สื่อมวลชนในภาคเหนือร่วมหารือระดมสมอง “กลุ่มยกระดับการสื่อสารวิกฤตฝุ่น” รอบที่ 2 หลังจากนัดแรกเรียกร้อง 7 ข้อแต่ยังไม่มีสัญญาณตอบรับจากทุกฝ่าย

สื่อมวลชนในภาคเหนือร่วมหารือระดมสมอง “กลุ่มยกระดับการสื่อสารวิกฤตฝุ่น” รอบที่ 2 หลังจากนัดแรกเรียกร้อง 7 ข้อแต่ยังไม่มีสัญญาณตอบรับจากทุกฝ่าย

สื่อมวลชนในภาคเหนือร่วมหารือระดมสมอง “กลุ่มยกระดับการสื่อสารวิกฤตฝุ่น” รอบที่ 2 หลังจากนัดแรกเรียกร้อง 7 ข้อแต่ยังไม่มีสัญญาณตอบรับจากทุกฝ่าย

เมื่อช่วงเช้าวานนี้(27 ธ.ค.66 ) คณะทำงานสื่อสารวิกฤตฝุ่น ได้จัดเวทีร่วมแลกเปลี่ยน ครั้งที่2 หลังจากที่ได้ข้อเสนอตั้งต้นมาแล้ว 7 ข้อผ่านระบบซูม โดยมีนายบัณรส บัวคลี่ ตัวแทนสภาลมหายใจเชียงใหม่ สถานีฝุ่นและตัวแทนจากไทยพีบีเอสภาคเหนือเป็นผู้ประสานงาน โดยได้ข้อสรุปเกี่ยวกับปัญหาที่จะเสนอผลักดัน เพิ่มเติม ดังนี้

  1. ให้ความสำคัญกับการสื่อสารระดับย่อย (ชุมชน /ตำบล) การพูดถึงการสื่อสารที่ผ่านมา มักมองเรื่องการสื่อสารภาคใหญ่เป็นหลัก เพื่อการสร้างการรับรู้กระตุ้นเตือนสังคม แต่อยากให้มีเสนอกลไกการส่งต่อการสื่อสารลงระดับย่อย เพื่อความเข้าใจของประชาชนนแต่ละหมู่บ้านด้วย อาจจะมีกลไกระดับจังหวัด ที่ถ่ายทอดลงไป
  2. การสื่อสารเรื่องแผนปฏิบัติการของแต่ละจังหวัดและแผนงบประมาณ แม้ว่าสถานการณ์การฝุ่นควันจะเข้มขึ้นแล้ว แต่ข้อมูลแผนปฏิบัติการของจังหวัดในการเตรียมการและเผชิญกับสถานการณ์ สื่อมวลชนยังไม่รู้ เพื่อป้องการการรับรู้คลาดเคลื่อนหรือสื่อการเฉพาะจุด อยากให้มีการแถลงหรือ แจ้งแผนปฏิบัติการ ที่ชัดเจนกับสื่อมวลชน และแผนการบริหารงบประมาณ ซึ่งที่ผ่านมากภาครัฐมักจะอ้างว่าไม่มีงบประมาณ แต่คนในพื้นที่ร่วมถึงสื่อมวลชนไม่มีใครรู้ว่า มีหมวดงบประมาณในพื้นที่อย่างไร ใช้ทำอะไรเมื่อไร หากจะลดความขัดแย้งและสร้างความร่วมมือ ควรสื่อสารเรื่องนี้แบบเปิดเผย
  3. ขอให้มีการอธิบาย ห้ามเผา แต่ใช้การบริหารจัดการเชื้อเพลิงได้ คืออะไรและทำแบบไหน ในพื้นที่ไหนเพื่อให้เกิดความชัดเจนในแนวทางปฏิบัติใหม่ และรู้ว่าพื้นที่ไหนที่จะบริหารจัดการเชื้อเพลิงบ้าง เพื่อความเข้าใจทั้งพื้นที่หรือคนบริหารและคนที่ได้รับผลกระทบ
  4. ให้เพิ่มระบบฐานข้อมูลกลาง ดังนี้ 4.1 กรณีตัวอย่างพื้นที่ตัวอย่างในการบริหารจัดการไฟ หรือ ตัวอย่างที่เป็นบทเรียนให้ที่อื่น ๆ นำไปปฏิบัติต่อได้ โดยให้สื่อมวลชนสามารถนำไปสื่อสารต่อได้

