เปิดโรงงานจาร์ทิซานน์  ผู้ผลิตชีสสัญชาติไทย100% เพื่อประกาศก้องให้ทั่วโลกรู้ว่าไทยก็สามารถเป็นแหล่งผลิตชีสระดับโลกได้

เปิดโรงงานจาร์ทิซานน์  ผู้ผลิตชีสสัญชาติไทย100% เพื่อประกาศก้องให้ทั่วโลกรู้ว่าไทยก็สามารถเป็นแหล่งผลิตชีสระดับโลกได้

เปิดโรงงานจาร์ทิซานน์  ผู้ผลิตชีสสัญชาติไทย100% รองรับการผลิตที่ใช้ปริมาณนมโคถึง 2ตันต่อเดือน ธุรกิจที่เติบโตช่วงโควิด เริ่มก่อตั้งเมื่อปี2563 ที่จังหวัดเชียงใหม่ จุดเด่นของจาร์ทิซานน์คือการประยุกต์ภฺูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีมาสร้างสรรค์ชีสหลากหลายชนิด เพื่อประกาศก้องให้ทั่วโลกรู้ว่าไทยก็สามารถเป็นแหล่งผลิตชีสระดับโลกได้

เมื่อเย็นวันที่ 23 ม.ค.67 หม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคล  เป็นองค์ประธานเปิดโรงงานจาร์ทิซานน์  ของบริษัทจาร์ทิซานน์จำกัด  ผู้ผลิตชีสสัญชาติไทย100% เริ่มก่อตั้งเมื่อปี2563 ที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้นมในท้องถิ่นมาผลิตเป็นหลัก

นายจารุทัศน์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้บริหารบริษัทจาร์ทิซานน์ จำกัด กล่าวว่า จาร์ทิซานน์คือการประยุกต์ภฺูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีมาสร้างสรรค์ชีสหลากหลายชนิด และในวันนี้ ถือเป็นความสำเร็จ ที่ตนได้สร้างความฝันที่ยากเย็นและยุ่งยาก ให้กลายเป็นความจริง  เป็นความฝันที่เลือกที่จะท้าทายความสามารถของคนไทยและของตัวเอง ให้ทั้งคิดและทำออกนอกกรอบ โดยการสร้างมโนภาพ  ใช้อิทธิบาท 4   เพียรพยายามและมุ่งมั่นที่จะทำให้มโนภาพนั้น เกิดขึ้นมาเป็นสิ่งจับต้องได้ อย่างที่ประเทศไทยเราไม่เคยเห็นมาก่อน

“การทำชีสในเมืองไทย ก็ว่าเป็นเรื่องยากแล้ว เพราะไหนจะคนไทยไม่ได้คุ้นชินกับชีส การสร้างโรงผลิตชีสที่มีคุณภาพเทียบเท่ากับต่างชาติ  ด้วยน้ำมือและมันสมองของคนไทยเองที่จะรังสรรค์ปั้นแต่งขึ้นมา ก็เป็นเรื่องที่ยาก ’มาก’ ไม่ได้แพ้กัน  เพราะทั้งสองสิ่งนี้ ประเทศไทยเราขาดครูผู้สอน ขาดที่ปรึกษา หรือผู้มากประสบการณ์ ที่จะคอยให้คำแนะนำที่ถูกต้อง แต่เป็นความพยายามของเราคนไทย ที่เลือก ที่จะต้องอดทนต่อความยากลำบากในการค่อยๆ เรียนรู้ด้วยตนเอง จากการลองผิดลองถูก จากการช่างสังเกตุ จากการมองดูต้นแบบจากแดนไกลเพียงผ่านสื่อโดยไม่ได้ไปจับต้องของจริง แล้วมาถอดรหัส และจากการทำสมาธิเพื่อพวกเราให้ตกผลึก จนเราเกิดความเข้าใจในระบบที่กำลังจะเกิดขึ้น จนการออกแบบที่สามารถปะติดปะต่อการทำงานของระบบต่างๆ ให้เข้ากันได้นั่นเอง” ผู้บริหารบริษัทจาร์ทิซานน์ จำกัด กล่าวและว่า

