15 อปท.ใน ชม.จับมือเป็นเครือข่าย ขับเคลื่อนชุมชนท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม

15 อปท.ใน ชม.จับมือเป็นเครือข่าย ขับเคลื่อนชุมชนท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม

เชียงใหม่ /อปท. 15 แห่งจาก 7 อำเภอของเชียงใหม่ ลงนามเอ็มโอยูเป็นเครือข่าย ร่วมกันขับเคลื่อนชุมชนท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม มุ่งทำงาน 5 เรื่องสำคัญ ยาสูบและแอลกอฮอล์, โรคติดต่อ, ผู้สูงอายุ, เด็กปฐมวัย และการจัดการขยะ เน้นให้ทุกอปท.ใช้ข้อมูลชุมชนให้เป็นประโยชน์ แนะองค์กรในเครือข่ายต้องร่วมมือช่วยเหลือกัน สร้างความสุขให้กับชุมชนท้องถิ่นเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2563 ที่โรงแรมแทนเจอรีนวิลล์ ตำบลสันทราย อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ได้มีพิธีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภายใต้โครงการสร้างระบบบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนชุมชนท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม ซึ่งสนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิสสส. ผู้บริหารท้องถิ่น และผู้นำชุมชน เข้าร่วมกว่า 200 คนนายสมนึก เดชโพธิ์ ปลัดเทศบาลตำบลแม่ข่า ปฏิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรีตำบลแม่ข่า ในฐานะอปท.แม่ข่าย กล่าวว่า การทำพิธีบันทึกความเข้าใจ หรือ เอ็มโอยู ในครั้งนี้ คือการทำข้อตกลงร่วมกันตามแผนการดำเนินงานของโครงการสร้างระบบบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนชุมชนท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม ซึ่งมีอปท.เครือข่ายเข้าร่วมพิธีในครั้งนี้ 15 แห่ง จาก 7 อำเภอของจังหวัดเชียงใหม่ โดยเรื่องแรกที่อปท.แต่ละแห่งต้องทำ คือระบบฐานข้อมูลตำบล (TCNAP) และกระบวนการวิจัยชุมชน (RECAP) ส่วนประเด็นที่เครือข่ายต้องดำเนินการ คือ 5 เรื่องสำคัญในท้องถิ่น คือ ยาสูบและแอลกอฮอล์, โรคติดต่อ, ผู้สูงอายุ, เด็กปฐมวัย และการจัดการขยะนายสมนึก กล่าวต่อไปว่า หลังจากลงนามเอ็มโออยู่เสร็จเรียบร้อยแล้ว อปท.เครือข่าย 15 แห่ง จะต้องจัดเก็บข้อมูลชุมชนและทำการวิจัยชุมชนให้เสร็จสิ้นภายในเดือนมกราคม หลังจากนั้นจะเป็นการทำประเด็นเร่งด่วนที่ได้ทำการตกลงกันไว้ก่อนหน้านี้ คือเรื่องการจัดการขยะในชุมชน เพราะปัญหานี้ทุกท้องถิ่นต่างประสบปัญหาเหมือนกัน“ข้อมูลมีความสำคัญสำหรับท้องถิ่นมาก ถ้าหากเราทำงานไม่มีข้อมูล เราก็จะได้งานไม่ตรงกับสิ่งที่เราต้องการ เพราะข้อมูลต่างๆ ที่เราได้มา สามารถนำมาวิเคราะห์ เพื่อหาโอกาสที่เราจะพัฒนาต่อ หรือหากพบปัญหาเราก็จะหาทางแก้ไข ซึ่งกระบวนการนี้ เทศบาลตำบลแม่ข่า เราก็ทำมาตลอด” ปลัดเทศบาลตำบลแม่ข่า กล่าวด้าน น.ส.ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผู้ช่วยผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก 3) กล่าวถึงเทศบาลตำบลแม่ข่าว่า เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง ผู้นำชุมชนท้องถิ่นมีความสามารถ จึงต้องการให้พื้นที่อื่นมาเรียนรู้ เพราะถ้ามีผู้นำดี จะสามารถทำได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องยากหรือมีอุปสรรคเพียงใด ซึ่งการทำเอ็มโอยูในครั้งนี้ ท้องถิ่นทั้ง 15 แห่งจะตกลงกันทำ 5 เรื่องให้สำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแอลกอฮอล์ที่เกี่ยวเนื่องไปถึงการเกิดอุบัติเหตุ อย่างเขตตำบลแม่ข่า มีถนนใหญ่พาดผ่าน ก็ต้องทำให้สำเร็จน.ส.ดวงพร กล่าวด้วยว่า การสานพลังผู้นำให้เกิดเครือข่ายเชิงพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ที่อยู่ใกล้กันนั้นสำคัญอย่างมาก เช่น ช่วงเวลาที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 สมาชิกในเครือข่ายควรรวมตัวกันสร้างสรรค์นวัตกรรมการจัดการ เกิดความร่วมมือ ช่วยเหลือกัน ตำบลไหนมีประสบการณ์เรื่องอะไรก็จะเข้าไปดู ถือเป็นฐานพลังองค์กรช่วยชาวบ้านได้เป็นอย่างดี“แต่ทั้งนี้ท้องถิ่นต้องทำวิจัยชุมชน ค้นหาว่าใครคือคนดี คนเด่น คนสำคัญ หรือมีกลุ่มทางสังคมในหมู่บ้านในตำบลกี่กลุ่ม กลุ่มไหนมีศักยภาพสูงที่จะถ่ายทอด กลุ่มไหนที่ทำของตนเองได้ดี ก็ยกระดับให้มาถ่ายทอด ส่วนกลุ่มไหนที่ยังทำไม่ได้ดี ทางพื้นที่ก็ต้องช่วยกันพัฒนา คนที่เข้มแข็งกว่าจะช่วยคนที่อ่อนแอกว่า” ผู้ช่วยผู้จัดการสสส.กล่าว และเชื่อมั่นว่า อปท.ทั้ง 15 แห่งที่มาร่วมลงนามเอ็มโอยูในครั้งนี้ จะร่วมมือกันทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ และสร้างความสุขให้กับชุมชนท้องถิ่นต่อไป.

You may also like

กกท. จัดการแข่งขันกรีฑาระดับโลก “Golden Fly Series Qualifier Chiang Mai 2024 presented by SAT”หวังสร้างแรงบันดาลใจ พร้อมกระตุ้นท่องเที่ยวและเศรษฐกิจท้องถิ่น

จำนวนผู้