    4.2 การเปิดเผยสถิติ หรือข้อมูลผลกระทบด้านสุขภาพ เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชน          ในการเลือกปฏิบัติตัว ซึ่งที่ผ่านมาไม่มีการรวบรวมสถิติป่วยหรือเปิดเผยข้อมูลผลกระทบออกมาต่อสื่อมวลชนและ ข้อเสนอสนับสนุนข้อเสนอเดิม ตามข้อ 1 และข้อ 6 คือ อยากให้มีถังข้อมูลกลางในการใช้รายงานข่าว         โดยเครือข่ายสื่อมวลชนสามารถประสานเบอร์โทร หรือภาพ คลิปได้แบบไม่มีลายน้ำ และขอให้องค์กรสื่อสนใจเนื้อหาเฉพาะของชุมชน หรือระดับพื้นที่

    ทั้งนี้เวทีระดมความคิดเห็นครั้งแรก นำโดยนายบัณรส บัวคลี่ สภาลมหายใจเชียงใหม่ที่ห้องประชุมสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ภาคเหนือ ซึ่งนายบัณรสชี้แจงถึงการระดมความเห็นในครั้งนี้ว่า เนื่องจากปัญหาสถานการณ์ฝุ่นควัน ที่มีมาต่อเนื่องหลายปีและมีความซับซ้อนทั้งในเรื่องของการจัดการ      การแก้ไขปัญหารวมถึง การสื่อสารและการเข้าถึงข้อมูล โดยตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาเห็นพัฒนาการความพยายามแก้ไขปัญหาจากภาครัฐมาโดยตลอด แต่ก็ยังมีอุปสรรคในเรื่องของการสื่อสารข้อมูลไปยังประชาชน ในทุกระดับซึ่งเขาเหล่านั้นคือผู้ประเชิญกับสถานการณ์โดยตรง  จึงเป็นที่มาของการรวมกลุ่มการของ         กลุ่มยกระดับสื่อสารวิกฤตฝุ่น รวมตัวจากสื่อผู้ปฏิบัติภาคสนาม สื่อมวลชนในพื้นที่ภาคเหนือและสถานีฝุ่น     สภาลมหายใจภาคเหนือจัดระดมออกแบบการสื่อสารร่วมกันเพื่อยกระดับการสื่อสารในการแก้วิกฤติฝุ่นควัน   ปี 2567 เพื่อจะผลักดันข้อเสนอให้เกิดการยกระดับการสื่อสารปัญหามลพิษฝุ่นควัน ให้เกิดประสิทธิภาพ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย มีความชัดเจนและครอบคลุมข้อเท็จจริง และตอบสนองการแก้ปัญหาวิกฤตการณ์มลพิษฝุ่นควัน ที่เกิดต่อเนื่องมายาวนาน โดยสามารถประมวลข้อสรุปจากการระดมสมองได้ดังนี้
    มีปัญหาที่จะเสนอผลักดัน 7 กลุ่มปัญหา

