แม่ทัพน้อยที่ 3 ยอมรับแม้สถานการณ์ไฟป่าหมอกควันมีแนวโน้มดีขึ้นแต่ยังไม่สามารถทำให้หมดไปอย่างยั่งยืนได้

แม่ทัพน้อยที่ 3 ยอมรับแม้สถานการณ์ไฟป่าหมอกควันมีแนวโน้มดีขึ้นแต่ยังไม่สามารถทำให้หมดไปอย่างยั่งยืนได้

แม่ทัพน้อยที่ 3 หวังบูรณาการการทำงานร่วมกับ 9 จังหวัดภาคเหนือ ป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ปี 2562 ยอมรับปีที่ผ่านมาแม้แนวโน้มดีขึ้น แต่ยังไม่สามารถทำให้หมดไปอย่างยั่งยืนได้

วันที่ 20 ธ.ค.61 ที่ห้องประชุมระวังเมือง พล.ร.7 อ.แม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พล.ท.สุภโชค   ธวัชพีระชัย แม่ทัพน้อยที่ 3 เป็นประธานการประชุมแถลงแผนการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ระดับภาค ส่วนหน้า ปีงบประมาณ  2562 โดยมีนายคมสัน   สุวรรณอัมพา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ลำปาง น่านและจังหวัดลำพูน พร้อมผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด 9 จังหวัดเข้าร่วม สำหรับการประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทุกภาคส่วนรับทราบสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควัน ในพื้นที่ภาคเหนือและการเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการดำเนินการตามแผนการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ระดับภาค ส่วนหน้า ปี 2562 เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้

แม่ทัพน้อยที่ 3 กล่าวว่า ปัจจุบันศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันระดับภาคส่วนหน้า ได้สั่งการให้ชุดรณรงค์ฯลงพื้นที่ปฏิบัติงานร่วมกับชุดดำรงธรรมเคลื่อนที่ระดับอำเภอให้ความรู้ ความเข้าใจกับประชาชนในชุมชนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าและหมอกควัน เพื่อขอความร่วมมือกับประชาชนให้งดการเผาป่า เผาเศษวัชพืช เผาขยะในพื้นที่ของตนเอง ทั้งนี้ขอให้ทุกหน่วยงานบูรณาการปฏิบัติงานร่วมกันทั้งด้านแผนงาน กำลังพลและเครื่องมือเพื่อให้การดำเนินงานมีความสอดคล้องกัน  ตั้งเป้าลดการเกิดไฟป่าและหมอกควันให้ได้มากที่สุด อันเป็นการสนองพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 และนโยบายของรัฐบาล

สำหรับการดำเนินงานนั้น ขอให้ใช้กลไกประชารัฐ โดยทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เน้นผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน และ นายอำเภอเป็นแกนนำหลัก ขับเคลื่อนในการแก้ไขปัญหา และจังหวัดกำกับดูแลและบูรณาการในการช่วยเหลือให้ดำเนินการอย่างได้ผล โดยหน่วยทหารในพื้นที่ต้องสนับสนุนการปฏิบัติเมื่อได้รับการประสาน และมุ่งเน้นมาตรการป้องกัน  ได้แก่          การรณรงค์สร้างจิตสำนึก และใช้การประชาสัมพันธ์ด้วยสื่อทุกชนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานีวิทยุในเครือข่าย และหอกระจายเสียงประจำหมู่บ้านโดยผลลัพธ์ที่ต้องการ คือ พื้นที่การเผาป่าลดน้อยลง ปัญหาหมอกควันลดระดับความรุนแรงลงจนไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน และเศรษฐกิจ

ทั้งนี้ สถานการณ์ของไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ ประจำปีงบประมาณ 2561 ที่ผ่านมา ยังคงส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และการดำเนินชีวิตของประชาชนในพื้นที่ต่อเนื่องมาจากปีที่ผ่านมา ซึ่งในปี 2561     ศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันระดับภาค ส่วนหน้า และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัด ได้ร่วมมือกันเป็นอย่างดีในทุกๆ ด้าน ในการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ในปีนี้ทำให้สถานการณ์การเกิดไฟป่าและหมอกควันมีแนวโน้มดีขึ้น แต่ยังไม่สามารถทำให้หมดไปอย่างยั่งยืนได้ ซึ่งสาเหตุ   และปัจจัยที่ทำให้เกิดไฟป่าและหมอกควันที่สำคัญ ได้แก่สภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้ง ซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดไฟป่าได้ง่าย  การเผาป่า เพื่อหาของป่าและล่าสัตว์ การเผาทำลายเศษวัชพืชที่เหลือจากการปลูกพืช เพื่อเตรียมที่ดินในการทำเกษตรกรรมและการเกิดไฟป่าและหมอกควันข้ามแดนมาจากประเทศเพื่อนบ้าน.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

– 4 –

 

ข้อมูลเปรียบเทียบของปี ๒๕๖๐ กับ ปี ๒๕๖๑

๑. การเกิดจุดความร้อน (Hotspots  ห้วง ๑ ม.ค.-๓๐ เม.ย.๖๐) ในปี ๒๕๖๐ มีจำนวน ๕,๒๐๐ จุด แต่ในปี ๒๕๖๑ มีจำนวน ๔,๖๔๕ จุด ซึ่งเกิดน้อยกว่าปี ๒๕๖๐ จำนวน ๕๕๕ จุด คิดเป็น ๑๐.๖๗ % กรณีที่มีการเกิดความร้อน (Hotspots)          ต่อวันของปี ๒๕๖๑ ที่เกิดขึ้นมากที่สุด คือวันที่ ๑๒ เม.ย.๖๑ ในท้องที่ จว.ต.ก. คือ จำนวน ๓๖๓ จุด โดยเฉพาะ อ.ท่าสองยาง จำนวน ๒๐๕ จุด และ อ.แม่ระมาด จำนวน  ๑๐๐ จุด นั้น จว.ต.ก. โดย ทสจ.ต.ก. ได้ขอรับการสนับสนุนเจ้าหน้าที่จาก         สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศสารสนเทศ (Gistda) มาตรวจพิสูจน์พื้นที่ที่ตรวจพบจุด ความร้อนจำนวนมาก เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลให้แน่ชัดซึ่งสรุปได้ว่า จากการวิเคราะห์ข้อมูลของดาวเทียม ระบบ MODIS ที่แสดงจุดความร้อนทั้งหมด ๓๖๓ จุด นั้น         พบข้อมูลการเผาเป็นพื้นที่ จำนวน ๑๔๖ พื้นที่

You may also like

บสย. รุกโมเดล “SMEs Digital Gateway” ปั้น 11 สาขาภูมิภาคสู่ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน

จำนวนผู้