เชียงใหม่ประชุม ติดตามการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์เพื่อขับเคลื่อนมาตรการจัดระเบียบที่พักอาศัยแรงงานในพื้นที่ชุมชน

เชียงใหม่ประชุม ติดตามการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์เพื่อขับเคลื่อนมาตรการจัดระเบียบที่พักอาศัยแรงงานในพื้นที่ชุมชน

วันที่ 17 มีนาคม 2560 นายประจวบ กันธิยะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่  ประชุมชุดติดตามและตรวจสอบการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์จังหวัด ครั้งที่ 2 ที่ห้องประชุม ที่ทำการปกครองจังหวัดชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ตามข้อสั่งการของ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี จากการประชุมคณะกรรมการนโยบายจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว  เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2559 ให้กระทรวงแรงงานเร่งรัดดำเนินการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว โดยกระทรวงมหาดไทย, กระทรวงแรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตรวจสอบดูแลจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว ทั้งในด้านการศึกษา สาธารณสุข และจัดเขตพื้นที่เฉพาะ(Zoning)ให้เป็นที่อยู่อาศัยแรงงานต่างด้าว  ในพื้นที่ 13 จังหวัดทั่วประเทศ  โดยมีจังหวัด สมุทรสาคร และระนอง เป็นจังหวัดนำร่องซึ่งจังหวัดเชียงใหม่ เป็นหนึ่งในพื้นที่ขยายผลการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว  และจากคำสั่ง คสช. ที่ 101/2557 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2557 ให้มีการแต่งตั้งชุดติดตามและตรวจสอบการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์จังหวัด

นายประจวบ กล่าวว่า  คาดว่าจังหวัดเชียงใหม่มีตัวเลขแรงงานต่างด้าวที่มีพาสปอร์ต และบัตรสีชมพู ประมาณ 1 แสนคนเศษ  ขณะที่ตัวเลขแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง และไม่มีหลักฐานน่าจะมีอีกเป็นจำนวนมาก  จากการประชุมครั้งแรก จังหวัดเชียงใหม่ได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายนำร่องจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว ในพื้นที่ชุมชนป่าเป้า ชุมชนกู่เต้า ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ เนื่องจากมีแรงงานอาศัยอยู่หนาแน่น และจากการลงพื้นที่ชุมชนและสถานประกอบการหลายแห่งพบว่า แม้ผู้ประกอบการจะได้จัดที่พักให้ แต่ในด้านสาธารณสุข ความมั่นคงปลอดภัย รวมถึงด้านการศึกษายังต้องเข้าไปดูแลจัดระเบียบให้เหมาะสมและปลอดภัยรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ปัญหาในการดำเนินการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวของจังหวัดเชียงใหม่  คือ ไม่ทราบตัวเลขจำนวน และแหล่งที่อยู่แรงงานกลุ่มที่หลบหนีเข้ามาทำงานในพื้นที่อย่างชัดเจน  จึงขอให้สำนักงานปกครองจังหวัด แจ้งนายอำเภอทุกแห่ง ให้มีการสำรวจแรงงานในพื้นที่ ที่อาศัยในหมู่บ้าน / ชุมชน และข้อมูลการพักอาศัย  เพื่อจะได้วางแผนจัดระเบียบควบคุม ดูแลได้ทุกๆ ด้าน  รวมถึงสถานประกอบการที่มีการเคลื่อนย้ายแรงงานสูง โดย ใช้แรงงานต่างด้าวตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป ถือเป็นเป้าหมายในการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว  โดยจะได้จัดชุดติดตามและตรวจสอบ ให้สอดคล้องตามหลักสิทธิมนุษยชน และจัดที่พักอาศัยสำหรับแรงงานต่างชาติต่อไป.

You may also like

กลุ่ม Chiang Mai Pride จับมือร่วมกับ Asset World Corporation (AWC) และ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดงาน “Chiang Mai Colourful Pride Month 2024” เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ และเชื่อมโยงการท่องเที่ยว

จำนวนผู้