31 เครือข่ายองค์กรชนเผ่า ร้องนายกฯ-กสม. ลงพื้นที่สอบวิสามัญฯแกนนำเยาวชนลาหู่

31 เครือข่ายองค์กรชนเผ่า ร้องนายกฯ-กสม. ลงพื้นที่สอบวิสามัญฯแกนนำเยาวชนลาหู่

- in headline, จับกระแสสังคม

เชียงใหม่ (21 มี.ค.60) / 31 เครือข่ายองค์กรชนเผ่า ร่วมลงนาม-ออกแถลงการณ์ ประณามทหารทำวิสามัญฆาตกรรมแกนนำเยาวชนชาวลาหู่ พร้อมเรียกร้องนายกฯ – กสม.เร่งลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง คืนความเป็นธรรมให้กับผู้เสียชีวิต ญาติ และเพื่อนที่ถูกจับกุมเมื่อเวลา 10.45 น. วันที่ 21 มี.ค. ที่ศูนย์ประสานงานเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (คชท.)  น.ส.วิไลลักษณ์  เยอเบาะ กองเลขาเครือข่ายเยาวชนต้นกล้าชนเผ่าพื้นเมือง, น.ส.เงิน ละวรรณ รองประธานเครือข่ายเยาชนต้นกล้าชนเผ่าพื้นเมือง, นายปณชัย จันตา ผู้ประสานงาน ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกับตัวแทนเครือข่ายองค์กรชนเผ่า จำนวน 31 องค์กร อ่านแถลงการณ์กรณีทหารวิสามัญฆาตกรรม นายชัยภูมิ ป่าแส นักกิจกรรมทางสังคม และประธานเครือข่ายจเยาวชนต้นกล้าชนเผ่าพื้นเมือง เมื่อวันที่ 17 มี.ค.60 ที่ผ่านมา

แถลงการณ์ ระบุว่า จากการที่ทหาร สังกัดกองร้อยทหารม้าที่ 2 บก.ควบคุมที่ 1 หน่วยเฉพาะกิจกรรมทหารม้าที่ 5 ที่ตั้งจุดตรวจค้นยาเสพติดบริเวณ ด่านตรวจบ้านรินหลวง ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ วิสามัญฆาตกรรม นายชัยภูมิ ป่าแส อายุ 17 ปี แกนนำเยาวชนชาวลาหู่ นักกิจกรรมทาง สังคม และประธานเครือข่ายเยาวชนต้นกล้าชนเผ่าพื้นเมือง เมื่อวันที่ 17 มี.ค.60 ที่ผ่านมา และได้จับกุมนายพงศ์นัย แสงตะล้า อายุ 19 ปี ไปด้วยนั้นเหตุการณ์ดังกล่าว สร้างความอาลัยและสะเทือนใจแก่เพื่อนนักกิจกรรมทางสังคม เครือข่ายเด็กและ เยาวชน ภาคีหน่วยงานรัฐ และองค์กรที่ทำงานปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากนายชัยภูมิเป็นเด็กเรียบร้อย ไม่ชอบความรุนแรง มีความเสียสละ ทุ่มเทเวลาส่วนตัวในการทำกิจกรรมเพื่อชุมชน ให้เด็กไร้สัญชาติได้มีโอกาสในสังคม และยังมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาศักยภาพของตัวเองจึงได้กลายเป็นแกนนำเยาวชน ทั้งยังเป็นศิลปินชาวลาหู่ เล่นดนตรีและแต่งเพลงที่ช่วยสะท้อนปัญหาเด็กไร้สัญชาติจนเป็นที่ยอมรับ ขณะที่นิสัยส่วนตัวก็เป็นคนอ่อนโยน รักเพื่อน พี่น้อง ชอบออกค่ายอาสา และมีผลงานในการทำหนังสั้นส่งประกวดและถูกเผยแพร่ ทางสื่อสาธารณะมากมาย นับเป็นเยาวชนที่เป็นแบบอย่างของชนเผ่าพื้นเมือง ที่มีความเสียสละเพื่อส่วนรวมอย่างแท้จริง

เหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่ทหารได้วิสามัญฆาตกรรมนายชัยภูมิ ป่าแส ซึ่งยังเป็นเยาวชนนั้น ถือว่าเป็น การกระทำเกินกว่าเหตุ โดยเฉพาะประเทศไทยมีกฎหมายคุ้มครองเด็ก เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 เป็นต้น ซึ่งได้กำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อคุ้มครองเด็กทั้งทางร่างกาย จิตใจ ชื่อเสียง หรือสิทธิ ประโยชน์อื่นของเด็ก ทางกลุ่มครือข่ายองค์กรชนเผ่า จำนวน 31 องค์กร จึงได้ร่วมลงนามออกแถลงการณ์เรียกร้อง 3 ข้อ คือ

1)ขอประณามการกระทำของที่เจ้าหน้าที่ทหารที่โหดร้ายป่าเถื่อนและไร้มนุษยธรรม 2) ขอเรียกร้องต่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะ “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ” ได้ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยเร่งด่วน 3) ขอให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องด้านความปลอดภัยในชีวิตของประชาชน มีมาตรการและกลไกในการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่อเหตุการณ์ และคืนความเป็นธรรมให้กับผู้เสียชีวิต ญาติผู้ตายและเพื่อนผู้ตายที่ถูกจับกุมคุมขังอยู่ในขณะนี้ อย่างเร่งด่วนทั้งนี้ ในส่วนของ 31 องค์กร ที่ร่วมลงนาม และออกแถลงการณ์  ประกอบด้วย เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (คชท.) เครือข่ายเยาวชนต้นกล้าชนเผ่าพื้นเมือง เครือข่ายสร้างสรรค์อนาคตเยาวชน (Sangsan)  เครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อความเท่าเทียมระหว่างเพศ (CSOs for Gender Equality) Rainbow dream group เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองภาคใต้ สภาชาติพันธุ์ชาวเล ชนเผ่ามอแกน มอแกลน อุรักลาโว้ย เครือข่ายสตรีชนเผ่าแห่งประเทศไทย เครือข่ายสื่อสร้างสรรค์ แม่ฮ่องสอน เครือข่ายไทใหญ่ ศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูนิเวศวัฒนธรรมชุมชนเทือกเขาเพชรบูรณ์ โครงการพัฒนาพื้นที่สูง (UHDP)มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ (ส่งเสริมโอกาสผู้หญิง) มูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม ศูนย์เพื่อนหญิงอำนาจเจริญ สมาคมผู้หญิงเพื่อสันติภาพ สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย เครือข่ายปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเผ่าพื้นเมือง มูลนิธิภูมิปัญญาชาติพันธุ์ เครือข่ายผู้หญิงใจอาสาเมือง ชมรมอาสาสมัครกฎหมายเพื่อผู้หญิง มูลนิธิพิทักษ์สตรีและเด็ก เครือข่ายพิทักษ์สิทธิมนุษยชนชาติพันธุ์ มูลนิธิภูมิปัญญาชาติพันธุ์ เครือข่ายการทางานด้านเด็กและเยาวชน 58 องค์กร สมาพันธ์เพื่อช่วยเหลือชาวมอญผู้ประสบภัยตามแนวชายเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เขตงานตะนาวศรี มูลนิธิภูมิปัญญาชนเผาพื้นเมืองบนพื้นที่สูง เครือขายสื่อชนเผาพื้นเมือง มูลนิธิชนเผาพื้นเมืองเพื่อการศึกษาและสิ่งแวดล้อม มูลนิธิพัฒนาความร่วมมือของชนเผ่าพื้นเมืองแห่งเอเชีย (AIPP Foundation)นายปณชัย จันตา ผู้ประสานงาน ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า ในเรื่องนี้เบื้องต้นจากการพูดคุยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเครือข่ายชาติพันธุ์และชนเผ่าต้องการที่จะขอดูการพิสูจน์หลักฐานของเจ้าหน้าที่ก่อนว่าเป็นอย่างไร และจะเรียกร้องตามกระบวนการยุติธรรมอย่างถึงที่สุด โดยขณะนี้ได้แต่งตั้งทนายความที่มีความเขี่ยวชาญและเคยทำงานร่วมกับชนเผ่าให้มาช่วยเหลือเกี่ยวกับคดี และจะดำเนินการให้ถึงที่สุด.

You may also like

อบจ.เชียงใหม่ระดม108หน่วยงาน “รวมใจเป็นหนึ่ง”ฟื้นฟูทำความสะอาดเมืองตั้งเป้าเสร็จภายในเดือนต.ค.นี้ขณะที่”ทักษิณ”ให้ 1 ล้านสนับสนุนกิจกรรม

จำนวนผู้