    1. 1. ขอให้มีฐานข้อมูลกลาง หรือศูนย์สื่อสารข้อมูลและเชื่อมประสาน และยกระดับการเปิดข้อมูล ข้อเท็จจริง คลิปข่าว ภาพถ่ายและข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็น ให้สื่อสารมวลชนได้ใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพ โดย ขอให้แต่ละจังหวัดมีศูนย์กลางที่รวบรวมข้อมูลดังกล่าว ทั้ง ข้อมูลพื้นฐาน แผน ทรัพยากร สถิติที่ผ่านมา แผนปฏิบัติในปีนี้ ฯลฯ ตลอดถึง ข้อมูลรายวัน ภาพเหตุการณ์ คลิปเหตุการณ์ รายละเอียดสถานการณ์ ให้สื่อมวลชนนำไปใช้ หรือแหล่งอ้างอิงหรือบุคคลอ้างอิงที่สามารถติดต่อได้
    2. 2. ขอให้มีการแถลงข่าว/ รายงานสถานการณ์สำคัญ เช่น ไฟไหม้ใหญ่ ไฟลุกลาม เหตุร้ายแรง ฯลฯ โดยโฆษกสถานการณ์ และขอให้มีการรายงานสถานการณ์ประจำวัน หากเป็นไปได้ควรกำหนดเวลาก่อนเที่ยงให้สอดคล้องกับการส่งข่าวของระบบสื่อส่วนกลาง ยกเว้นกรณีที่เหตุการณ์วิกฤติ อาจจะแถลงข่าวหรือให้ข้อมูลมากกว่า 1 ครั้งต่อวัน และ ขอให้แต่ละจังหวัดประกาศข้อมูลแผนปฏิบัติการต่าง ๆ รวมทั้งแผนชิงเผาบริหารเชื้อเพลิงล่วงหน้า
    3. 3. ปัญหาเรื่องทัศนคติ และวิธีคิดของผู้ปฏิบัติ ที่ไม่อยากให้นำเสนอข้อเท็จจริงที่เป็นผลกระทบ ขนาดพื้นที่ไฟไหม้ ขนาดความเข้มข้นของค่ามลพิษ ผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่ไม่เปิดข้อมูล เมื่อสื่อพยายามรายงานข่าวสารจากแหล่งอื่น หากไม่ตรงหรือคลาดเคลื่อนก็จะเกดความขัดแย้งไม่พอใจขึ้น ผู้ปฏิบัติจำนวนหนึ่ง      พึงพอใจที่สื่อไม่รายงานเหตุการณ์   กรณีสื่อท้องถิ่นในจังหวัด มักจะได้รับผลกระทบหากรายงานข่าว            ที่สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด ไม่อยากให้นำเสนอ มีข้อเสนอจากสื่อภาคสนามว่า เราไม่ใช่ศัตรู ที่จ้อง     จะรายงานด้านลบที่เกิดผลกระทบต่อหน่วยงานท่าน เรื่องนี้เป็นปัญหาทัศนคติ ขอให้ปรับร่วมกันว่า ทุกฝ่ายควรเปิดความจริง ข้อเท็จจริงของสถานการณ์ให้ประชาชนรู้ ให้ตรงที่สุด โดยมีข้อเสนอในการปรับเปลี่ยนเป้าหมายของการนำเสนอ จากการรายงานประชาชนปกติ เป็น “การรายงานความห่วงใยต่อพี่น้องประชาชน”​ เพื่อให้ประชาชนสามารถปฏิบัติตัวในการป้องกันตัวเองได้ทันทวงที
    4. 4. ขอให้หน่วยงานเกี่ยวข้องทุกจังหวัด เร่งนำเสนอข้อมูล แนวทาง วิธีการ คำสั่ง มาตรการ ของจังหวัดตนให้ประชาชนรับรู้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง และครอบคลุมก่อนเหตุการณ์จริง คือ ควรต้องเร่งดำเนินการภายในเดือนมกราคม ที่ผ่านมา ประชาชนส่วนใหญ่จะไม่รู้รายละเอียดวิธีการคำสั่งที่จังหวัดประกาศออกมา ทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ ประชาชนไม่ทราบคำสั่งห้ามเผา ประชาชนไม่รู้ว่ามีช่องทางบริหารเชื้อเพลิง เป็นต้น
    5. 5. สื่อและหน่วยสนับสนุน ควรยกระดับการสื่อสารในเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อประโยชน์ของประชาชนผู้รับผลกระทบ เช่น เปิดพื้นที่รายงานข่าวต่อเนื่อง ให้เกิดความรับรู้ให้น้ำหนักความสำคัญของพื้นที่ผลกระทบ (เช่น แม่สาย หากไม่เสนอข่าวสารย้ำๆ ต่อเนื่องอาจจะถูกละเลยทั้งที่เป็นพื้นที่กระทบรุนแรง) หรือ การออกแบบรายงานพื้นที่ปฏิบัติการพิเศษ ไฟแปลงใหญ่ ไฟที่มีผลกระทบสูง เป็นต้น

