เด็กนาต๋มปลูกผักรักษาโรงเรียน

เด็กนาต๋มปลูกผักรักษาโรงเรียน

นภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำ ผู้ปกครองต้องดิ้นรนหาเลี้ยงปากท้องในครอบครัว เวลาเอาใจใส่ลูกๆ จึงลดลง และส่วนหนึ่งได้ผลักภาระไปให้โรงเรียน เช่น เลือกโรงเรียนที่มีรถรับ-ส่งนักเรียนฟรี เรียนฟรี หรือมีสิ่งสาธารณูปโภครองรับมากกว่า จะได้ไม่เสียเวลารับส่งบุตรหลานด้วยตนเอง ขณะที่ส่วนหนึ่งก็คุมกำเนิด ไม่พร้อมที่จะเลี้ยงดูลูก ส่งผลให้โรงเรียนระดับประถมศึกษาหลายๆ แห่ง ถูกยุบ เพราะจำนวนนักเรียนมีน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนดที่โรงเรียนบ้านนาต๋ม ต.บ้านกิ่ว อ.แม่ทะ จ.ลำปาง เป็นอีกโรงเรียนหนึ่งที่ประสบกับวิกฤติดังกล่าว เพราะปีการศึกษา 2559 เหลือเด็กนักเรียนเพียง 35 คนเท่านั้น จากเดิมที่เคยมีมากสุดในปี 2527 ถึงกว่า 300 คน ทำให้โรงเรียนอยู่ในสถานะถูกพิจารณาให้ยุบ

สถานการณ์ดังกล่าว ทางผู้บริหารโรงเรียนนำโดย นรกมล เครือวงศ์  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านนาต๋ม  ต้องเร่งหาทางออก หาไม่ดำเนินการใดๆ โรงเรียนอาจถูกยุบได้ คณะครู ผู้นำชุมชน และผู้ปกครอง จึงได้หารือร่วมกัน จนในที่สุดก็มีมติร่วมกันว่าต้องดำเนินกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับผู้ปกครองคนอื่นๆ ให้นำบุตรหลานกลับมาเรียนที่โรงเรียนบ้านนาต๋มอีกครั้งแนวทางหนึ่งที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกัน คือการดำเนินโครงการที่เป็นรูปธรรม จับต้องได้ และทุกฝ่ายมีส่วนร่วม โดยที่ผลลัพธ์ที่ได้ ต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงกับตัวนักเรียนเอง

เมื่อผลสรุปได้ดังนี้ทางคณะครูจึงเลือกทำกิจกรรมที่จะปรับทัศนะของเด็กๆ ในด้านโภชนาการ จึงขอรับการสนับสนุนจากสำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ทำโครงการ เด็กนาต๋ม นิยมกินผักผลไม้ ใส่ใจสุขภาพนรกมล  เล่าว่า จากการทำแบบสำรวจในช่วงก่อนเริ่มโครงการ พบว่าเด็กไม่ชอบกินผักผลไม้ เมื่อเจอผักในเมนูอาหารก็จะเขี่ยทิ้ง และการติดตามพฤติกรรมบริโภคอาหารกลางวันจากปริมาณเศษอาหารที่เหลือ วันไหนที่แม่ครัวทำเมนูเกี่ยวกับผัก จะมีเศษอาหารเหลือมากกว่าเมนูที่ทำจากเนื้อ เช่นเดียวกับวันไหนที่มีผลไม้ มักจะถูกเด็กทิ้งมากกว่าขนม จึงได้จัดอบรมให้ความรู้ เป็นการพัฒนาศักยภาพของแม่ครัว ขณะเดียวกันคณะกรรมการดำเนินงานที่ประกอบด้วยครู แม่ครัว ตัวแทนผู้ปกครอง และตัวแทนนักเรียน ก็ประชุมร่วมกันทุกเดือน เพื่อจัดทำรายการอาหารกลางวันร่วมกัน โดยใช้โปรแกรม Thai School Lunch ช่วยคำนวณให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ และมีคุณค่าเหมาะสมกับวัยของเด็กเกี่ยวกับตัวเด็กเอง มีการอบรมพัฒนาศักยภาพของแกนนำนักเรียน ให้รู้ว่าผักผลไม้มีประโยชน์อย่างไร วิธีการเลือกซื้อที่ถูกต้อง ก่อนให้แกนนำขยายความรู้ไปสู่นักเรียนทั้งโรงเรียน นอกเหนือจากนี้ยังให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมส่งเสริมการบริโภคผักผลไม้ ผ่านรูปแบบการทำโครงงาน และบูรณาการกับทุกวิชา อาทิ การเลี้ยงปลา เพาะเห็ด เพาะถั่วงอก ทำน้ำดื่มสมุนไพร ในการเยี่ยมบ้านเด็กก็แจกพันธุ์ผักบุ้ง ทำให้เด็กกับผู้ปกครองมีกิจกรรมทำร่วมกัน เมื่อเด็กปลูกผักในโรงเรียนจึงไม่แปลกที่จะเห็นผู้ปกครองมาช่วยดูแลด้วยเมื่อทำทุกอย่างควบคู่กันไป เด็กได้นำผักที่ปลูกเองมาทำอาหาร แม่ครัวปรับวิธีการหั่นผักผลไม้ให้ชิ้นเล็กลง ครูและผู้ปกครอง คอยดูแลการรับประทานอาหาร ให้มีผักผลไม้ ทั้งที่โรงเรียนและบ้าน ปริมาณการเขี่ยผักผลไม้ทิ้งก็น้อยลง และสังเกตพบว่าผักที่เด็กชอบ คือ ผักบุ้ง ผักกาด ถั่วงอก

“ผลได้ที่ตามมา คือในปีการศึกษาใหม่นี้ มีเด็กเพิ่มขึ้นเป็น 48 คน เนื่องจากผู้ปกครองเห็นว่าเด็กในโรงเรียนมีพัฒนาการที่ดีขึ้นในทุกด้าน และครูก็เอาใจใส่อย่างจริงจัง” ผอ.โรงเรียนบ้านนาต๋ม อธิบายพีระพล ธรรมศร ครูช่วยสอน และกรรมการโครงการ กล่าวเสริมว่า การทำให้เด็กกินผัก นอกจากครู และผู้ปกครอง ต้องคอยกระตุ้นอย่างสม่ำเสมอแล้ว การให้พี่คอยติดตามดูแลน้อง หรือเพื่อนติดตามเพื่อน ว่าบริโภคผักผลไม้หรือไม่ อย่างไร ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ได้ผลค่อนข้างมาก เด็กจะคอยบอกว่าใครกินผัก ใครไม่กินผัก คนที่ไม่กินผักจะรู้สึกอาย และค่อยๆ ปรับตัว จนสามารถกินผักได้โดยปริยายนอกจากนี้การได้ปลูกผักเอง ได้ดูแลรดน้ำพรวนดิน เฝ้ามองการเจริญเติบโตของผัก ก็ทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจ เห็นคุณค่าของผักมากขึ้น และบางโครงงานแม้จะไม่ใช่การปลูกผักโดยตรง หากในการนำมาประกอบอาหาร ก็ต้องใช้ผักเป็นส่วนประกอบ อาหารเกือบทุกอย่างล้วนสัมพันธ์กับผักทั้งสิ้น

รวมถึง “ผัก” ที่โรงเรียนนาต๋ม ยังช่วยให้โรงเรียนไม่ถูกยุบอีกด้วย

You may also like

เครือข่ายแรงงานภาคเหนือลั่นสู้ พร้อมรวมพลังทวงคืนความมั่งคั่งจากนายทุน

จำนวนผู้