สสว.จับมือมช.จัดอบรมตลาดอิเล็กทรอนิกส์สำหรับเอสเอ็มอี ปี 62

สสว.จับมือมช.จัดอบรมตลาดอิเล็กทรอนิกส์สำหรับเอสเอ็มอี ปี 62

- in headline, เศรษฐกิจ

สสว. จับมือมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จัดกิจกรรมอบรมภายใต้ “โครงการส่งเสริมพัฒนาตลาดอิเล็กทรอนิกส์สำหรับ SME ปี 2562” ในเขตพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน เพื่อขยายช่องทางการตลาดออนไลน์แก่ผู้ประกอบการ

เมื่อวันที่ 8 พ.ค.2 ที่ห้องประชุมโรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว ศูนย์นวัตกรรมและการจดัการ ความรู้ วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) จัดอบรมภายใต้โครงการส่งเสริมพัฒนาตลาดอิเล็กทรอนิกส์สำหรับ SME ปี 2562

นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กล่าวว่า โครงการส่งเสริมพัฒนาตลาดอิเล็กทรอนิกส์สำหรับ SME เป็นโครงการที่ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปีนี้ก้าวเข้าสู่ปีที่ 3 ภายใต้แนวคิด Digital to Global เพื่อพัฒนา SME ไปสู่การเป็น Modernization และยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการไทย ให้มีศักยภาพในการแข่งขันในตลาดออนไลน์ระดับสากล โดยนับตั้งแต่ปี 2560 – 2561 มีผู้ประกอบการ SME ที่เข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 120,000 ราย โดยเตรียมความพร้อมในการถ่ายภาพสินค้า และ จัดทำรายละเอียดสินค้ากว่า 265,000 ผลิตภัณฑ์ และเปิดร้านค้าออนไลน์ได้กว่า 20,000 ร้านค้า รวมถึงสร้างยอดขายให้กับผู้ประกอบการกว่า 450 ล้านบาท  และในปีนี้ยังมีการระดมความรู้ทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ในการทำตลาดออนไลน์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเน้นให้องค์ความรู้ ตั้งแต่การเลือกสินค้าและการกำหนดราคา การจัดทำเนื้อหาและภาพสินค้า ความชำนาญในการบริหารจัดการ และการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำมาประกอบการบริหารจัดการ

ทางด้านดร.ภคินี อริยะ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมและการจัดการความรู้ วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า จากการบูรณาการความร่วมมือ สสว. ร่วมกับศูนย์นวัตกรรมและการจัดการความรู้ วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการผลักดันผู้ประกอบการในเขตพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา และแม่ฮ่องสอน ให้มีโอกาสเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เตรียมความพร้อมในการนำสินค้าเข้าสู่ตลาดออนไลน์ ให้ความรู้ คำปรึกษาและ คำแนะนำในการทำธุรกิจบนตลาดออนไลน์ การจัดกิจกรรมสนับสนุนการขายบนตลาดออนไลน์ โดยคัดเลือกและแบ่งกลุ่มผู้ประกอบการเพื่อพัฒนาและส่งเสริมตามความจำเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) ผู้ประกอบการที่ยังไม่มีประสบการณ์เปิดร้านค้าออนไลน์ (2) ผู้ประกอบการที่มีร้านค้าออนไลน์ โดยมีหัวข้ออบรมเกี่ยวกับทิศทางการตลาดออนไลน์ในปี 2562 การถ่ายภาพสินค้าให้มีความน่าสนใจ การเปิดร้านค้าออนไลน์ผ่าน platform e-marketplace ชื่อดังในระดับสากล และ เรียนรู้การจัดการภาษีจากการขายสินค้าออนไลน์ (3) ผู้ประกอบการออนไลน์ที่มีศักยภาพ และ (4) ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพนำร่องระบบตัวแทนดูแลผู้ประกอบการ (Agency Model) ภายใต้ Business Coordinator Unit (BCU)

“ผู้ประกอบการในกลุ่มที่ 3 และกลุ่มที่ 4 เป็นการจัดอบรมพิเศษโดยคัดเลือกจากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมกับโครงการ ซึ่งมีการผ่านกระบวนการ และทำการ Spin-off ผู้ประกอบการ เข้ารับการให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ จนนำไปสู่การยกระดับทางธุรกิจด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในประเทศและระดับสากล เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจอย่างเป็นระบบและยกระดับผู้ประกอบการให้มีความรู้ความเข้าใจ สามารถแข่งขันในตลาดออนไลน์ได้อย่างยั่งยืน รวมถึงยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอล (Digital Economy) ซึ่งเป็นแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยการนำเทคโนโลยีดิจิตอลเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เน้นการสร้างช่องทางการจำหน่ายผ่านทางตลาดออนไลน์มากยิ่งขึ้น” ดร.ภคินี กล่าวชี้แจง

สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจสามารถติดตามข่าวสาร และสมัครเข้าร่วมการอบรมได้ด้วยตนเองผ่านแอพลิเคชั่น SME Connext หรือผ่านเว็บไซต์ www.smeonline.info

You may also like

กลุ่ม Chiang Mai Pride จับมือร่วมกับ Asset World Corporation (AWC) และ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดงาน “Chiang Mai Colourful Pride Month 2024” เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ และเชื่อมโยงการท่องเที่ยว

จำนวนผู้