หนุนท่องเที่ยวเชิงอากาศยานเชื่อมสนามบินเล็กทั่วประเทศ 24 แห่ง สมาคมการบินภาคเหนือมุ่งเป้าให้เชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการบินทั่วไป

หนุนท่องเที่ยวเชิงอากาศยานเชื่อมสนามบินเล็กทั่วประเทศ 24 แห่ง สมาคมการบินภาคเหนือมุ่งเป้าให้เชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการบินทั่วไป

เชียงใหม่ หนุนท่องเที่ยวเชิงอากาศยานเชื่อมสนามบินเล็กทั่วประเทศ ตั้งเป้ารายได้ 1,000 ล้าน/ปี เชื่อตอบโจทย์ผู้ใช้บริการ วางเป้าหมายในอนาคตเพื่อส่งเสริมให้จังหวัดเชียงใหม่ศูนย์กลางของการบินทั่วไป   ที่ครอบคลุม การบินส่วนบุคคล, การบินช่วยเหลือทางการแพทย์, อากาศยานไร้คนขับ,การฝึกบิน, การบินเช่าเหมาลำทั้งในรูปแบบ Air charter และ Air taxi ,การบินของ Private Jet,การบินแบบ Corporate aviation, สมาคมการบินหรือ Aeroclub, การบินชมภูมิประเทศ,   การบินถ่ายภาพทางอากาศเผยปีนี้มีนักท่องเที่ยวทะลุ 6 ล้านคน เงินสะพัด 40,000 ล้าน ภาคการท่องเที่ยวฟื้นกว่า 50 % คาดปีหน้ารายได้ทะลุเป็น 70,000 ล้าน

วันที่ 3 ธันวาคม 2565 ที่โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว อ.เมือง จ.เชียงใหม่ นายสันติ ป่าหวาย หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานเปิดสัมมนาส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอากาศยาน และกีฬา พร้อมสร้างเครือข่ายสนามบินขนาดเล็กทั่วประเทศ โดยมีนางกัญญ์ชลา สุขิตรกูล ท่องเที่ยวและกีฬา จ.เชียงใหม่ ,น.ส.ภัทรอนงค์ ณ เชียงใหม่ ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคเหนือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
(ททท.) ,นายดำรงค์ องอาจ นายกสมาคมการบินภาคเหนือ ,ผศ.ดร.นพสิษฐ์ จักพิทักษ์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัทวิทยุการบินเชียงใหม่และนายพัลลภ แซ่จิว ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จ.เชียงใหม่พร้อมเครือข่ายการบิน ผู้ประกอบการท่องเที่ยว เข้าร่วมสัมมนา

นายสันติ กล่าวว่า การท่องเที่ยวเชิงอากาศยาน ถือเป็นท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงท่องเที่ยวเมืองหลัก เมืองรองและเพื่อนบ้านในอนาคต พร้อมสร้างงานที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการบินทั่วไป อาทิ การประกอบและซ่อมบำรุง ฝึกอบรมบุคลากรการบินและการบริหารจัดการสนามบินขนาดเล็กทั่วประเทศให้ได้มาตรฐานสากล มีความปลอดภัยสูง

นายดำรงค์ กล่าวว่า การบินทั่วไป (General Aviation) เป็นรูปแบบการบินที่ไม่ได้ใชอากาศยานทางทหาร และการบินพาณิชย์ ภาคเหนือและจังหวัดเชียงใหม่มีศักยภาพสูงมากในการส่งเสริมสู่การบินทั่วไปเพื่อการท่องเที่ยว เพราะปัจจุบันมีธุรกิจท่องเที่ยวแบบร่มบิน ร่มร่อน รวมถึงบอลลูนจำนวนมากเป็นกิจกรรมทางอากาศที่สามารถส่งเสริมกระตุ้นการท่องเที่ยวและสร้างแรงบันดาลใจด้านการบินให้เยาวชนและผู้สนใจได้เข้าสู่ธุรกิจและอุตสาหกรรมด้านการบิน             ทั้งนี้ การบริการนำเที่ยวโดยใช้อากาศยานขนาดเล็กเป็นพาหนะ เริ่มเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่เป็นความต้องการของนักท่องเที่ยว ซึ่งสามารถให้บริการนักท่องเที่ยวในการชม ทัศนียภาพและได้รับประสบการณ์ จากด้านบน ลงสู่ ภาคพื้น   โดยยานพาหนะที่นิยม เช่น เฮลิคอปเตอร์ เครื่องบินน้ำ แฮงไกลเดอร์ ซึ่งเป็นกิจกรรมทางอากาศที่เหมาะสมกับภูมิศาสตร์ทางภาคเหนือเราด้วยที่มีภูมิทัศน์ที่สวยงาม

