เริ่มแล้วกับงานเทศกาลคราฟท์ บลูมส์ 2021 (Crafts Blooms Festival 2021) แบบ New Normal ระหว่างวันที่ 18-22 สิงหาคม 2564

เริ่มแล้วกับงานเทศกาลคราฟท์ บลูมส์ 2021 (Crafts Blooms Festival 2021) แบบ New Normal ระหว่างวันที่ 18-22 สิงหาคม 2564

เริ่มแล้วกับงานเทศกาลคราฟท์ บลูมส์ 2021 (Crafts Blooms Festival 2021) แบบ New Normal ระหว่างวันที่ 18-22 สิงหาคม 2564 สสปน. เป็นกลไกเชื่อมร้อยทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิดจุดขายใหม่ กระตุ้นการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจจากระดับชุมชนสู่นานาชาติ ด้วยอัตลักษณ์ ศิลปวัฒนธรรม และวิถีชีวิตอันงดงามของเชียงใหม่ ผ่านกิจกรรมหลากหลายให้คนทั่วสารทิศรับชมและมีส่วนร่วมทาง Facebook live ได้ที่ Plus Blooms Festival page

เมื่อวันที่ 18 ส.ค. 2564  นางจุฑา ธาราไชย ผู้อำนวยการ สำนักส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ ภาคเหนือ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) และ นายอัศนี บูรณุปกรณ์  นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ ได้ร่วมกันเปิดงาน เทศกาลคราฟท์ บลูมส์ 2021 ผ่านระบบ zoom จากกรุงเทพมหานคร มายังสถานที่ Weave Gallery (Weave Artisan Society) ซึ่งเป็นสถานที่เปิดงานที่จังหวัดเชียงใหม่ที่โดยมีผู้เข้าร่วมงานและเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจงานคราฟท์ เข้าร่วมงานด้วยการรับชมกิจกรรมผ่านทางช่องทางออนไลน์

สำหรับกิจกรรมเทศกาลคราฟท์ บลูมส์ 2021 เป็นเทศกาลที่รวบรวมคนทำงานคราฟท์ทุกประเภทและเครือข่าย มาร่วมรังสรรค์บรรยากาศงานคราฟท์ให้มีสีสันมากกว่าที่เคย โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 – 22 สิงหาคม 2564 เวลา 12.00 – 18.00 น. ทั้งนี้มีกิจกรรมหลากหลาย ทั้ง เวิร์คช็อป เสวนา ดนตรี และการแนะนำสินค้า โดยรับชมการถ่ายทอดสดผ่าน Facebook live ได้ที่ Plus Blooms Festival page : www.facebook.com/PlusBlooms ซึ่งมีกิจกรรมที่จะสร้างความเชื่อมโยงของชุมชนผ่านการรวมตัวของศิลปิน ผู้ผลิตงานหัตถกรรม พ่อครูแม่ครูภูมิปัญญาล้านนาในภาคเหนือ เครือข่ายชุมชนและย่านสร้างสรรค์ ตลอดจนเครือข่ายสถาบันการศึกษา รวมถึงหน่วยงานต่างๆ มาร่วมกิจกรรม สร้างทางเลือกอาชีพ ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นและทักษะงานฝีมือให้สมฐานะเชียงใหม่เมืองหัตถกรรมสร้างสรรค์ แห่งองค์การยูเนสโก

โดย สสปน. จะเป็นกลไกในการเชื่อมร้อยทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิดจุดขายใหม่ กระตุ้นการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจจากระดับชุมชนสู่นานาชาติ ด้วยอัตลักษณ์ ศิลปวัฒนธรรม และวิถีชีวิตอันงดงามของเชียงใหม่ ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้ การนำเสนอร้านค้าจากเครือข่ายเทศกาลคราฟท์กว่า 80 ร้านที่ https://www.plusblooms.com, 15 Workshop งานคราฟท์หลากหลาย (รับจำนวนจำกัด ไม่เกิน 5 ท่าน/Workshop และต้องลงทะเบียนล่วงหน้า),การทำผ้าอุ๊ก OUKE by Bua Bhat, Macramé Feathers โดย Mae Macrame Decor, ถักทอผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือทิ้ง โดย ทาทุ่งหลวง คร้าบบบ, ร้อยพันแสนร้าน โดย DUDEE4ME, เข็มกลัดจากฝ้ายทอ โดย Hobbyist & CO, การทำผ้ามัดย้อม โดย Studio Naenna, พวงปลาตกแต่งกระเป๋า โดย ฝ้ายคำปัน, สาธิตวิธีการประกอบเฟอร์นิเจอร์ไม้ลำไยที่ใช้ระบบเดือยไม้ โดย Live Furniture, พวงตกแต่งกระเป๋า candy doll โดย Tootoodoll x Littlebithome, Mini Pocket Workshop โดย Laycrafted Studio, เพ้นท์จานเซรามิก โดย Naru ceramic, DIY ผ้าเคลือบไขผึ้ง ใช้แทนพลาสติก โดย All Care Living, ปั้นดินจานใบไม้ โดย Pop Crafts, และเครื่องประดับจากเศษฝ้าย โดย Cotton Farm

