สูงวัยไม่เฉา สร้างถุงทรายคลายนิ้วล็อค-ร่วมกิจกรรมสุขภาพดีที่”ทาป่าสัก”

สูงวัยไม่เฉา สร้างถุงทรายคลายนิ้วล็อค-ร่วมกิจกรรมสุขภาพดีที่”ทาป่าสัก”

นปี 2562 ที่ผ่านมา ถือเป็นปีที่ประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุมากกว่าเด็ก และจะเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super Aged Society) ในอีก 15 ปีข้างหน้า (พ.ศ.2578) ซึ่งโครงสร้างอายุของประชากรที่เปลี่ยนไป เท่ากับการเปลี่ยนโครงสร้างของสังคมโดยรวมด้วย ดังนั้นกลุ่มหรือชมรมผู้สูงอายุในระดับหมู่บ้าน หรือชุมชน จึงเป็นกลไกสำคัญ ที่จะสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เพราะมีความใกล้ชิด เข้าใจสภาพปัญหา รวมถึงความต้องการของผู้สูงอายุจิรพรรณ  เจนพนัสสัก เลขานุการโครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนบ้านทาป่าสัก หมู่ 2 ต.ทาปลาดุก อ.แม่ทา จ.ลำพูน เล่าว่า ผู้สูงอายุในบ้านทาป่าสัก มีจำนวน 209 คน จากจำนวนประชากรทั้งหมด 982 คน ซึ่งถือว่าสูง และจากการสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่ขาดการออกกำลังกาย และอยากได้อาชีพเสริม ที่ผ่านมาทาง ทต.ทาปลาดุก ได้ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุออกกำลังกาย และทำเกษตร พืชผักสวนครัวหลังบ้าน ผ่านโรงเรียนผู้สูงอายุ และชมรมผู้สูงอายุบ้านทาป่าสัก ที่รวมตัวกันตั้งแต่ปี 2545 จากสมาชิกเริ่มต้น 98 คน ขณะนี้เพิ่มเป็น 206 คนกิจกรรมประกอบด้วย การสะสมทรัพย์ เพื่อไว้ช่วยเหลือครอบครัวผู้สูงอายุที่ถึงแก่กรรม การปั่นจักรยาน ร่วมกับชมรมผู้สูงอายุตำบลทาปลาดุก การเยี่ยมผู้ป่วยติดเตียง  การตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ หากนั่นยังไม่เพียงพอ เพราะผู้สูงอายุต้องการพัฒนา เสริมสร้างความเข้มแข็งในกลุ่มหรือชมรม เนื่องจากการเข้าร่วมกิจกรรมของสมาชิกไม่สม่ำเสมอ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมน้อย โดยเฉพาะการปั่นจักรยาน สมาชิกชมรมผู้สูงอายุบ้านทาปลาดุกเข้าร่วมเพียง 20 กว่าคน และยังขาดการบริหารจัดการกลุ่มที่เป็นระบบ“ขณะที่คนหนุ่มสาว ออกไปเรียน และทำงานข้างนอก วัยกลางคนส่วนหนึ่งก็เลี้ยงโคนม กับทำไร่ข้าวโพดฝักอ่อน ปล่อยให้ผู้สูงอายุเหงาอยู่ในบ้าน ส่งผลให้บางรายเกิดภาวะเครียด เช่น ยายคำ วัย 80 ปี ลูกหลานทิ้งให้อยู่บ้านคนเดียวช่วงกลางวัน พอกลับมาบ้านตอนเย็นก็มีกิจกรรมของตัวเอง ก่อนแยกย้ายกันนอน ยายคำจึงกลายเป็นคนไม่พูดไม่จา ขาดความกระตือรือร้นต่อสิ่งเร้าภายนอก กระทั่งทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนบ้านทาป่าสัก