หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ จับมือสถานกงสุลใหญ่จีน ประจำจังหวัดเชียงใหม่จัดสัมมนา “1 แถบ 1 เส้นทางการค้า การลงทุนของไทยและจีนภาคเหนือ”

หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ จับมือสถานกงสุลใหญ่จีน ประจำจังหวัดเชียงใหม่จัดสัมมนา “1 แถบ 1 เส้นทางการค้า การลงทุนของไทยและจีนภาคเหนือ”

- in headline, อาเซียน +3, เศรษฐกิจ

หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ จับมือสถานกงสุลใหญ่จีน ประจำจังหวัดเชียงใหม่จัดสัมมนา “1 แถบ 1 เส้นทางการค้า การลงทุนของไทยและจีนภาคเหนือ” เชื่อจะได้รับประโยชน์จากการเชื่อมโยงทั้งคมนาคมขนส่ง ข้อมูลและดิจิทอลรวมถึงการพัฒนาเศรษฐกิจ  นโยบายรวมถึงประชาชนของสองประเทศ

เมื่อวันที่ 10 ก.พ.61 ที่ห้องอิมพีเรียลแกรนด์บอลรูม โรงแรมดิเอ็มเพรส นายเหริน ยี่เซิง กงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำเชียงใหม่ พร้อมด้วย นางวิภาวัลย์ วรพุฒิพงค์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่,นายชูชีพ พงษ์ไชย หัวหน้าสำนักงานจังหวัดเชียงใหม่,นางนวอร เดชสุวรรณ ผอ.อาวุโสธนาคารแห่งแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ,ผศ.ดร.ณพศิษฐ์ จักรพิทักษ์ คณบดี วิทยาลัยนานาชาติ นวัตกรรมและดิจิตอล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และนายกสมาคมธุรกิจไทย-จีน เชียงใหม่ ได้ร่วมเสวนาการค้าการลงทุนระหว่างจีนกับภาคเหนือ ซึ่งหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่และสถานกงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกันจัดขึ้น

นางวิภาวัลย์ วรพุฒิพงค์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ในส่วนของหอการค้าเชียงใหม่ ได้ดำรงบทบาทในการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจของสมาชิก ตลอดจนสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือ ตลอดระยะเวลา 40 ปี ที่ผ่านมา ทั้งในด้านการมีบทบาทชี้นำ และร่วมกำหนดนโยบายสาธารณะ รวมถึงจัดโครงการที่ส่งเสริมเศรษฐกิจ  การค้า การลงทุน  และสังคม มาอย่างต่อเนื่อง  โดยในสมัยที่ 21 พ.ศ. 2560-2561  ได้กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่าจะเป็น “องค์กรเข้มแข็ง สมาชิกยั่งยืน ฟื้นเศรษฐกิจเชียงใหม่สู่ยุคดิจิตอล”

ดังนั้นในการดำเนินกิจกรรมและภารกิจทุกด้าน จึงจะมุ่งที่จะให้เศรษฐกิจของเชียงใหม่ก้าวสู่นครแห่งชีวิตและความมั่งคั่ง ด้วยการส่งเสริมและผลักดันให้เกิดการปรับตัวและนำเอาระบบการค้าสมัยใหม่และดิจิตอลมาต่อยอดให้มากยิ่งขึ้น และการที่รัฐบาลของจีนได้กำหนดยุทธศาสตร์หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง และความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่โขง หอการค้าฯ เห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีความสำคัญอันดับต้น ๆ และใกล้ตัวและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

ยุทธศาสตร์หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง จีนได้ประกาศไว้ชัดเจนว่าภายในปี 2021 จีนจะครองสัดส่วนมากกว่า 30% ของ GDP ทั้งโลก ซึ่งโตเป็นสองเท่าของปัจจุบัน ก็จะเป็นยุทธศาสตร์ที่จะส่งผลกระทบกับไทยเรามากที่สุด เพราะจีนกำลังสร้าง economic platform ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ครอบคลุมประชากร 4.5 พันล้านคนใน 65 ประเทศของทวีปเอเชีย ยุโรป และ แอฟริกา  ผ่านกลไกของธนาคารการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank- AIIB) และกองทุนเส้นทางสายไหม (Silk Road Fund) 

ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวอีกว่า สิ่งที่หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ มองว่าประโยชน์ที่ภาคเหนือจะได้รับจากยุทธศาสตร์ นี้มี 5 ด้านคือ

1.) การเชื่อมโยงด้านการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ที่จะมีการเชื่อมโยงโครงข่ายรถไฟ รถไฟความเร็วสูง สนามบิน ตลอดจนการสนับสนุนด้านการเงินผ่าน ธนาคารการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank- AIIB) และกองทุนเส้นทางสายไหม (Silk Road Fund)

2.) การเชื่อมโยงด้านข้อมูลและดิจิตอล  ซึ่งจีนมีนโยบายด้าน Internal Plus และ Information Highway หรือทางด่วนข้อมูลข่าวสารที่สอดคล้องกับเราที่มุ่งสู่การเป็น Digital Economy และ Smart City

3.) การพัฒนาเศรษฐกิจด้านบุคลากร และนักธุรกิจ ซึ่งไทยและจีนมีเป้าหมายในการพัฒนาผู้ประกอบการ Start Up รวมถึงการสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจท้องถิ่น และการใช้ประโยชน์จากช่องทางการค้าใหม่ ๆ

4.) การเชื่อมโยงด้านนโยบาย ซึ่งหลายด้านไปในทิศทางเดียวกันไม่ว่าจะเป็นเรื่องการนำนวัตกรรมและดิจิทัลมาใช้ในการเพิ่มมูลค่าทางด้านเศรษฐกิจ และ

5.) การเชื่อมโยงระหว่างประชาชน ซึ่งประเด็นนี้สำคัญ เนื่องจากเชียงใหม่มีนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนมาในอัตราที่สูง ซึ่งจำเป็นที่จะต้องสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนเชิงวัฒนธรรม มิติทางสังคมร่วมกัน รวมถึงให้เกิดการแลกเปลี่ยนด้านการศึกษาด้วย

ขณะเดียวกัน กรอบความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่โขง ที่ถือว่าภาคเหนือตอนบนได้ใช้ประโยชน์จากการใช้แม่น้ำล้านช้าง แม่โขงในการขนส่ง ท่องเที่ยวเชื่อมกับจีนโดยตรง  ก็ชัดเจนว่าประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และจีนเห็นพ้องว่าควรจะทำให้อนุภูมิภาคนี้มีความทันสมัย ให้ความสำคัญกับนวัตกรรม มีความเป็นเลิศด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรมนุษย์ และลดช่องว่างทางการพัฒนาระหว่างกัน ซึ่งในอนาคตอันใกล้ก็จะได้ร่วมกันจัดทำแผนแม่บทด้านความเชื่อมโยงของกรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง ซึ่งจะช่วยให้อนุภูมิภาคเชื่อมโยงเข้ากับนโยบายหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทางของจีน หรือ BRI และเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน

“เมื่อวิเคราะห์ดูในเชิงภูมิรัฐศาสตร์แล้ว ภาคเหนือของเรามีความได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางทางบก เชื่อมโยงระหว่างเขตเศรษฐกิจสำคัญกับสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีเส้นทางตามแนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ หรือเส้นทาง R3A เป็นถนนสายเศรษฐกิจสำคัญ ตลอดจนการใช้แม่น้ำล้านช้าง แม่โขง ในทางเศรษฐกิจการท่องเที่ยว รวมถึงแนวโน้มการผลักดันให้เกิดการเปิดด่านการค้าชายแดนใหม่ๆ เพื่อเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และสปป. ลาว จึงเป็นโอกาสที่ก่อให้เกิดมูลค่าการค้าระหว่างกันเพิ่มมากขึ้นในอนาคต และสอดรับกับยุทธศาสตร์หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีน”นางวิภาวัลย์ กล่าวและว่า

