เปิดตัวโครงการLanna Digital Economy for SMEsวาดฝัน 5 ปีสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท

เปิดตัวโครงการLanna Digital Economy for SMEsวาดฝัน 5 ปีสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท

เปิดตัวโครงการสร้างและพัฒนานักธุรกิจรุ่นใหม่ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย เชื่อมโยงระบบดิจิทัล  มุ่งเป้าผลักดันและสร้างนักธุรกิจให้มีอาวุธสู่การเป็นนักรบเศรษฐกิจใหม่ คาดภายใน 5 ปีสามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ไม่ต่ำกว่า 1 พันล้านบาท

ที่โรงแรมแชงกรีล่าเชียงใหม่ นางแน่งน้อย เวทยพงษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วยนายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1, นางวิภาวัลย์ วรพุฒิพงค์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ ,นายวีรยุทธ สุขวัฑฒโก ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคเหนือและ ผศ.ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ ที่ปรึกษาโครงการ Lanna Digital Economy for SMEs ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ร่วมกันเปิดตัว “โครงการสร้างและพัฒนานักธุรกิจรุ่นใหม่ในอุตสาหกรรมเป้าหมายเชื่อมโยงระบบดิจิทัล” (Lanna Digital Economy for SMEs) ภายใต้กิจกรรมสร้างและพัฒนานักธุรกิจรุ่นใหม่สู่การเป็น Smart SMEs โดยใช้แนวคิด “Be Startup Be Smart with DIP”

สำหรับโครงการสร้างและพัฒนานักธุรกิจรุ่นใหม่ ในอุตสาหกรรมเป้าหมายเชื่อมโยงระบบดิจิทัล (Lanna Digital Economy for SMEs) ภายใต้กิจกรรมสร้างและพัฒนานักธุรกิจรุ่นใหม่สู่การเป็น Smart SMEs เป็นความร่วมมือครั้งสำคัญตามยุทธศาสตร์กลไกประชารัฐ ซึ่งนำการสานพลังความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐบาล ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และภาคประชาชน ในพื้นที่มาผนึกกำลังผสานการทำงานร่วมกัน นำโดยกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1, ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 พร้อมพันธมิตรการทำงานทั้งอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่, สภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งสร้างความเชื่อมั่นและสะท้อนความเข้มแข็งของโครงการฯ ได้เป็นอย่างดี

นายภาสกร ชัยรัตน์ ผอ.ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กล่าวว่า โครงการสร้างและพัฒนานักธุรกิจรุ่นใหม่ ในอุตสาหกรรมเป้าหมายเชื่อมโยงระบบดิจิทัล (Lanna Digital Economy for SMEs)เป็น 1 ใน 3 กิจกรรมที่จัดขึ้นภายใต้กิจกรรมสร้างและพัฒนานักธุรกิจรุ่นใหม่สู่การเป็น Smart SMEs โดยการสร้าง Inspiration 500 ราย ที่จุดประกายจากการเข้าร่วมงานเปิดตัวโครงการต่อด้วยการสร้างความเข้มข้น 200 ราย ผ่านกิจกรรม Triple F การค้นหาตัวตนคน Startup นำไปสู่การปั้นนักรบธุรกิจนวัตกรรมในยุคดิจิทัล 50 รายผ่านกิจกรรม Kick off in 5 week:Shine like a stars ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิพิเศษในการเข้าร่วมโครงการประชารัฐ การได้ Priority ในการขอรับการสนับสนุนงบประมาณ การสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ตลอดจนการได้รับโอกาสทางการตลาดจากการเข้าร่วมงานที่จัดโดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเป็นต้น

“เรามุ่งหวังที่จะให้เกิดการสร้างนักธุรกิจใหม่ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้มีความรู้ ความเข้าใจ เพิ่มทักษะและขีดความสามารถการแข่งขันในการดำเนินธุรกิจ โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการออกแบบการผลิตและการตลาด ผ่านการเชื่อมโยงกับระบบดิจิทัลเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาด ตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภค โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกลุ่มอุตสาหกรรม S-Curve ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีศักยภาพยกระดับสู่อุตสาหกรรมเป้าหมาย นักศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจดิจิทัลและผู้สนใจในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 รวมทั้งสอดคล้องและตอบสนองนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศในยุคไทยแลนด์ 4.0 ด้วย

ด้านนางวิภาวัลย์ วรพุฒิพงค์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า โครงการสร้างและพัฒนานักธุรกิจรุ่นใหม่ทางหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่สนับสนุนเต็มที่ โดยเฉาพะในอุตสาหกรรมเป้าหมายเชื่อมโยงระบบดิจิทัล ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการออกแบบ การผลิตและการตลาด ผ่านการเชื่อมโยงกับระบบดิจิทัล เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาดตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภค ด้วยการส่งเสริมและผลักดันสมาชิกหอการค้าที่เป็นสมาชิก ทายาทนักธุรกิจหรือกลุ่มธุรกิจใหม่ให้ได้มีโอกาสสร้างช่องทางหรือเปิดมุมมอง ในการทำธุรกิจให้มีความเข้มแข็งซึ่งขณะนี้ก็มีแล้ว 30 บริษัทและคาดว่าจบโครงการนี้จะเพิ่มเป็น 60 บริษัท

นายวีระยุทธ สุขวัฒฑโก ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคเหนือ กล่าวว่า ทางสภาอุตสาหกรรมภาคเหนือได้ตอบรับการเป็นพันธมิตรในการดำเนินโครงการนี้อย่างเต็มที่ เพราะมีความน่าสนใจและเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการ SMEs โดยจะพยายามผลักดันผู้ประกอบการให้มีความรู้ ความสามารถและพัฒนาด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ และถือเป็นโอกาสที่ดีที่ผู้ประกอบการจะได้รับจากโครการนี้

ขณะที่ผศ.ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ ที่ปรึกษาโครงการ Lanna Digital Economy for SMEs ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า สำหรับแนวทางในการสนับสนุนนักรบธุรกิจนวัตกรรมสู่การเป็น Start Up cและ Smart SMEs ในยุคดิจิทัลโดยอาศัยกลไกของอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ(NSP)จากการให้ priority ในการเข้าถึงแหล่งทุน อาทิ โครงการพัฒนาขีดความสามารถทางเทคโนโลยีและวิจัยของภาคเอกชนในพื้นที่ และโครงการ NTFV Campagn นอกจากนี้ยังได้รับสิทธิพิเศษ ในการช่วยพัฒนาข้อเสนอโครงการนวัตกรรม ที่พร้อมยื่นขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ได้ทันที และสิทธิในการเข้ารับการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะการ เพื่อยกระดับขีดความสามารถทางธุรกิจ ที่สำคัญสุดคือการเข้าใช้พื้นที่การสร้างสรรค์ธุรกิจนวัตกรรมและอาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ(จังหวัดเชียงใหม่) ซึ่งพร้อมผลักดันและสรรสร้างนักธุรกิจให้มีอาวุธสู่การเป็นนักรบเศรษฐกิจใหม่ โดยผลลัพธ์ของโครงการ Lanna Digital Economy for SMEs นั้นสามารถประมาณการมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้ไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 5 ปี.

You may also like

บสย. จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา โครงการ “บสย. ร่วมใจ ทำดี เพื่อสังคม” ครั้งที่ 2 ร่วมซ่อมแซม ทาสี เครื่องเล่นเด็ก ปลูกต้นไม้ ณ สวนสมเด็จสราญราษฎร์มณีรมย์

จำนวนผู้