หอการค้าแฟร์ 2018 นำสินค้ามาจัดจำหน่ายและแสดงศักยภาพทางศก.ของเชียงใหม่ 125 บูธ คาดเงินสะพัดกว่า 100 ล้านบาท

หอการค้าแฟร์ 2018 นำสินค้ามาจัดจำหน่ายและแสดงศักยภาพทางศก.ของเชียงใหม่ 125 บูธ คาดเงินสะพัดกว่า 100 ล้านบาท

หอการค้าจังหว้ดเชียงใหม่บูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและสถานศึกษา จัดงานหอการค้าแฟร์ 2018 ภายใต้งาน Lanna Expo 2018 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ตั้งเป้าเงินสะพัดในงานไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท  คาดว่าจะมีผู้ร่วมชมงานมากกว่า 250,000 คนตลอด 10 วัน และจะสร้างรายได้หมุนเวียนมากกว่า 30 ล้านบาท

ที่อาคาร SMEs ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ นางวิภาวัลย์ วรพุฒิพงค์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยดร.ณพสิทธิ์ จักรพิทักษ์ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และดร.ภราดร สุรีย์พงค์ ผช.ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกันแถลงข่าวการจัดงาน “หอการค้าแฟร์ 2018”  Chiang Mai Chamber of Commerce Fair 2018 ภายในงาน Lanna Expo  2018 ระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน-1 กรกฎาคม 2561  ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ  7 รอบ พระชนมพรรษา  จังหวัดเชียงใหม่

นางวิภาวัลย์ วรพุฒิพงค์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่จะได้จัดงาน “หอการค้าแฟร์ 2018”  ซึ่งได้จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ภายในงาน Lanna Expo  2018 ระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน-1 กรกฎาคม 2561  โดยใช้พื้นที่บริเวณอาคาร SMEs ภายในศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ  7 รอบ พระชนมพรรษา  จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 และจังหวัดเชียงใหม่ที่สนับสนุนพื้นที่จัดงานครั้งนี้ เพื่อเพิ่มโอกาสทางการค้า ขยายช่องทางทางการตลาดของผู้ประกอบการ พร้อมกับส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการ ตลอดจนเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และภาคเหนือ  

“ในปีนี้มีบูธจำหน่ายสินค้าและแสดงศักยภาพเศรษฐกิจของเชียงใหม่ทั้งหมด   125 บูธ แบ่งเป็นโซนสินค้าฮาลาล ฮาลาลสตรีท โซนนิทรรศการฮาลาล โซน Wellness โซนผู้ประกอบการจากโครงการ Cosmetic Valley โซนตลาดผลไม้ เป็นต้นคาดว่าจะมีผู้ร่วมชมงานมากกว่า 250,000 คนตลอด 10 วัน และจะสร้างรายได้หมุนเวียนมากกว่า 30 ล้านบาท ซึ่งจะเพิ่มขึ้นกว่าการจัดงานในปีที่ผ่านมา”ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวและชี้แจงอีกว่า

หอการค้าแฟร์ 2018 เป็นการจัดงานที่หอการค้าฯ วางรูปแบบการจัดงานที่ใหญ่ที่สุดในเชิงบูรณาการโครงการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่แบบครบวงจร โดยได้รับการสนับสนุนการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงอย่างดียิ่ง และใกล้ชิดกับภาครัฐ ภาคการศึกษา ตลอดจนหน่วยงานที่สำคัญในการผลักดันโครงการเชิงยุทธศาสตร์ที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่ ผ่านการพัฒนาผู้ประกอบการอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม

ด้านดร.ณพศิษฐ์ จักรพิทักษ์ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่กล่าวว่า การดำเนินโครงการในปีนี้ ถือเป็นการบูรณาการอย่างใกล้ชิดระหว่างสถาบันการศึกษากับหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ ที่ได้ดำเนินโครงการร่วมกัน ทั้งโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการดิจิทัลของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ให้ก้าวสู่ Super Cluster ด้านดิจิทัล Thailand 4.0             โครงการ Cross Border E- commerce    โครงการ smart farmer และ smart insect และโครงการหน้าต่างการท่องเที่ยวสู่ล้านนา (Lanna Tourism Enclave) ที่ได้ดำเนินการผ่านศูนย์วิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยว  สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งดำเนินกิจกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมสุขภาพ (Wellness Tourism) ในจังหวัดเชียงใหม่ และกิจกรรมการอบรมผู้ประกอบการล้านนาลองสเตย์

นอกจากนี้ยังมีโครงการพัฒนานวัตกรรมสมุนไพรสำหรับเครื่องสำอางภาคเหนือ” (Cosmetic Valley) (Lanna Long Stay) ของ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่            โครงการพัฒนาความสามารถทางนวัตกรรมของผู้ประกอบการใหม่ภาคเหนือ รุ่นที่ 2  Northern Innovative Startup Thailand (NIST) : Batch 2ของอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (STeP)  และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA  ดำเนิน เพื่อสร้างผู้ประกอบการ Start Up อย่างต่อเนื่อง และโครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ (Startup) ของ วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

ส่วนทางด้านดร.ภราดร สุรีย์พงค์  ผู้ช่วยศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในปีนี้ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล มีส่วนในการประสานงานนำผู้ประกอบการด้านฮาลาลมาร่วมออกบูธภายในโซนหอการค้าฯแฟร์ ซึ่งศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลฯได้ร่วมกับหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ และคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเชียงใหม่จัดงานมาอย่างต่อเนื่องตลอด 3 ปีที่ผ่านมา  เพื่อสร้างการรับรู้เชิงพื้นที่ให้แก่นักท่องเที่ยวและบุคคลทั่วไป ให้รับทราบถึงศักยภาพทางด้านอุตสาหกรรม และสินค้าของฮาลาลในพื้นที่อย่างต่อเนื่องและเป็นการให้ความสำคัญตามยุทธศาสตร์ฮาลาลของประเทศไทยและของจังหวัดเชียงใหม่ด้วย

“การร่วมงานครั้งนี้จะเป็นช่องทางที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการในบ้านเรา ได้แสดงศักยภาพของสินค้าฮาลาลของจังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนืออย่างต่อเนื่อง เป็นการสร้างการรับรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับอุตสาหกรรมฮาลาล  และเราหวังว่าการขยายตลาดฮาลาลในบ้านเราจะเพิ่มยอดการส่งออกไปสู่นานาประเทศ อาจจะเริ่มจากตลาดในประเทศอาเซียนและหากเราประสบความสำเร็จตรงนี้ เราจะเข้มแข็งมากขึ้น เครือข่ายการค้ากว้างขึ้นก็ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะสามารถขยายตลาดต่อไปได้ถึงระดับโลก รวมถึงทางโซนตะวันออกลางและยุโรปด้วย เนื่องจากขณะนี้มีการขยายตัวของนักท่องเที่ยวมุสลิมเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง”ผู้ช่วยศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว

นางวิภาวัลย์ วรพุฒิพงศ์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ ยังกล่าวด้วยว่า ในปีนี้ได้เชิญผู้ซื้อจากประเทศจีนและพม่ามาทำบิสสิเนทแมชชิ่งด้วย โดยเฉพาะจากคุนหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน รวม 20 บริษัทซึ่งสนใจเรื่องของชาหมักกับผลไม้แปรรูป และจากมัณฑะเลย์ พม่าอีก 10 บริษัท.

 

You may also like

กลุ่ม Chiang Mai Pride จับมือร่วมกับ Asset World Corporation (AWC) และ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดงาน “Chiang Mai Colourful Pride Month 2024” เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ และเชื่อมโยงการท่องเที่ยว

จำนวนผู้