สิ่งที่หอการค้าฯ กำลังขับเคลื่อนในการผลักดัน และดำเนินการหลักในห้วงที่ผ่านมาและอนาคต ที่สอดรับกับยุทธศาสตร์ของจีนได้แก่ การผลักดันให้เกิดการเชื่อมโยงด้านข้อมูลและดิจิตอล  ซึ่งหอการค้าฯ ได้ลงนามความร่วมมือกับ Alibaba.com ที่จะสร้างกรอบการพัฒนาสมาชิกหอการค้า และ SME ที่จะทำการค้าผ่านระบบอีคอมเมิร์ส์ ตลาดออนไลน์ การค้าระหว่างประเทศทำธุรกิจผ่าน Digital Platform ของ Alibaba.com ในลักษณะการค้าอีคอมเมิร์ซแบบธุรกิจต่อธุรกิจ (Business to Business) เพื่อสนับสนุนให้สามารถขยายผลิตภัณฑ์ไปสู่ตลาดโลกในยุคดิจิทัลได้อย่างมีศักยภาพ รวมถึงการจัดหลักสูตรอบรมในระดับ Mini MBA ภายใต้หลักสูตร Alibaba Dream Trip โดยมีระยะเวลาความร่วมมือ 2 ปี

โครงการต่อมา หอการค้าฯ ได้ร่วมกับศูนย์วิจัยและบริการวิชาการนานาชาติ วิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยดร.ณพศิษฐ์ จักรพิทักษ์ คณบดี และ ดร.ดนัยธัญ พงษ์พัชราธรเทพ รองคณบดีวิทยาลัยนานาชาติฯ คือโครงการ Cross Border E Commerce   โดยได้จัด “หลักสูตร E-Commerce เพื่อกลุ่มสินค้าเกษตร เกษตรแปรรูปและสินค้าฝีมือหัตถกรรมของไทยบุกตลาดประเทศจีน” ภายใต้โครงการ “การสร้างผู้ประกอบการ Startup Business กลุ่มผลไม้เศรษฐกิจสำคัญและสินค้าชุมชนคุณภาพสูงสู่ตลาดจีนและเมียนมาร์ ด้วยแนวทาง Smart Logistics ผ่านช่องทางตลาด E-Commerce”

หอการค้าฯ มองว่าขณะนี้นักธุรกิจของเราจะต้องปรับตัว  จากรูปแบบการค้า แบบดั้งเดิมไปสู่การค้าบนตลาดออนไลน์ หรือ Border Trade E-commerce ที่สามารถอาศัยรูปแบบการตลาดดิจิตอล เป็นช่องทางการค้าและสร้างความรับรู้ไปสู่ตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดประเทศจีนที่มีกำลังซื้อ และมีนักท่องเที่ยว เป็นจำนวนมากที่เข้ามาท่องเที่ยวและรู้จักสินค้าไทย และเมื่อเดินทางกลับไปแล้วก็ยังมีความต้องการซื้อสินค้าเหล่านั้นผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งจะทำให้เกิดกลยุทธ์แบบ O2O หรือ Online to Offline คือ การใช้อิทธิพลของสื่อออนไลน์ผลักดันให้เกิดยอดขายทางออฟไลน์ อันจะเกี่ยวข้องกับการวางแผนพัฒนายกระดับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ในการใช้ระบบสารสนเทศ สำหรับการจำหน่ายสินค้าสู่ตลาดต่างประเทศ การตรวจติดตามคุณภาพสินค้าตลอดกระบวนการ ใช้ระบบโลจิสติกส์แบบ Express เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ยุทธศาสตร์หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีนโดยตรง 

นอกจากนั้นยังสามารถตอบสนองต่อนักท่องเที่ยวจีนอีกด้วยที่ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวจีนเข้าไทยรวม 10 ล้านคน สร้างรายได้ทั่วประเทศกว่า 100,000 ล้านบาท ส่วนจังหวัดเชียงใหม่เองมีถึง 2 ล้านคน ปี เพราะนโยบายรัฐบาลจีนต้องการเชื่อมโยงประชาชนทั้งด้านท่องเที่ยว การศึกษา และเศรษฐกิจไปพร้อมกัน จะสังเกตได้จากมีการขยายเส้นทางบินตรงสู่เชียงใหม่เพิ่มขึ้น   และในปี 2561 หอการค้าฯ คาดการว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวจีนจะเดินทางมาท่องเที่ยวในเชียงใหม่เพิ่มขึ้นมากกว่า 2.2 ล้านคน

โดยสรุปแล้วเป้าหมายที่ชัดเจนของหอการค้าฯ ในสมัยนี้คือการเร่งกระบวนการ Branding เมืองเชียงใหม่สู่เมือง Marketplace ผ่าน Platform ดิจิตอล และการเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ เนื่องจากหอการค้าฯ เห็นว่าอนาคตการค้าจะไร้พรมแดนมากขึ้น และมีระบบเทคโนโลยีในรูปแบบ Smart City ที่จะเอื้อให้เชียงใหม่มีความพร้อมในการเป็นเมืองที่สร้างสรรค์และมุ่งสู่การเป็นพื้นที่ทางการตลาดได้

