เปิดลานจอดรถ Negative carbon parking “U-Parking”ผลงานวิจัยลานจอดรถต้นแบบที่มีผิวพรุนและซึมน้ำ จาก ขยะพลาสติกและด่านชีวมวล

เปิดลานจอดรถ Negative carbon parking “U-Parking”ผลงานวิจัยลานจอดรถต้นแบบที่มีผิวพรุนและซึมน้ำ จาก ขยะพลาสติกและด่านชีวมวล

อธิการบดีมชเปิดสัมมนามช. มุ่งสู่ดวามเป็นกลางทางคาร์บอน” CMU towards Carbon Neutrality” เพื่อให้ทุกส่วนงานทราบนโยบายและนำองค์ความรู้ไปต่อยอดในการปฏิบัติ พร้อมเปิดลานจอดรถ Negative carbon parking “U-Parking”ผลงานวิจัยลานจอดรถต้นแบบที่มีผิวพรุนและซึมน้ำ จาก ขยะพลาสติกและด่านชีวมวลที่มีความเป็นลบทางคาร์บอนบนพื้นฐานเทคนิคการก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่ง แวดล้อม

เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ห้องทองกวาว ชั้น 2 สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศ.ดร.นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดงานสัมมนา ภายใต้ชื่อ “มช. มุ่งสู่ดวามเป็นกลางทางคาร์บอน” CMU towards Carbon Neutrality” โดยมี รองศาสตราจารย์ นายทศพล เพื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวแสดงความยินดีในความสำเร็จ โครงการนำร่องของมหาวิยาลัยเชียงใหม่ ด้านการจัดการ Climate Change  รศ. ประเสริฐ ฤกษ์เรียงไกร รองอธิการบดี และประธานขันเคลื่อนยุทธศาสตร์ A2 นำเสนอแผนนโยบาย การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านคาร์บอน

ดร.สิริชัย คุณภาพดีเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวรายงานว่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีนโยบายมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2575 และขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะที่ 13 (พ.ศ.2566-2570) โดยมุ่งผลัก ดันให้แต่ละส่วนงานมีการจัดทำฐานข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนั้น สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานครพิงค์ ซึ่งเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการบริหารจัดการโครงการ SODU

สำหรับการก้าวเข้าสู่ ความเป็นกลางทางคาร์บอนของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Carbon Neutral University) จึงได้ทําการ จัดสัมมนา ภายใต้ชื่องาน “มช.มุ่งสู่ความเป็น กลางทางคาร์บอน (CMU towards Carbon Neutrality)” เพื่อให้ทุกส่วนงานรับทราบถึงแผนนโยบายในการก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน และ สามารถนำองค์ความรู้ไปต่อยอดในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง อันจะนำไปสู่การบรรลุตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยได้ในที่สุด

นอกจากนั้น ในงานสัมมนาครั้งนี้ ได้จัดพิธีขอบคุณและมอบเกียรติบัตรแก่หน่วยงานนำร่อง “โครงการประเมิน คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรและขอรับรอง Carbon Neutrality พื้นที่การศึกษาแม่เหียะ และศูนย์การ ศึกษาหริภุญไชย” จํานวนทั้งสิ้น 11 หน่วยงาน ได้แก่ คณะเกษตรศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์  คณะอุตสาหกรรมเกษตร ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา ศูนย์สัตว์ทดลอง ศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ หอพักในกำกับแม่เหียะ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หริภุญไชย ศูนย์บริหารจัดการชีวมวลครบวงจร สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ โดยมี พื้นที่ การศึกษาแม่เหียะ และศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หริภุญไชย จ.ลำพูน เป็นสองหน่วยงาน นำร่อง จนทำให้ประสบผลสำเร็จ ได้รับการรับรองความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) โดยมีความมุ่งหวังที่จะให้ทุกส่วนงานใน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สามารถประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรได้ด้วยตนเอง และมุ่งสู่ ความเป็นกลางทางคาร์บอนของมหาวิทยาลัย (Carbon Neutral University) ให้ได้ 70% ในปี 2570 และ 100% ในปี 2575

อีกทั้ง ยังมีการรายงาน “ผลดำเนินการโครงการก่อสร้างลานจอดรถต้นแบบที่มีผิวพรุนและซึมน้ำ จาก ขยะพลาสติกและด่านชีวมวลที่มีความเป็นลบทางคาร์บอนบนพื้นฐานเทคนิคการก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่ง แวดล้อม” โดย รศ.ดร. พีรพงศ์ จิตเสงี่ยม ภาควิชาวิศวกรรมโยรา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ หัวหน้าทีมวิจัยในโครงการ Negative Carbon Parking & Road และตัวแทนจากทาง บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)

พร้อมพิธีเปิดลานจอดรถ Negative carbon parking “U-Parking” ณ ลานจอดรถ ด้านหน้า สำนักบริการวิชาการ (UNISERV) ซึ่งเป็นโครงการวิจัยพัฒนาถนนด้วยนวัตกรรมล้ำสมัย ได้ศึกษา การนำเศษวัสดุทางการเกษตร มาทำเป็นวัสดุ Carbon removal materials เป็นหนึ่งในส่วนผสม ของซีเมนต์เพื่อทำถนนคอนกรีตแบบใหม่และเทคนิคการลาดยางถนนแบบซับน้ำเพื่อนำน้ำไปใช้ประโยชน์ ไม่ขังบนถนน โดย ศ.ดร.นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ตั้งเป้านโยบาย Carbon Neutral University ซึ่งมีประธานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ A2 ได้แก่ ท่านรองอธิการบดี รศ.ประเสริฐ ฤกษ์เกรียงไกร โดยจะมีการนำร่องวิจัยพัฒนา “ลานจอดรถและถนนแบบ Low Carbon” ในพื้นที่ลาน การใช้ประโยชน์ร่วมระหว่าง สำนักบริการวิชาการ (UNISERV) และ สมาคมนักศึกษาเก่า มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ น์ และพัฒนาต่อไปในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป.

You may also like

บสย. รุกโมเดล “SMEs Digital Gateway” ปั้น 11 สาขาภูมิภาคสู่ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน

จำนวนผู้