คณะทำงานก็หมั่นแวะเวียนเข้าไปพูดคุยทั้งกับตัวยายคำ และลูก จนเดี๋ยวนี้สุขภาพจิตดีขึ้น มีการสนทนาปราศรัยกับเพื่อนบ้าน และไม่เก็บตัวอีก ยามว่างบางครั้งก็รวมตัวทำขนม หรือพูดคุยกันอย่างสนุกสนาน” จิรพรรณ อธิบายป้าเป็ง เจนพนัสสัก อสม. และบุคคลต้นแบบในโครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนบ้านทาป่าสัก เล่าว่า โครงการนี้ทำให้ผู้สูงอายุไม่เหงา มีกิจกรรมให้ทำตลอด เช่น ปลูกผักสวนครัวหลังบ้านตามฤดูกาล ทำให้ครัวเรือนได้บริโภคพืชผักปลอดภัยจากสารเคมี เป็นผลดีต่อสุขภาพ ทั้งเมื่อมีเหลือจากกินก็ขายได้  โดยจะมีตลาดผักปลอดสารหน้า รพ.สต.ทุกวันอังคาร  หรือในยามว่างก็ร่วมกันทำโคม ตุง เพื่อขายตามเทศกาล ซึ่งมีคนเข้ามารับซื้อถึงแหล่งผลิตอยู่แล้วนอกจากนี้ยังมีกิจกรรมออกกำลังกายทุกวันศุกร์ ทั้งเต้นแอโรบิค และรำวงมาตรฐาน มีการทำบุญตักบาตร ทำสมาธิ ทุกวันพระ และแต่ละเดือนยังมีการออกเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ที่ติดบ้าน หรือติดเตียง ซึ่งจะร่วมกันเป็นสหวิชาชีพ ทั้งนักกายภาพ อสม. ชมรมผู้สูงอายุ คณะกรรมการโครงการ และเจ้าหน้าที่จาก รพ.สต. พร้อมทั้งมอบสิ่งของให้เป็นกำลังใจด้วยนงค์เยาว์  กันเนตรกาศ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.สต.บ้านทาป่าสัก เล่าถึงพฤติกรรมของผู้สูงอายุในการบริโภคว่า ติดเค็ม อาหารทุกอย่างมักจะมีกะปิ ปลาร้า และเกลือ เป็นส่วนประกอบสำคัญ ทำให้หลายคนกลายเป็นกลุ่มเสี่ยงโรค NCDs และที่แสดงอาการ เป็นโรคความดันโลหิตสูง 73 คน เบาหวาน 22 คน ข้ออักเสบ ข้อเสื่อม 2 คน ถุงลมโป่งพอง 1 คน อัมพาต 1 คนหลายคนมืออ่อนแรง นิ้วล็อค ทาง อสม. และคณะกรรมการโครงการ จึงได้ปรึกษาทาง รพ.สต.เพื่อหาวิธีการ และนวัตกรรมแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จนได้เป็นถุงผ้าเป็นรูปกระดูก ขนาดพอดีกับอุ้งมือ แล้วบรรจุด้วยทรายละเอียด นำไปให้ผู้สูงอายุที่มีอาการมืออ่อนแรงบีบ จับ เป็นการบริหารกล้ามเนื้อมือ ซึ่งปรากฏว่าสามารถช่วยลดอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อมือ และนิ้วล็อคได้วันนี้ กลุ่มผู้สูงอายุบ้านทาป่าสัก จึงสามารถอยู่กับบ้านได้อย่างมีความสุขโดยไม่รู้สึกเครียด หรือโดดเดี่ยวอีกต่อไป เพราะพวกเขาได้รับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม ทั้งด้านการออกกำลังกาย การบริโภคอาหารที่เหมาะสม ส่งผลให้เกิดการปรับพฤติกรรมหันมาดูแลสุขภาพของตัวเองอย่างถูกต้องและใส่ใจมากยิ่งขึ้น.

You may also like

เครือข่ายแรงงานภาคเหนือลั่นสู้ พร้อมรวมพลังทวงคืนความมั่งคั่งจากนายทุน

จำนวนผู้