อธิบดีกรมชลประทานเตรียมขยายผลการทำนาข้าวด้วยตอซังวิธีใหม่ปลูกหนึ่งเก็บเกี่ยวมากกว่าสาม

อธิบดีกรมชลประทานเตรียมขยายผลการทำนาข้าวด้วยตอซังวิธีใหม่ปลูกหนึ่งเก็บเกี่ยวมากกว่าสาม

กรมชลประทาน ทดลองวิจัยการปลูกข้าวแบบใช้วิธีตัดตอซัง ถือเป็นความสำเร็จครั้งแรกของประเทศไทย ช่วยลดระยะเวลาในการปลูกข้าว ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตและ ยังลดปัญหาการแย่งน้ำของประชาชนได้สำเร็จ อธิบดีฯเผยนำขยายผลต่อไป

ที่บริเวณแปลงนาสาธิต ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ อ.ดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ นายสัญชัย เกตุวรชัย อธิบดีกรมชลประทาน ได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมความก้าวหน้าการทดสอบสาธิตการทำนาข้าวด้วยตอซังวิธีใหม่:ปลูกหนึ่งเก็บเกี่ยวมากกว่าสาม ซึ่งกรมชลประทาน กรมการข้าว สำนักงานชลประทานที่ 1 ฝ่ายวิชาการและกลุ่มงานศึกษาพัฒนาและอนุรักษ์ข้าว ศูนย์การศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นหน่วยงานที่ร่วมกันรับผิดชอบโครงการดังกล่าว

นายสัญชัย เกตุวรชัย อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า การทดลองวิจัยทำนาข้าวด้วยการใช้ตอซังข้าวเดิมแทนการหว่านด้วยเมล็ด เป็นความร่วมมือระหว่าง กรมชลประทาน โดยสำนักงานชลประทานที่ 1 เชียงใหม่, กรมการข้าว และศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ โดยใช้เทคนิคการปลูกข้าวแบบ Salibu Paddy Technique ของเกษตรกรประเทศอินโดนีเซีย ที่เรียกว่า แบบซาลิบู และในประเทศไทยไม่เคยมีการดำเนินการทำนาข้าวโดยวิธีนี้มาก่อน

แปลงนาทดสอบสาธิตการทำนาข้าวด้วยตอซังวิธีใหม่ ใช้พื้นที่แปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดาริ เป็นสถานที่แห่งแรกที่ดาเนินการโครงการนี้ โดยหลังจากเกี่ยวข้าวเสร็จแล้วจะตัดตอซังข้าวให้เหลือประมาณ 5 เซนติเมตร แล้วปล่อยน้ำเข้าในแปลงนาไม่ให้ท่วมตอซังข้าว ประมาณ 20-25 วัน เพื่อให้ต้นกล้าใหม่งอก จากนั้นก็ถอนต้นกล้าใหม่ไปปักดำ ซึ่งการปลูกข้าววิธีนี้จะช่วยประหยัดต้นทุนในการซื้อเมล็ดพันธุ์ ไปได้ประมาณ ไร่ละ 1,000 บาท ลดปริมาณน้ำที่ใช้ในการปลูกข้าว และช่วยย่นระยะเวลาที่ใช้ในการปลูกข้าวจากเฉลี่ย 135 วันเหลือ 102 วัน อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาหมอกควันได้ในระดับหนึ่ง เนื่องจากไม่มีต้องเผาตอซังข้าวด้วย

ด้านนายจานุวัตร เลิศศิลป์เจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 1 เชียงใหม่ กล่าวว่า การดำเนินการสนองเป้าหมาย 5 ลด 5 เพิ่มของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยการทำนาข้าวด้วยตอซังวิธีใหม่ นั้น 5 ลด คือ 1.การใช้เมล็ดพันธุ์ จะใช้เฉพาะตอนทำนาข้าวรอบที่ 1 โดยวิธีปกติ รอบต่อๆ ไปสามารถประหยัดต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์ได้ 100 % หรือประมาณ 300 บาทต่อไร่  2. เทียบกับการทำนาแบบปกติซึ่งใช้น้ำ 1,200 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ การลดการใช้น้ำในการเพาะกล้าต้นข้าวจากเมล็ดพันธุ์จะเท่ากับ 10 % หรือ 120 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ซึ่งในอนาคตหากใช้การทำนาข้าวด้วยตอซังวิธีใหม่ ร่วมกับการทำนาแบบเปียกสลับแห้งที่สามารถลดปริมาณการใช้น้ำได้ 28 % หรือ 330 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ จะช่วยลดปริมาณน้ำในการทำนาข้าวได้มากขึ้นอีก

  1. ลดค่าต้นทุนในการใช้ปุ๋ยเคมี โดยการไถกลบตอซังข้าวเดิมให้เป็นปุ๋ยบารุงดินธรรมชาติ และลดค่าปุ๋ยในขั้นตอนการเพาะเมล็ดพันธุ์ ประมาณ 500 บาทต่อไร่ 4. ส่งเสริมให้งดการใช้ยาเคมีในการทำนาข้าว โดยใช้สารอินทรีย์ที่ปลอดภัยกว่าทดแทน และ 5. ลดค่าแรงในการหว่านเมล็ดพันธุ์ ประมาณ 60 บาทต่อไร่

