันแล้ว ก็เกิดแนวคิดที่จะทดลองใช้แสงกับเทคนิค “Projection” หรือ “ภาพฉาย” ซึ่งเป็นเครื่องมือพื้นฐานที่สุดในการนำเสนอแบบทางสถาปัตยกรรม (เช่น แปลน, รูปด้าน, รูปตัด) โดยทีมผู้จัดทำเห็นว่าเทคนิคภาพฉายที่เป็นเครื่องมือที่เรียบง่ายนี้ อาจจะเป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพต่อการทดลองนี้ได้ จึงได้สืบค้นรูปแบบขององค์เจดีย์ที่สมบูรณ์จากข้อสันนิษฐานที่สรุปมาจากการศึกษาเทียบเคียงหลักฐานและตำนาน โดยนักประวัติศาสตร์และนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญหลายท่าน พบว่ามีข้อสันนิษฐานของรูปทรงที่สมบูรณ์ในหลายแนวทางดังนั้นแนวทางการทดลอง จึงตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ต้องการทำให้ผู้ชมสามารถเติมเต็มความเป็นไปได้บางส่วนด้วยตัวเอง ผ่านการสร้าง “การเว้นว่าง” ให้จินตนาการของผู้ชมได้เติมเต็มความสมบูรณ์ขององค์เจดีย์ขึ้นภายในใจ ดังนั้นร่องรอยของ “เส้นรอบรูป” ที่สมสัดส่วนและเบาบาง จึงเป็นเครื่องมือที่เลือกใช้สำหรับการสร้างภาพฉายของเส้นรอบรูปองค์เจดีย์ที่สมบูรณ์ด้วยแสง เป็นการเล่นกับมิติการรับรู้ “ความแบน” และ “ความลึก” ในเทคนิคการสร้างภาพฉายทางสถาปัตยกรรม โดยปกติแล้วสถาปนิกจะใช้วิธีฉายภาพรูปทรง 3 มิติที่มีความลึกให้ปรากฏไปบนระนาบที่แบนราบในมุมมองต่างๆ เพื่อให้เกิดเป็นภาษาของแบบทางสถาปัตยกรรม 2 มิติเพื่อใช้ในการสื่อสารขณะเดียวกัน ก็ทดลองในกระบวนการย้อนกลับ ฉายแสงเส้นรอบรูปไปที่องค์เจดีย์ เป็นการฉายภาพ 2 มิติกลับคืนไปสู่องค์เจดีย์จริงที่เป็นวัตถุ 3 มิติ การทดลองนี้จึงเป็นลองใช้ “มิติความแบน” จากโลกกราฟิก 2 มิติเพื่อกระตุ้นการรับรู้ใหม่ให้กับ “มิติความลึก” ในโลกกายภาพ 3 มิติ

โดยกระบวนการเล่นกับมิติด้วยปรากฏการณ์แสง ได้เริ่มต้นจากการฉายภาพเส้นรอบรูปให้ยืดยาวออกไป (extrusion) จากจุดกำเนิดแสง (dot)  สู่การเกิดลำแสง (line)  ปรากฏเป็นระนาบแสงเสมือน (plane)  และนำไปสู่การปิดล้อมระนาบแสง จนเกิดเป็นอุโมงค์แสงเสมือน (space) ที่ซ้อนทับลงไปกับองค์เจดีย์ที่อยู่เบื้องหน้า สร้างประสบการณ์เติมเต็มให้ผู้ชม แต่ทัังนี้ยังเป็นเพียงการทดลองในเบื้องต้น ทีมผู้จัดทำจะทำการพัฒนาการทดลองกันต่อไป.

You may also like

บสย. จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา โครงการ “บสย. ร่วมใจ ทำดี เพื่อสังคม” ครั้งที่ 2 ร่วมซ่อมแซม ทาสี เครื่องเล่นเด็ก ปลูกต้นไม้ ณ สวนสมเด็จสราญราษฎร์มณีรมย์

จำนวนผู้