ทั้งนี้ทั้งนั้นการนำอากาศยานขนาดเล็กมาใช้เพื่อการ ท่องเที่ยวอย่างเต็มรูปแบบในประเทศไทยยังมีข้อจำกัดหลายอย่างที่ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ ซึ่งถ้าหากเปรียบเทียบกับสากลแล้วปัจจุบันประเทศที่นิยมในเรื่องของการใช้อากาศยานขนาดเล็กเพื่อการท่องเที่ยวคือ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยพื้นที่ที่นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางเพื่อชมทัศนียภาพ ได้แก่ หมู่เกาะฮาวาย ซึ่งมีบริการนำเที่ยวด้วยเฮลิคอปเตอร์ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ชื่นชมภูมิทัศน์ อันสวยงาม และทำให้รู้สึกใกล้ชิดกับทัศนียภาพของพื้นที่ที่มีมุมมองแตกต่างจากการนั่งอากาศยานโดยสารของสายการบิน และคาดว่าในอนาคตในพื้นที่อาเซียน และจีนจะขยายตัวเพิ่มขึ้นมากกว่า 500 บริษัท

ปัจจุบันจังหวัดที่ผู้คนนิยมเดินทางมาท่องเที่ยวเชิงอากาศยาน คือ จังหวัดภูเก็ตและจังหวัดเชียงใหม่ และหากขยายต่อยอดสู่แหล่ง ท่องเที่ยวอื่น ๆ ในจังหวัดที่มีเครือข่ายสนามบินเล็กเพิ่มขึ้น ก็จะเป็นการสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวใหม่ให้กับการท่องเที่ยว  ก็จะก่อให้เกิดความเข้มแข็งและการเติบโตของเศรษฐกิจฐานรากที่เป็นชุมชน ณ จุดหมายปลายทางได้

ดังนั้น การจัดโครงการสัมมนาส่งเสริมการท่องเที่ยวและกีฬาเชิงอากาศยานและการสร้างเครือข่ายสนามบินขนาดเล็กทั่วประเทศ  จึงมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อเป็นการให้ข้อมูล แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในเชิงกฎระเบียบ โอกาสทางธุรกิจ และการสร้างเครือข่ายนักบิน และสนามบินทั่วประเทศ เพื่อแสดงศักยภาพ สร้างเครือข่ายด้านธุรกิจการบินทั่วไป บุคคลที่เกี่ยวข้องในการการเตรียมความพร้อม  ในการยกระดับอุตสาหกรรมและธุรกิจอากาศยานทั่วไปในระดับนานาชาติในอนาคต   อันจะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่จะส่งเสริมให้เกิดการตื่นตัวด้านธุรกิจการบินในพื้นที่เมืองท่องเที่ยวทั่วประเทศ รวมถึงส่งเสริมให้เกิดการผลิตบุคลากร และเกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการบินในอนาคต ประการสำคัญคือการกระตุ้นภาคเศรษฐกิจท่องเที่ยวที่จะสร้างรายได้ต่อท้องถิ่นชุมชนตามมา