ส่วน 5 เพิ่ม ก็คือ 1. ความบริสุทธิ์ทางพันธุกรรมของข้าวจะยังคงอยู่และคุณภาพข้าวจะสูงเนื่องจากไม่มีเมล็ดพันธุ์ข้าวอื่นเจือปน  2. ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อปริมาณผลผลิต คือสภาพอากาศในพื้นที่การทำนาข้าว ซึ่งในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น จะกระทบต่อปริมาณผลผลิตของข้าวในรอบนั้นๆ ได้ แต่โดยรวมระยะเวลาการทำนาข้าวต่อรอบ จะลดลง 33 วันจาก 135 วันเหลือ 102 วัน ทำให้สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้มากถึง 3 ครั้งต่อปี คิดเป็นปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นกว่าการทำนาสองรอบได้ถึง 50% ต่อปี  3. สามารถเพิ่มผลกำไร และสะสมทุนได้มากขึ้นเนื่องจากต้นทุนและระยะเวลาในการทำนาข้าวที่ลดลง  4. เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากรายได้ที่ได้เพิ่มขึ้นจากการขายข้าว และสุขภาพที่ดีจากการลดการใช้สารเคมี และ 5. การทำนาข้าวด้วยตอซังวิธีใหม่จะลดภาระการให้น้าชลประทำนา ช่วยเพิ่มหรือรักษาพื้นที่ชลประทำนาไว้ และทำให้เกิดความสามัคคีในชุมชนที่ไม่ต้องแย่งน้ำกันอีกต่อไป

การทำนาข้าวด้วยตอซังวิธีใหม่

ในประเทศไทยเทคโนโลยีการปลูกข้าวแบบล้มตอซังแบบเดิม เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่เกษตรกรเป็นผู้ค้นพบโดยบังเอิญมานานแล้ว เป็นวิธีการปลูกแบบเก่าที่มีเทคนิคและ วิธีการปฏิบัติโดยไม่ต้องเตรียมดิน และไม่ใช้เมล็ดพันธุ์ปลูก ซึ่งมีเทคนิคในการปฏิบัติโดย เกลี่ยฟางข้าวให้กระจายทั่วแปลงแล้วยาล้มตอซังให้ราบติดพื้นนา ในขณะที่ดินต้องมีความชื้นหมาดๆ การปลูกข้าวด้วยวิธีนี้เกษตรกรบางพื้นที่เรียกว่า “การปลูกข้าวด้วยตอซัง” และนักวิชาการด้านข้าวเรียกว่า การปลูกข้าวข่มตอ หรือ Lodge Ratoon Rice แต่วิธีการปลูกขาวแบบล้มตอซังมีข้อจำกัดคือ ดินนาจะหล่ม และสามารถปลูกได้เพียง 2-3 รุ่น แล้วก็ต้องกลับไปเผาตอซัง ทำเทือกและหว่านเมล็ดพันธุ์ใหม่อีกครั้ง

ในต่างประเทศการทำนาข้าวแบบล้มตอซัง ที่ประเทศอินโดนิเซียเรียกว่า “การทำนาข้าว โดยวิธีซาลิบู หรอ Salibu Paddy Technique” ซึ่งเป็นนวัตกรรมการปลูกข้าวโดยไม่ใช้เมล็ดพันธุ์ เผยแพรโดยกรมวิชาการเกษตร Tanah Datar สุมาตราตะวันตก ประเทศอินโดนิเซีย ซึ่งสามารถลดต้นทุนลงหลายอย่าง เช่น ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าเตรียมดิน ค่าหว่าน ค่าปุ๋ยได้ อีกทั้งระยะเวลาในการการเพาะปลูกค่อนข้างสั้น ความตอ้งการน้ำน้อย และความบริสุทธิ์ทางพันธุกรรมของข้าวจะยังคงอยู่ โดยความแตกต่างของเทคนิคการทำนาข้าวโดย วิธีซาลิบู กับ การทำนาขาวแบบล้มตอซัง คือลูกข้าวงอกใหม่ของเทคนิคการทำนาข้าว แบบล้มตอซัง  จะเป็นกล้าข้าวที่เติบโตจากต้นกำเนิดเดิมของตอต้นแม่โดยไม่มีการตัด แต่งใด ๆ กล้าข้าวใหม่เกิดบนตอข้าวเดิม ทำให้เกิดการแย่งปุ๋ยและน้ำจากระบบลำต้นเก่า ส่งผลให้กล้าข้าวใหม่ไม่สมบูรณ์เต็มที่

สำหรับโครงการทดสอบสาธิตการทำนาข้าวด้วยตอซังวิธีใหม่นี้ เป็นวิธีการปลูกข้าววิธีใหม่ที่พัฒนาต่อยอดมาจากวิธีการทำนาข้าวแบบซาลิบู และไม่เคยมีการดำเนินการทำนาข้าวโดยวิธีนี้มาก่อน โดยแปลงนาทดสอบสาธิตการทำนาข้าวด้วยตอซังวิธีใหม่ ใช้พื้นที่แปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดาริ เป็นสถานที่แห่งแรกที่ดำเนินการโครงการนี้.

 

You may also like

บสย. รุกโมเดล “SMEs Digital Gateway” ปั้น 11 สาขาภูมิภาคสู่ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน

จำนวนผู้