หอการค้าแฟร์ 2018 นำสินค้ามาจัดจำหน่ายและแสดงศักยภาพทางศก.ของเชียงใหม่ 125 บูธ คาดเงินสะพัดกว่า 100 ล้านบาท

หอการค้าแฟร์ 2018 นำสินค้ามาจัดจำหน่ายและแสดงศักยภาพทางศก.ของเชียงใหม่ 125 บูธ คาดเงินสะพัดกว่า 100 ล้านบาท

หอการค้าจังหว้ดเชียงใหม่บูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและสถานศึกษา จัดงานหอการค้าแฟร์ 2018 ภายใต้งาน Lanna Expo 2018 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ตั้งเป้าเงินสะพัดในงานไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท  คาดว่าจะมีผู้ร่วมชมงานมากกว่า 250,000 คนตลอด 10 วัน และจะสร้างรายได้หมุนเวียนมากกว่า 30 ล้านบาท

ที่อาคาร SMEs ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ นางวิภาวัลย์ วรพุฒิพงค์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยดร.ณพสิทธิ์ จักรพิทักษ์ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และดร.ภราดร สุรีย์พงค์ ผช.ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกันแถลงข่าวการจัดงาน “หอการค้าแฟร์ 2018”  Chiang Mai Chamber of Commerce Fair 2018 ภายในงาน Lanna Expo  2018 ระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน-1 กรกฎาคม 2561  ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ  7 รอบ พระชนมพรรษา  จังหวัดเชียงใหม่

นางวิภาวัลย์ วรพุฒิพงค์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่จะได้จัดงาน “หอการค้าแฟร์ 2018”  ซึ่งได้จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ภายในงาน Lanna Expo  2018 ระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน-1 กรกฎาคม 2561  โดยใช้พื้นที่บริเวณอาคาร SMEs ภายในศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ  7 รอบ พระชนมพรรษา  จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 และจังหวัดเชียงใหม่ที่สนับสนุนพื้นที่จัดงานครั้งนี้ เพื่อเพิ่มโอกาสทางการค้า ขยายช่องทางทางการตลาดของผู้ประกอบการ พร้อมกับส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการ ตลอดจนเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และภาคเหนือ  

“ในปีนี้มีบูธจำหน่ายสินค้าและแสดงศักยภาพเศรษฐกิจของเชียงใหม่ทั้งหมด   125 บูธ แบ่งเป็นโซนสินค้าฮาลาล ฮาลาลสตรีท โซนนิทรรศการฮาลาล โซน Wellness โซนผู้ประกอบการจากโครงการ Cosmetic Valley โซนตลาดผลไม้ เป็นต้นคาดว่าจะมีผู้ร่วมชมงานมากกว่า 250,000 คนตลอด 10 วัน และจะสร้างรายได้หมุนเวียนมากกว่า 30 ล้านบาท ซึ่งจะเพิ่มขึ้นกว่าการจัดงานในปีที่ผ่านมา”ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวและชี้แจงอีกว่า

หอการค้าแฟร์ 2018 เป็นการจัดงานที่หอการค้าฯ วางรูปแบบการจัดงานที่ใหญ่ที่สุดในเชิงบูรณาการโครงการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่แบบครบวงจร โดยได้รับการสนับสนุนการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงอย่างดียิ่ง และใกล้ชิดกับภาครัฐ ภาคการศึกษา ตลอดจนหน่วยงานที่สำคัญในการผลักดันโครงการเชิงยุทธศาสตร์ที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่ ผ่านการพัฒนาผู้ประกอบการอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม

ด้านดร.ณพศิษฐ์ จักรพิทักษ์ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่กล่าวว่า การดำเนินโครงการในปีนี้ ถือเป็นการบูรณาการอย่างใกล้ชิดระหว่างสถาบันการศึกษากับหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ ที่ได้ดำเนินโครงการร่วมกัน ทั้งโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการดิจิทัลของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ให้ก้าวสู่ Super Cluster ด้านดิจิทัล Thailand 4.0             โครงการ Cross Border E- commerce    โครงการ smart farmer และ smart insect และโครงการหน้าต่างการท่องเที่ยวสู่ล้านนา (Lanna Tourism Enclave) ที่ได้ดำเนินการผ่านศูนย์วิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยว  สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งดำเนินกิจกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมสุขภาพ (Wellness Tourism) ในจังหวัดเชียงใหม่ และกิจกรรมการอบรมผู้ประกอบการล้านนาลองสเตย์

นอกจากนี้ยังมีโครงการพัฒนานวัตกรรมสมุนไพรสำหรับเครื่องสำอางภาคเหนือ” (Cosmetic Valley) (Lanna Long Stay) ของ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่            โครงการพัฒนาความสามารถทางนวัตกรรมของผู้ประกอบการใหม่ภาคเหนือ รุ่นที่ 2  Northern Innovative Startup Thailand (NIST) : Batch 2ของอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (STeP)  และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA  ดำเนิน เพื่อสร้างผู้ประกอบการ Start Up อย่างต่อเนื่อง และโครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ (Startup) ของ วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

ส่วนทางด้านดร.ภราดร สุรีย์พงค์  ผู้ช่วยศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในปีนี้ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล มีส่วนในการประสานงานนำผู้ประกอบการด้านฮาลาลมาร่วมออกบูธภายในโซนหอการค้าฯแฟร์ ซึ่งศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลฯได้ร่วมกับหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ และคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเชียงใหม่จัดงานมาอย่างต่อเนื่องตลอด 3 ปีที่ผ่านมา  เพื่อสร้างการรับรู้เชิงพื้นที่ให้แก่นักท่องเที่ยวและบุคคลทั่วไป ให้รับทราบถึงศักยภาพทางด้านอุตสาหกรรม และสินค้าของฮาลาลในพื้นที่อย่างต่อเนื่องและเป็นการให้ความสำคัญตามยุทธศาสตร์ฮาลาลของประเทศไทยและของจังหวัดเชียงใหม่ด้วย

“การร่วมงานครั้งนี้จะเป็นช่องทางที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการในบ้านเรา ได้แสดงศักยภาพของสินค้าฮาลาลของจังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนืออย่างต่อเนื่อง เป็นการสร้างการรับรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับอุตสาหกรรมฮาลาล  และเราหวังว่าการขยายตลาดฮาลาลในบ้านเราจะเพิ่มยอดการส่งออกไปสู่นานาประเทศ อาจจะเริ่มจากตลาดในประเทศอาเซียนและหากเราประสบความสำเร็จตรงนี้ เราจะเข้มแข็งมากขึ้น เครือข่ายการค้ากว้างขึ้นก็ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะสามารถขยายตลาดต่อไปได้ถึงระดับโลก รวมถึงทางโซนตะวันออกลางและยุโรปด้วย เนื่องจากขณะนี้มีการขยายตัวของนักท่องเที่ยวมุสลิมเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง”ผู้ช่วยศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว

นางวิภาวัลย์ วรพุฒิพงศ์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ ยังกล่าวด้วยว่า ในปีนี้ได้เชิญผู้ซื้อจากประเทศจีนและพม่ามาทำบิสสิเนทแมชชิ่งด้วย โดยเฉพาะจากคุนหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน รวม 20 บริษัทซึ่งสนใจเรื่องของชาหมักกับผลไม้แปรรูป และจากมัณฑะเลย์ พม่าอีก 10 บริษัท.

 

You may also like

บสย. จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา โครงการ “บสย. ร่วมใจ ทำดี เพื่อสังคม” ครั้งที่ 2 ร่วมซ่อมแซม ทาสี เครื่องเล่นเด็ก ปลูกต้นไม้ ณ สวนสมเด็จสราญราษฎร์มณีรมย์

จำนวนผู้