เป้าหมายในอนาคตคือการส่งเสริมให้จังหวัดเชียงใหม่ศูนย์กลางของการบินทั่วไป   ที่ครอบคลุม การบินส่วนบุคคล, การบินช่วยเหลือทางการแพทย์, อากาศยานไร้คนขับ,การฝึกบิน, การบินเช่าเหมาลำทั้งในรูปแบบ Air charter และ Air taxi ,การบินของ Private Jet,การบินแบบ Corporate aviation, สมาคมการบินหรือ Aeroclub, การบินชมภูมิประเทศ,   การบินถ่ายภาพทางอากาศ,การบินเพื่อป้องกันปัญหาฝุ่นควันภาคเหนือ เป็นต้น

ปัจจุบันมีสมาคมที่เกี่ยวข้องการบิน 24 สมาคม มีสนามบินเล็กทั่วประเทศ 19 แห่ง ครอบคลุม13 จังหวัด มีเครื่องบินเล็กกว่า 100 ลำ ส่วนใหญ่เป็นเครื่องบินขนาด 2-6 ที่นั่ง มูลค่าตั้งแต่ 2-3 ล้านบาทจนถึง 100 ล้านบาท/ลำ มีค่าใช้จ่ายเดินทางเฉลี่ยเที่ยวบินละ 50,000 บาท/ลำ และเป้าหมายต้องการผลักดันเชียงใหม่ เป็นศูนย์กลางการบินทั่วไป พร้อมกระตุ้นการลงทุนอุตสาหกรรมการบินในภาคเหนือ เพื่อให้เกิดเงินหมุนเวียนปีละ 1,000 ล้านบาท ซึ่งสนามบินเชียงใหม่แอร์สปอร์ต ต.บวกค้าง อ.สันกำแพง สามารถรองรับเครื่องบินเล็กได้กว่า 50 ลำ เพราะรันเวย์มีความยาวเพียง 800 เมตรเท่านั้น

ด้านนายพัลลภ กล่าวว่า การจัดกิจกรรมดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้น และทางเลือกท่องเที่ยวเชิงอากาศยานภาคเหนือ ถือเป็นโจทย์ท้าทาย ว่ากระตุ้นท่องเที่ยวได้มากน้อยแค่ไหน แต่เชื่อว่าตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี เพราะท่องเที่ยวดังกล่าว ส่วนมากเป็นกลุ่มที่มีรายได้และอำนาจซื้อสูง ที่ใช้เวลาพักผ่อนนับสัปดาห์ ต้องจองที่พัก ร้านอาหาร เช่ารถ แหล่งท่องเที่ยวและจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น โดยเฉพาะเส้นทางท่องเที่ยว บวกค้าง อ.สันกำแพง ไปน้ำพุร้อนสันกำแพงและบ้านแม่กำปอง ต.ห้วยทราย อ.แม่ออน ที่ตอบโจทย์นักท่องเที่ยวด้วย

ส่วนทางด้านนางกัญญ์ชลา กล่าวว่า เชียงใหม่เข้าสู่ฤดูท่องเที่ยวเต็มรูปแบบ มีเที่ยวบินเฉลี่ยวันละ 110-120 เที่ยวบิน เป็นในประเทศ 114 เที่ยวบิน ระหว่างประเทศ 6 เที่ยวบิน มีผู้ใช้บริการกว่า 18,000 คน/วัน ช่วงเทศกาลปีใหม่ จนถึงต้นปีหน้า คาดมีผู้โดยสารเฉลี่ย 21,000 คน/วัน เพิ่มขึ้น 10 % “ปีนี้คาดมีนักท่องเที่ยวกว่า 6 ล้านคน เป็นชาวไทย 5.6 ล้านคน ต่างชาติอีก 400,000 คน คาดสร้างรายได้กว่า 40,000 ล้านบาท ส่งผลท่องเที่ยวเชียงใหม่ฟื้นตัวกว่า 50 % ส่วนปีหน้า คาดมีรายได้เพิ่มเป็น 70,000 ล้านบาท ตามลำดับ” นางกัญญ์ชลา กล่าว.

You may also like

อบจ.เชียงใหม่​ ร่วมภาคีเครือข่าย เฉลิมพระเกียรติ​ในหลวง ร.10 ครบ 6 รอบ “ปลูกต้นไม้ ปล่อยปลา ที่หนองเขียว”

จำนวนผู้