อบจ.เชียงใหม่ลงนาม MOU ร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่ สาธารณสุขจังหวัดและสพฉ.ดำเนินงานและการบริหารงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินและเปิดศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการการแพทย์ฉุกเฉิน1669

อบจ.เชียงใหม่ลงนาม MOU ร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่ สาธารณสุขจังหวัดและสพฉ.ดำเนินงานและการบริหารงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินและเปิดศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการการแพทย์ฉุกเฉิน1669

อบจ.เชียงใหม่ลงนาม MOU ร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่ สาธารณสุขจังหวัดและสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ “นายกฯพิชัย”ยันศูนย์เอราวัณ 1669 มีความพร้อมทั้งบุคลากร อุปกรณ์เพื่อดูแลประชาชนอย่างทั่วถึง แจงศูนย์ฯรับแจ้งเหตุเฉลี่ยวันละกว่า 300 ราย

เมื่อวันที่ 26 ธ.ค.66 ที่ห้องประชุมสภาอบจ.เชียงใหม่ นายชัชวาลย์  ปัญญา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยเรืออากาศเอกนายแพทย์อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ(สพฉ.),นายแพทย์จตุชัย มณีรัตน์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่และนายพิชัย เลิศพงศ์อดิศร นายกอบจ.เชียงใหม่ ได้ร่วมกันลงนามบันทึกข้อตกลงการดำเนินงานและการบริหารงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินและเปิดศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการการแพทย์ฉุกเฉิน จังหวัดเชียงใหม่

ด้วยเรืออากาศเอกนายแพทย์อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ(สพฉ.)กล่าวว่า สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ(สพฉ.)ได้สนับสนุนให้มีการจัดตั้งศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ 1669 โดย อบจ.และการถ่ายโอนรพ.สต.เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งเป็นหน่วยปฏิบัติการแพทย์ช่วงนำร่องนี้ 17 จังหวัดทั่วประเทศซึ่งอบจ.เชียงใหม่เป็น 1 ใน 17 จังหวัด ซึ่งได้มีการพัฒนาระบบ ตลอดจนการเพิ่มกฎหมายอีกหลายฉบับเกี่ยวกับหน่วยปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน 1669 ของจังหวัดเชียงใหม่ก็จะมีโรงพยาบาลนครพิงค์ที่ให้คำปรึกษากับอบจ.ส่วนทางด้านจิตวิทยาก็จะมีรพ.สวนปรุง ส่วนหน่วยบริการแพทย์ถ้าเป็นอบต.,เทศบาลก็จะเริ่มจากหน่วยพื้นฐาน ซึ่งช่วง 10 ปีที่ผ่านมาใน 100 เคสจะมีคนไข้เข้าถึงบริหารการแพทย์ฉุกเฉิน 1669 ใน 8 นาทีเพียง 27 เคส แต่ปีที่แล้วเพิ่มเป็น 37 เคสซึ่งแสดงถึงประสิทธิภาพที่ลดลง และยังพบว่าอัตราการตายเมื่อ 10 ปีที่แล้วเทียบกับ 1 แสนประชากรเท่ากับ 12:1 คน แต่ปีที่ผ่านมาเพิ่มเป็น 2 เท่าคือ 24:1 แสนประชากร ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากลัวว่าถ้ามีหน่วยให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินน้อยไปการเข้าไปช่วยเหลือก็จะล่าช้าและทำให้มีคนตายเพิ่ม ดังนั้นอบจ.จึงเป็นความหวังของกระทรวงสาธารณสุข เพราะอบจ.มีรพ.สต.ที่รับถ่ายโอนแล้วจึงอยากให้มีหน่วยให้บริการเพิ่มขึ้น เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตของประชาชน

เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ(สพฉ.) กล่าวต่อไปอีกว่า แม้ว่าจะมีการถ่ายโอนระบบดำเนินงานและการบริหารงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินและเปิดศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการการแพทย์ฉุกเฉินให้ท้องถิ่นแล้ว แต่สพถ.ก็ยังเป็นพี่เลี้ยงให้อยู่ ส่วนเรื่องปัญหาอัตราการตายและการเข้าถึงบริการที่เพิ่มขึ้นนั้น ทางสพถ.ได้รายงานให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขแล้ว ซึ่งได้สั่งการให้สพฉ.ทำแผนงานขับเคลื่อนและรายงานเพื่อจะเสนอเข้าครม.ต่อไป โดยแผนงานจะแยกเป็นในส่วนของภาคประชาชนจะให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องการปฐมพยาบาลฉุกเฉินและกู้ชีพพื้นฐาน การโทรแจ้งเหตุ และมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือพื้นฐานที่ถูกต้อง สำหรับหน่วยบริการก็จะเพิ่มปริมาณให้ครอบคลุมมากขึ้นจากเดิมที่มีเพียง 45% ซึ่งยังต้องการอีก 55% ส่วนนี้ต้องให้รัฐบาลช่วยสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ โดยเฉพาะการถ่ายโอนภารกิจ และส่วนสุดท้ายคือระบบกฎหมาย เครื่องมือสื่อสารซึ่งต้องเสนอให้กระทรวงสาธารณสุข แต่ก็เชื่อว่ารัฐบาลน่าจะให้ความสำคัญและสามารถลดปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นได้

ทางด้านนายพิชัย เลิศพงศ์อดิศร นายกอบจ.เชียงใหม่ กล่าวว่า อบจ.เชียงใหม่ได้รับรับการถ่ายโอนระบบดำเนินงานและการบริหารงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินเมื่อ 1 ก.ค.66 เดิมอบจ.เชียงใหม่ยังไม่มีกองสาธารณสุขจึงได้ตั้งขึ้นมาเมื่อม.ค.65 และมีภารกิจรับการถ่ายโอนระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน และเปิดศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการการแพทย์ฉุกเฉิน โดยได้จัดตั้งศูนย์เอราวัณเพื่อที่จะได้ดูแลพี่น้องประชาชนทำงานตลอด 24 ชั่วโมง ขณะนี้มีการรับแจ้งเหตุเข้ามาวันละประมาณ 300 กว่าราย ในส่วนของระบบการแพทย์ฉุกเฉินก็ได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและรพ.สต.ต่างๆ ซึ่งวันนี้เป็นการลงนามความร่วมมือร่วมกัน ซึ่งศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ การแพทย์ฉุกเฉิน จังหวัดเชียงใหม่ หรือ “ศูนย์เอราวัณ” ได้รับการถ่ายโอนภารกิจมาจากโรงพยาบาลนครพิงค์ (ศูนย์เวียงพิงค์) โดยได้ปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง แบบไม่มีวันหยุด ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา โดยได้ให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินเฉลี่ยกว่า 6,000 ครั้งต่อเดือน ซึ่งศูนย์รับแจ้งเหตุเอราวัณแห่งนี้มีทั้งหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินระดับสูง, หน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินระดับต้น, หน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น, หน่วยปฏิบัติการทางอากาศ และหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินทางน้ำ ที่จะคอยให้ความช่วยเหลือประชาชนและนักท่องเที่ยวอย่างครบครัน ตั้งแต่แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ตลอดจนอุปกรณ์ยุทโธปกรณ์ต่างๆ และเครื่องมือทางการแพทย์

นายกอบจ.เชียงใหม่ กล่าวอีกว่า อบจ.เชียงใหม่ได้จ้งแพทย์ พยาบาล ทันตแพย์ เภสัชกร เพื่อที่ให้ภารกิจต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังได้จัดทำหน่วยบริการประจำ มีการทำสัญญากับสป.สช.ในการรับผู้ป่วยนอกได้ตอนนี้มี 10 อำเภอของจังหวัดเชียงใหม่และเป็นที่แรกในประเทศไทย นอกจากนี้ยังตั้งงบประมาณเพื่อจัดซื้อรถการแพทย์ฉุกเฉินและล่าสุดทางผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ขอรับการสนับสนุนให้อบจ.เชียงใหม่จัดสร้างลานจอดเฮลิคอปเตอร์ 2 ลาน

“ศูนย์เอราวัณ 1669 ของอบจ.เชียงใหม่มีความพร้อมทั้งบุคลากร งบประมาณ แพทย์ พยาบาล แพทย์แผนไทย นักกายภาพบำบัดอีกหลายอัตรา มีอุปกรณ์การแพทยฺฉุกเฉิน ครุภัณฑ์และสำนักงาน อุปกรณ์ปฏิบัติงาน ระบบสี่อสารสารสนเทศต่างๆ อย่างพร้อมเพรียงที่จะดูแลพี่น้องประชาชนอย่างเต็มกำลังความสามารถ”นายพิชัย กล่าว.

 

You may also like

บสย. รุกโมเดล “SMEs Digital Gateway” ปั้น 11 สาขาภูมิภาคสู่ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน

จำนวนผู้