    1. 6. องค์กรสื่อส่วนกลางที่รับข่าวจากท้องถิ่น ควรเปิดพื้นที่ รับข่าวเล็กข่าวน้อยที่รายงานเหตุการณ์/ผลกระทบ จากพื้นที่ (สตริงเกอร์ส่งข่าวไม่ได้ลง ก็ไม่ออกไปทำข่าว พื้นที่ผลกระทบเล็ก ๆ น้อย ๆ ถูกมองข้าม) มีข้อเสนอให้ องค์กรใหญ่ เช่น กรมประชาสัมพันธ์ ไทยพีบีเอส หรือ องค์กรทุน สสส. พิจารณา สร้างถังข้อมูลข่าวสารกลาง ให้สื่อต่าง ๆ ตักไปใช้ ข้อมูลกลางดังกล่าว ให้รวมถึงข่าวเล็กข่าวน้อยข่าวสารที่อาจถูกมองข้ามด้วย
    2. 7. ขอให้มีการอบรม ยกระดับ ความรู้ เทคนิค การเข้าถึงเครื่องมือ ดูจุดความร้อน ค่าอากาศ ทิศทางลม และทักษะอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการยกระดับรายงานข่าว ให้กับผู้สื่อข่าวภาคสนาม

    อย่างไรก็ตามสื่อมวลชนในพื้นที่ภาคเหนือมองว่าปัญหานี้ ไม่ได้มีแค่ในช่วงสถานการณ์สั้นๆ          ซึ่งพัฒนาการในการแก้ไขปัญหา มีการทำงานของภาคปฏิบัติงานต่อเนื่องตลอดทั้งปี จึงมองว่าการสื่อสารแบบต่อเนื่องจะนำมาซึ่งความเข้าใจของประชาชนผู้รับสารและการออกแบบการสื่อสารแบบต่อเนื่องจึงมีความสำคัญเพื่อที่จะทำให้ปัญหานี้ลุล่วงไปได้ด้วยดี

    ทั้งนี้ชุดข้อเสนอเพื่อยกรับสื่อสารฯ ทั้งหมด รวบรวมเป็นร่างข้อเสนอคณะทำงาน นำไปเสนอต่อที่ประชุมสื่อภาคสนามระดับภาค ผู้ปฏิบัติงานสื่อด้านสิ่งแวดล้อม และ องค์กรเกี่ยวข้องระดมสมองเติมเต็ม ให้เกิดเป็นข้อเสนอเพื่อยกระดับการสื่อสารวิกฤตการณ์มลพิษฝุ่นควันที่สมบูรณ์ เสนอต่อรัฐบาลต่อไปภายในเดือนมกราคม 2567

You may also like

บสย. จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา โครงการ “บสย. ร่วมใจ ทำดี เพื่อสังคม” ครั้งที่ 2 ร่วมซ่อมแซม ทาสี เครื่องเล่นเด็ก ปลูกต้นไม้ ณ สวนสมเด็จสราญราษฎร์มณีรมย์

จำนวนผู้