นอกจากนี้ยังมีการจัด เสวนาใน 5 หัวข้อ เวลา 15.00 – 16.00 น. ดังนี้ วันที่ 18 ส.ค. 2564 หัวข้อ The Taste of Craft, The Taste of the City วิทยากรประกอบด้วย ลี อายุ จือปา (อาข่า อาม่า), พิมพ์ชนก ดวงศรี (Khom Chocolatier House), ฤทธิไกร พรหมเดช (Impresso Espresso Bar,วันที่ 19 ส.ค. 2564 หัวข้อ City of Craft and Folk Art วิทยากรประกอบด้วย เนืองนิตย์  ชัยภูมิ (สุโขทัยเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์), ปวินท์ ระมิงค์วงศ์ (อาจารย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา), รศ.ดร.วรลัญจ์ บุญยสุรัตน์ (ผอ. สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่), อิ่มหทัย กันจินะ (สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เชียงใหม่)

วันที่ 20 ส.ค. 2564 เสวนาหัวข้อ Go wide, Go online โดยวิทยากร ศรีมาฆะ สุดทางธรรม (Cottonopolis), ณัฐวัฒน์ ตันตยานุสรณ์ (Jo’s Banoffi), ปิยะภรณ์ ธรรมปัญญา (Kinlum Kindee), ดุษฎีพันธุ์ พจี (กาดสันคะยอม),วันที่ 21 ส.ค. 2564 หัวข้อ Creative District วิทยากร เสาวคนธ์ ศรีบุญเรือง (เครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่), สมภพ ยี่จอหอ (Doister), รศ.ดร.สันต์ สุวัจฉราภินันท์ (อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) วันที่ 22 ส.ค. 2564 หัวข้อ Craft Local to Global วิทยากรมรกต ยศธำรงค์ (ที่ปรึกษา NOHMEX และเจ้าของแบรนด์อาร์สดีไซน์ ARS D-SINE), เปรมฤดี กุลสุ (ที่ปรึกษา NOHMEX และเจ้าของแบรนด์ Cotton Farm, อภิเชษฐ์ ไชยพูน และ คุณพิมพ์รัตน์ ราษฎรินทร์ (กลุ่มวิสาหกิจชุมชนพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเมล็ดโกโก้ จังหวัดลําพูน)

นอกจากนั้นยังมี นิทรรศการเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวและกิจกรรมสร้างสรรค์ 5 เส้นทาง ซึ่งประกอบด้วยเส้นทางประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ (รอบคูเมืองเชียงใหม่), เส้นทางชุมชนสุเทพสร้างสรรค์, เส้นทางชุมชนสันกำแพงสร้างสรรค์ (ชุมชนโหล่งฮิมคาว), เส้นทางหัตถกรรมวัวลาย และเส้นทางออร์แกนิคกูร์เมต์ทัวร์ (บ้านวสุนธารา ลุงวิลาศ), กิจกรรมแนะนำร้านค้า สินค้างานคราฟท์จากผู้ผลิตและโปรโมชั่นต่างๆ และ กิจกรรมอื่นๆ เช่น นิทรรศการเชิดชูผลงานศิลปินเอก Lanna Wisdom Masterpiece, เซียมซีดอกไม้, Flower Kinetic Installation และดนตรี 15 วง

ทั้งนี้ สสปน. มีความตั้งใจ ในการส่งเสริมเศรษฐกิจ สร้างแรงจูงใจในการเลือกจังหวัดเชียงใหม่ให้เป็นจุดหมายของการจัดงานประชุมและนิทรรศการ การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล และการจัดกิจกรรมองค์กรต่าง ๆ ดึงดูดนักท่องเที่ยวและนักเดินทางธุรกิจ จึงได้ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดเทศกาลคราฟท์ บลูมส์ 2021 (Crafts Blooms Festival 2021)  ที่จะเป็นเทศกาลท้องถิ่น ให้เป็นเทศกาลในระดับประเทศและระดับนานาชาติต่อไป.

You may also like

บสย. รุกโมเดล “SMEs Digital Gateway” ปั้น 11 สาขาภูมิภาคสู่ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน

จำนวนผู้