“ฮาลาลเพื่อทุกคน”นำผู้ประกอบการกว่า 80 รายร่วมจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าในงานหอการค้าแฟร์

“ฮาลาลเพื่อทุกคน”นำผู้ประกอบการกว่า 80 รายร่วมจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าในงานหอการค้าแฟร์

- in headline, เศรษฐกิจ

ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯเชียงใหม่จับมือกรรมการอิสลามและหอการค้าฯจัดงาน “Halal For All”ภายใต้งานหอการค้าแฟร์ระหว่าง 29 พ.ย.-8 ธ.ค.62 ชูคอนเซ็ปต์ฮาลาลเพื่อทุกคน หวังกระตุ้นธุรกิจการค้าและท่องเที่ยวฮาลาลพื้นที่ภาคเหนือ นำผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดสรรกว่า 80 บูธร่วมออกงาน

เมื่อวันที่ 18 พ.ย.62 ที่นิมมาน คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ นายศรัณยู มีทองคำ ปลัดจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยอ.อนันต์ ปัญญาวีร์ รองประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเชียงใหม่ ,อ.ดร.ภราดร  สุรีย์พงษ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นายต่อศักดิ์ สุทธิชาติ ที่ปรึกษาผู้อำนวยการด้านหน่วยงานบ่มเพาะวิสาหกิจผลิตภัณฑ์และบริการ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายเรวัตร วงศ์เดอรี หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานเชียงใหม่ ได้ร่วมกันแถลงข่าว งานประชุมและแสดงสินค้า ฮาลาลในเขตพื้นที่ภาคเหนือ “Halal For All “ ซึ่งศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานเชียงใหม่ ,กรรมการอิสลามจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับ หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ จัดขึ้นภายใต้งานหอการค้าแฟร์ 2019 (TCC Fair 2019) ในระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน – 8 ธันวาคม 2562 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่

นายศรัณยู มีทองคำ ปลัดจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า จังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพอีกแห่งหนึ่งของตลาดฮาลาลของประเทศ นอกเหนือจากกรุงเทพมหานคร และกลุ่มจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งการดำเนินกิจกรรม งาน Halal For All ภายใต้งานหอการค้าแฟร์ 2019 (TCC Fair 2019) ในครั้งนี้ จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นในด้านมาตรฐานของสินค้าและบริการฮาลาล จากกลุ่มนักท่องเที่ยว อีกทั้งช่วยส่งเสริมผู้ประกอบการภายในพื้นที่เกิดการจ้างงาน และกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมของจังหวัดเชียงใหม่ขึ้น

ด้านอาจารย์ ดร.ภราดร สุรีย์พงษ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สำหรับงานประชุมและแสดงสินค้าฮาลาลในเขตพื้นที่ภาคเหนือ (HALAL FOR ALL) ภายใต้งาน หอการค้าแฟร์ 2019  จัดขึ้นเป็นปีที่ 2 เพื่อเป็นการกระตุ้นธุรกิจการค้าและการท่องเที่ยวฮาลาลพื้นที่ภาคเหนือ  รวมทั้งพัฒนาองค์ความรู้ และยกระดับ มาตรฐานสินค้าและบริการฮาลาล สร้างความต่อเนื่อง ในการรับรู้เชิงพื้นฐานให้แก่ผู้ประกอบการและ บุคคลทั่วไปในพื้นที่ภาคเหนือให้มีศักยภาพที่สูงขึ้น  สร้างโอกาสและช่องทางการตลาด เพิ่มบทบาทในตลาดฮาลาลให้ธุรกิจสามารถเข้าสู่ตลาดได้มากขึ้น

สำหรับกิจกรรมภายในงาน จะมีการออกบูทของผู้ประกอบการในหลากหลายกลุ่มที่คัดสรรมาตรฐานมากว่า 80 บูธ ผู้บริโภคจะได้เลือกซื้อผลิตภัณฑ์คุณภาพที่หลากหลาย  อาทิ ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มจากสมุนไพรธรรมชาติ  ผัก-ผลไม้แช่แข็ง  ผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมรับประทาน ในกลุ่มสินค้าเกษตรแปรรูป สบู่น้ำนมข้าวโอ๊ต สบู่น้ำนมกาแฟ ผลิตภัณฑ์จากอโวคาโด ผลิตภัณฑ์สปา ในกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เครื่องเงิน กระเป๋าทำมือ พรมอาหรับ ของตกแต่งบ้าน เครื่องประดับจาก อัญมณีต่างๆ ในกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องประดับ

