เชียงใหม่ย้ำจัดคอนเสิร์ตทุกราย ต้องทำ MOU กับ ศปก.อำเภอพื้นที่เพื่อป้องกันโควิด19

เชียงใหม่ย้ำจัดคอนเสิร์ตทุกราย ต้องทำ MOU กับ ศปก.อำเภอพื้นที่เพื่อป้องกันโควิด19

งัด 24 แนวปฏิบัติมหาดไทยใช้กับทุกคอนเสิร์ต มท.วางกรอบไว้ชัดเพื่อป้องกันโควิด-19 ทั้งเจ้าของสถานที่ ผู้จัด ผู้ชม ต้องปฏิบัติอย่างไร ทุกข้อล้วนอยู่ภายใต้แนวปฏิบัติปกติ “สวมหน้ากาก เว้นระยะ หมั่นล้างมือ ไม่ใช้ของร่วมคนอื่น” ย้ำทุกรายที่จะจัดต้องทำ MOU กับ ศปก.อำเภอพื้นที่

วันที่ 19 ธ.ค. 63 นายวีระพันธ์ ดีอ่อน รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวถึงแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดคอนเสิร์ตหรือการแสดงนอกสถานบริการหรือสถานประกอบการที่คล้ายสถานบริการ ว่า จากคอนเสิร์ตที่เกิดปัญหาและเป็นข่าวโด่งดังไปทั่วประเทศ ในส่วนของคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ได้มีการประชุมหารือร่วมกันเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติที่ผู้จัดคอนเสิร์ตต้องจัดให้มี รวมถึงผู้ที่จะเข้าไปชมด้วย ซึ่งก็เป็นเรื่องเดิมที่กระทรวงมหาดไทยเคยให้แนวทางไว้แล้วตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งครอบคลุมตามมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 ในทุกด้าน คณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่จึงให้ยึดถือปฏิบัติตามแนวทางที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้ โดยเฉพาะช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ที่จะมาถึงผู้ใดที่จะจัดให้มีคอนเสิร์ตหรือการแสดงลักษณะที่คล้ายกันก็ให้ใช้แนวทางที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้เป็นแนวทางปฏิบัติ

“ผู้ใดประสงค์ที่จะจัดการแสดงดนตรี จัดคอนเสิร์ต หรือการแสดงต่างๆ ที่มีลักษณะคล้ายๆ กัน เป็นการแสดงกลางแจ้ง หรือสถานที่ไม่ใช่ภายในร้านอาหาร สถานบริหาร ให้ติดต่อขอทราบรายละเอียดแนวทางปฏิบัติได้จาก ศปก.อำเภอพื้นที่ที่จะจัดการแสดงนั้นๆ พร้อมกันนี้ผู้จัดเองจะต้องทำบันทึกข้อตกลงกับทาง ศปก.อำเภอพื้นที่นั้นด้วยในการที่จะปฏิบัติตามมาตการควบคุมป้องกันโควิด-19 และให้เป็นไปตามแนวทางที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดด้วย” รอง ผวจ.เชียงใหม่ กล่าว

สำหรับข้อปฏิบัติในการจัดคอนเสิร์ตหรือการแสดงในสถานที่ที่มิใช่สถานบริการ หรือสถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการในสถานการณ์การป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดมีด้วยกันทั้งสิ้น 3 กลุ่มใหญ่ ประกอบด้วย แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการ เจ้าของสถานที่ แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้จัดงาน และแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้เข้าร่วมงาน รวมทั้งสิ้น 24 ข้อย่อย

แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการ เจ้าของสถานที่ มีทั้งสิ้น 12 แนวทางที่ต้องปฏิบัติ อาทิ การจัดให้มีการคัดกรองผู้จัดงาน ผู้เข้าร่วมงาน การกำหนดให้ผู้จัดงาน ผู้เข้าร่วมงาน นักแสดงต้องสวมหน้ากากตลอดเวลา เว้นในช่วงการแสดงนักแสดงให้ถอดหน้ากากได้ จัดให้มีเจลแอลกอฮอล์สำหรับทำความสะอาดมืออย่างเพียงพอ มีมาตรการหรือสัญลักษณ์เพื่อเว้นระยะที่เหมาะสม โดยให้เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล 1-2 เมตร ต้องทำความสะอาดบริเวณที่มีการสัมผัสร่วมอย่างสม่ำเสมอ การจัดบริการอาหารต้องจัดแบบลดการสัมผัสอุปกรณ์ที่ใช่ร่วมกัน เช่น จัดอาหารกล่อง และงดการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในบริเวณจัดงาน และต้องมีมาตรการในการติดตามข้อมูลของผู้ร่วมงานได้ อาจจะใช้ “ไทยชนะ” หรือการลงทะเบียนร่วมงานแบบอื่น

สำหรับแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้จัดงาน กำหนดให้ปฏิบัติไว้ทั้งสิ้น 8 แนวทาง อาทิ ให้มีระบบการคัดกรองผู้ให้บริหาร ผู้แสดง ผู้ร่วมงาน นักข่าว โดยประสานสถานที่จัดงานให้จัดให้มีจุดคัดกรอง ให้ผู้ร่วมงานทุกฝ่ายสวมใส่หน้ากากตลอดเวลาของการจัดงาน จัดให้มีเจลแอลกอฮอล์สำหรับทำความสะอาดมือไว้อย่างเพียงพอ จัดมาตรการลดความแออัด เช่น จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมงานไม่น้อยกว่า 4 ตารางเมตรต่อคน จัดให้มีมาตรการลดการสัมผัส เช่น การให้นักแสดงใช้ไมค์ส่วนตัว งดจัดกิจกรรมที่มีการสัมผัสใกล้ชิดหรือกิจกรรมที่มีการรวมตัวของประชาชน เช่น การจับมือ การถ่ายรูปหมู่ เป็นต้น

ส่วนแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้เข้าร่วมงาน กระทรวงมหาดไทยกำหนดให้ปฏิบัติไว้ 4 แนวทาง ได้แก่ ให้สังเกตอาการตัวเองสม่ำเสมอ หากมีไข้ ไอ จาก มีน้ำมูก หรือเหนื่อยหอบ ให้งดเข้าร่วมงานและพบแพทย์ทันที สวนหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่างจากบุคคลอื่น 1-2 เมตร งานการรวมกลุ่ม และหลีกเลี่ยงการตะโกน ล้างมือด้วยสบู่และน้ำ หรือเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ และให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานที่จัดงานอย่างเคร่งครัด

You may also like

บสย. จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา โครงการ “บสย. ร่วมใจ ทำดี เพื่อสังคม” ครั้งที่ 2 ร่วมซ่อมแซม ทาสี เครื่องเล่นเด็ก ปลูกต้นไม้ ณ สวนสมเด็จสราญราษฎร์มณีรมย์

จำนวนผู้