ประการที่สอง การเร่งรัดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของจังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือ เพื่อจะได้สอดคล้องกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านและจีน รวมถึงการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจในพื้นที่ซึ่งได้นำเสนอต่อ นายกรัฐมนตรีของไทยแล้วได้แก่

  • โครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ- เชียงใหม่
  • เร่งรัดการพัฒนาสนามบินนานาชาติเชียงใหม่
  • เร่งรัดแผนการก่อสร้างสนามบินแห่งใหม่
  • โครงการมอเตอร์เวย์เชียงใหม่-เชียงราย
  • โครงการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น

ประการที่สาม หอการค้าฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อรองรับกับเศรษฐกิจ และอยากให้เชียงใหม่ และภาคเหนือมีคนเก่ง คนดี มีความสามารถมาร่วมพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโต ดังนั้นหอการค้าฯ จึงเร่งสร้างนักธุรกิจรุ่นใหม่ โดยเฉพาะนักศึกษาที่เรียนอยู่หรือจบแล้วและพร้อมจะก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการ ภายใต้ 3 ห่วงโซ่ธุรกิจ (Value Chains) หลัก ซึ่งเป็นจุดแข็งของประเทศไทย ได้แก่ 1.การค้าและลงทุน 2.เกษตรและอาหาร และ 3.ท่องเที่ยวและบริการ  นอกจากเรื่องความรู้ และการนำนวัตกรรมมาใช้แล้ว คือเรื่องการสร้างพันธมิตร เครือข่าย และความร่วมมือ ซึ่งส่วนนี้คือหัวใจของการทำธุรกิจในยุค 4.0 ไม่ว่าจะเป็น Startup หรือ SME จำเป็นจะต้องสร้างเครือข่ายทางธุรกิจให้กว้างขวาง และแน่นอนการเชื่อมกับจีนเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอันดับต้น ๆ

ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่กล่าวด้วยว่า หอการค้าฯมองว่าจีนเป็นตลาดใหญ่ที่จะขยายอิทธิพลในเศรษฐกิจทั้งระบบ ซึ่งเราต้องมองโอกาสที่จะขยายตัวเองออกไปยังโครงข่าย One Belt One Road หรือหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง และกรอบความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง นี้ให้ได้  แม้ว่าไทยจะไม่ได้อยู่บนเส้นทางสายไหมโดยตรง แต่เราจะไม่ได้เป็นแค่ทางผ่าน ในทางกลับกัน ไทยอยู่ในทำเลที่เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียน และอยู่ในส่วนการขยายการค้าการลงทุนในกลุ่มอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายของจีนเช่นกัน

“เราต้องมองถึงโอกาส ที่จะขยายการส่งออก  เชื่อมต่อ หรือสร้างมูลค่าเพิ่มจากโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ของโลกภายใน 5 ปีนี้ได้อย่างไร  และที่สำคัญระยะเวลาที่ผ่านมาและปัจจุบันได้พิสูจน์แล้วว่าไทย และจีนคือพันธมิตรแท้ที่จะเดินหน้าและพัฒนาเศรษฐกิจไปร่วมกันสู่อนาคตต่อไป”นางวิภาวัลย์ กล่าวในที่สุด

ทางด้านนายเหริน ยี่ เซิน กงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า  การร่วมกันจัดงานสัมมนาในครั้งนี้ขึ้นมา เพื่อหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกคน จะเสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์ และพยายามอย่างต่อเนื่อง เพื่อขยายความร่วมมือจีนไทยในด้านต่างๆ  เช่นเศรษฐกิจและการค้า  วัฒนธรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริมความร่วมมือ เชิง ยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุมของทั้งสองประเทศ.

You may also like

บสย. จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา โครงการ “บสย. ร่วมใจ ทำดี เพื่อสังคม” ครั้งที่ 2 ร่วมซ่อมแซม ทาสี เครื่องเล่นเด็ก ปลูกต้นไม้ ณ สวนสมเด็จสราญราษฎร์มณีรมย์

จำนวนผู้