“HARAM MUSEUM” นิทรรศการสิ่งต้องห้ามและต้องสงสัยตามหลักศาสนบัญญัติอิสลาม นำเสนอในธีม Haram & Doubtful Museum แบ่งเป็นโซนย่อย 5 โซน ได้แก่สัตว์ต้องห้ามตามมาตรฐาน, ผลิตภัณฑ์ที่ปนเปื้อน,วัตถุดิบและสารเคมีที่ต้องสงสัย,วัตถุและสิ่งของอุปโภคบริโภค, อาหารแห่งอนาคต(Future Food) ด้วยเทคนิคการนำเสนอในรูปแบบ Interactive เนื้อหาที่เข้าใจง่ายในรูปแบบ Infographic  พร้อมเสียงบรรยาย กิจกรรม Workshop ที่เปิดให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมได้ฟรี การเพ้นท์ร่มด้วยลวดลายอาหรับ  การทำอาหาร เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ  การเพ้นท์กระเป๋าด้วยแผ่นสเตนซิล (Stencils)  ” Natural aroma body lotion ” D.I.Y.อะโรมาโลชั่นสูตรธรรมชาติ  The Art of Perfume (Workshop ทำน้ำหอม) ตกแต่งสมุดทำมือ เป็นต้น

นายต่อศักดิ์ สุทธิชาติ ที่ปรึกษาผู้อำนวยการด้านหน่วยงานบ่มเพาะวิสาหกิจผลิตภัณฑ์และบริการ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในงานนี้ยังมีกิจกรรมการเจรจาจับคู่ธุรกิจสินค้าฮาลาล และกิจกรรมสัมมนาสำหรับผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจ อาทิหัวข้อ ตะลุยส่งออกเครื่องสำอางสู่ตะวันออกกลาง, มาตรฐานฮาลาลสำหรับธุรกิจบริการการท่องเที่ยว, การเตรียมขอรับรองฮาลาลสำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง, การบริหารจัดการด้านคุณภาพเพื่อรับประกันและรับผิดชอบต่อสภาพฮาลาลของผลิตภัณฑ์ฮาลาล, กลยุทธฺธุรกิจไทย พิชิตใจลูกค้าชาว

ในการจัดงานครั้งนี้ถือว่าเป็นการบูรณาการดำเนินการร่วมกันของทุกฝ่าย กลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์-บริการ ของผู้ประกอบการที่นำมาจัดแสดงภายในงานกว่า 80 รายนั้น ได้รับการคัดสรรมาตรฐานในด้านคุณภาพ และมาตรฐานจากทางคณะกรรมการการอิสลามประจำจังหวัดเชียงใหม่แล้ว รวมทั้งขององค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องที่จัดแสดงภายในงานที่เปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างความเข้าใจและพัฒนาองค์ความรู้ในด้านการผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาลด้วย

อ.อนันต์ ปัญญาวีร์ รองประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า สำหรับงานนี้จะดำเนินการขึ้นทั้ง 10 วัน ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการเปิดโอกาสให้กับผู้ประกอบการสินค้า-บริการฮาลาล ได้แสดงศักยภาพของตนเอง และสร้างช่องทางในการขยายตลาดสินค้าได้มากยิ่งขึ้นจากประมาณการผู้เข้าชมงานที่คาดว่าจะมีกว่า 170,000 คน รวมไปถึงกลุ่มนักธุรกิจจากทั้งส่วนกลางและต่างประเทศ ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายที่ตอบรับเข้าร่วมงาน  อันจะเป็นการเพิ่มบทบาทในตลาดฮาลาลเปิดโอกาสให้ธุรกิจสามารถเข้าสู่ตลาดได้มากขึ้นด้วย.

You may also like

บสย. รุกโมเดล “SMEs Digital Gateway” ปั้น 11 สาขาภูมิภาคสู่ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน

จำนวนผู้