ตอนที่คิดจะเริ่มสร้างโรงผลิตชีสแห่งนี้ในกลางปี 2564 ผมรู้ตัวในตอนนั้น ว่าผมคงต้องเป็นผู้ออกแบบ Layout ของอาคารเอง  เพราะมันจะเป็นการออกแบบที่ยากมากให้ลงตัว เนื่องจากต้องเต็มไปด้วย Function ต่างๆ ที่จำเป็นตามกระบวนการผลิตชีสจากต้นจบ ที่มีเพียงเราเท่านั้นที่จะรู้ และก็ต้องให้ถูกต้องตามหลักมาตรฐานอาหาร และยังอาศัยหลักวิชา ฮวงจุ้ยที่ทางซินแส ณภัทร ดุษฎีรักษ์ คอยให้คำแนะนำ  แต่มีพื้นที่จำกัดเพียงประมาณเศษ 1 ส่วน 10 ของพื้นที่บ้าน และ บนคือ Footprint เพียงที่ถือว่าเล็กมาก แต่ก่อนที่จะส่งแบบ 3 มิติต่อให้บริษัท Full Scale Studio บริษัทออกแบบสถาปัตยกรรมเจ้าประจำ ของคุณอรรถสิทธิ์ กองมงคล ไปช่วยจบแบบด้านรูปลักษณ์ภายนอกให้สวยสดงดงาม ตามมโนภาพของสถาปนึกคือเจ้าของ และสถาปนิกตัวจริง คือคุณอรรถ รวมๆ กัน  รวมถึงทำแบบก่อสร้างให้ออกมาให้สำเร็จด้วย  อย่างไรก็ดี คุณอรรถสิทธิ์ก็ได้ทำใจไว้แล้ว ว่าสถาปนึก ก็จะมาดัดแปลงแบบออกไปอีก เปรียบดั่งนักดนตรี jazz ในวงเดียวกัน ที่แต่ละท่านก็จะมี ท่อน solo คนละท่อน เพื่อให้เพลงมีความลงตัวและหลากหลาย

“ด้วยความที่เราไม่มั่นใจว่าเราจะหาผู้รับเหมาได้หรือไม่ เนื่องจากงานนี้ จะเป็นงานที่สลับซับซ้อน และมีระบบแปลกๆ ใหม่ๆ ที่จะเข้ามา  ทางพวกเราจึงเลือกที่จะเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างเอง โดยปราศจาคผู้รับเหมาก่อสร้าง ต้องจัดคิวช่างก่อสร้างทุกประเภทเข้ามา ตามลำดับ  แต่ต้องมีคู่หูรุ่นพี่ ผู้มากมายความสามารถ คือช่วยกันคิด ช่วยกันออกแบบและทำ คือคุณป๋วย อัครภาคย์ ผู้ที่เป็นทั้ง designer / วิศวะกร / สถาปนิก / model maker / visionary ในคนเดียวกัน เข้ามาช่วยเป็นแรงให้อีกท่าน เป็นบุคคลที่เข้าใจงานออกแบบ งานก่อสร้าง งานเขียนแบบทั้ง 2 มิติและ 3 มิติ ได้ตั้งแต่ระดับมหาภาค ยันระดับน็อตตัวเล็กๆ แถมยังมีความบ้าที่จะท้าทายอะไรแปลกๆใหม่ๆ ได้ไม่แพ้กัน จึงทำให้งานทั้งฝั่งระบบ ฝั่งเครื่องจักร ฝั่งอาคาร ช่วยกันสำเร็จได้อย่างที่เห็น เพราะคุณป๋วย มาเป็นผู้ช่วยกันค้ำโปรเจ็คของพวกเราให้เกิดขึ้น  พวกเราสนุกกันมาก กับการได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์กันตลอดเวลา”นายจารุทัศน์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา กล่าวและชี้แจงอีกว่า

สำหรับโรงงานจาร์ทิซานน์แห่งนี้กำลังการผลิตทำได้เต็มที่คือผลผลิตนมสดวันละ 2 ตันซึ่งก็จะได้ชีส 200 กิโลกรัม โดยจะเพิ่มโรงงานบ่มชีสที่ทางไปอำเภอแม่ริมด้วยอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งที่นั่นก็จะเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวด้วย ส่วนลูกค้าของจาร์ทิซานน์ก็จะเป็นโรงแรม 5 ดาวทั่วประเทศ ร้านอาหารและซุปเปอร์มาร์เก็ต ห้างค้าส่งค้าปลีก ที่เหลือก็จะเป็นผู้บริโภคทั่วไป โดยสัดส่วนจะเป็นคนไทยถึงร้อยละ 65 และต่างชาติร้อยละ 35 เพราะว่าเดี๋ยวนี้คนไทยชอบทานชีสกันมากขึ้น

“อย่างที่บอกผมเริ่มธุรกิจในช่วงโควิดคือปี 2020 ซึ่งเริ่มจากการทำชีสที่หลังบ้านและก็เริ่มส่งเข้าโรงแรมจนกระทั่งมาสร้างโรงงาน ชีสตัวเด่นๆของเรามีหลายชนิด ที่ชื่นชอบกันมากคือสันผักหวานบุรี สยามดิสบูล ชีส 3 พี่น้อง หางดงฟอเรสเทล ชอฟท์ชีสก็ผลิตด้วยเช่นกัน รวมไปถึงชีสจากนมแพะ ซึ่งธุรกิจของเราเติบโตในช่วงโควิดจริงๆ จากที่เริ่มต้นผลิตใช้นมวันละประมาณ 80-120 กิโลกรัม ทุกวันนี้อยู่ที่ประมาณวันละ 600 กิโลกรัม และหากเดินเครื่องจักรแล้วก็สามารถที่จะผลิตได้ถึงวันละ 1 ตัน”นายจารุทัศน์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา กล่าวชี้แจง.

 

You may also like

บสย. รุกโมเดล “SMEs Digital Gateway” ปั้น 11 สาขาภูมิภาคสู่ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน

จำนวนผู้