สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม หนุนหมู่บ้านตั้งสภาผู้นำ ขับเคลื่อนโครงการชุมชนน่าอยู่ภาคเหนือ

สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม หนุนหมู่บ้านตั้งสภาผู้นำ ขับเคลื่อนโครงการชุมชนน่าอยู่ภาคเหนือ

อุตรดิตถ์ (25 ธ.ค.59)/ ตัวแทนขาวบ้าน 14 จังหวัดภาคเหนือ ศึกษาดูงาน และเรียนรู้กระบวนการสร้างชุมชนน่าอยู่ของบ้านพงสะตือ จ.อุตรดิตถ์ เพื่อขอรับการสนับสนุนจาก สสส. ขณะที่นายอำเภอตรอน ยกพงสะตือเป็นหมู่บ้านต้นแบบ เตรียมขยายผลทั่วพื้นที่เมื่อวันที่ 24-25 ธ.ค.59 ตัวแทนชาวบ้านจาก 14 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร และเพชรบูรณ์ จำนวนกว่า 200 คน ได้เดินทางไปศึกษาดูงานชุมชนน่าอยู่ต้นแบบที่บ้านพงสะตือ หมู่ 6 ต.บ้านแก่ง อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ เพื่อเรียนรู้กระบวนการสร้างชุมชนน่าอยู่ก่อนจะขอรับการสนับสนุนจากสำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม (สำนัก 6) ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)จากการศึกษาดูงานครั้งนี้ พบว่า ก่อนหน้านี้ปัญหาสุขภาพในหมู่บ้านพงสะตือ มีผู้ป่วยด้วยโรคความดัน เบาหวาน และเส้นเลือดในสมองแตกทุกปี ชาวบ้านจึงหาทางทางออก โดยการตั้งสภาผู้นำชุมชนจำนวน 50 คน ที่มาจากตัวแทนของทุกองค์กรภายในชุมชน เช่น แกนนำชาวบ้าน อสม. กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มอาชีพ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเยาวชน ฯลฯ เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาในชุมชนที่สำคัญ คือบ้านพงสะตือมีการรวบรวม และจัดเก็บข้อมูลทุกด้านของชุมชนอย่างเป็นระบบ แล้วนำมาช่วยกันวิเคราะห์หาปัญหา สาเหตุ อันนำไปสู่วิธีการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม คือการปลูกผักปลอดสารเคมีอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี ทั้งในครัวเรือน สวนครัวชุมชน และในโรงเรียน รวมทั้งคิดเมนูสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ลดหวาน มัน เค็ม ไม่ใช้ผงชูรส และผงปรุงรส ทำให้สุขภาพโดยรวมของชาวบ้านดีขึ้น กลุ่มเสี่ยงน้อยลงอย่างเห็นได้ชัดเจนนายสมรส มั่นกำเนิด ผู้ใหญ่บ้าน ม.6 กล่าวว่า สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้บ้านพงสะตือน่าอยู่ขึ้น คือการนำข้อมูลของชุมชนมาใช้ให้เป็นประโยชน์ จากนั้นก็มีการจัดตั้งสภาผู้นำชุมชน แล้วเข้าร่วมโครงการชุมชนน่าอยู่ร่วมกับสสส. ชวนชาวบ้านปลูกผักปลอดสารพิษ ปรากฏว่าได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านดีมาก จากเดิมตั้งเป้าว่าจะต้องมีคนเข้าร่วม 120 ครัวเรือนจากทั้งหมด 191 ครัวเรือน แต่สุดท้ายมีถึง 184 ครัวเรือนที่หันมาปลูกผัก “ส่วนมากชาวบ้านเน้นหนักไปในการทำนา จึงไม่ค่อยได้สนใจที่จะปลูกผักไว้กิน แต่เดี๋ยวนี้คนที่ทำนาก็จะต้องมีแปลงผักของตัวเอง ซึ่งเรามีการตกลงร่วมกันว่าแต่ละบ้านต้องมีแปลงผักอย่างน้อยหนึ่งแปลงและต้องปลูกอย่าต่อเนื่องตลอดทั้งปี” ผู้ใหญ่สมรส กล่าวและว่า หัวใจสำคัญของการสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน คือไม่ฝืนความรู้สึกคนและไม่สร้างกิจกรรมที่ขัดกับวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรมด้านนายพัฒนพงษ์ สร้อยอินทรากูล นายอำเภอตรอน จ.อุตรดิตถ์ กล่าวว่า บ้านพงสะตือได้ยกระดับคุณภาพชีวิตชาวบ้านอย่างเห็นผลชัดเจน ชาวบ้านสามารถบริหารจัดการตนเองได้ผ่านรูปแบบของสภาผู้นำชุมชน จนนำไปสู่การแก้ไขปัญหาของท้องถิ่นได้อย่างถูกทิศทาง ซึ่งถือเป็นชุมชนน่าอยู่ต้นแบบที่น่าชมเชย และทางอำเภอจะสนับสนุนให้ทุกพื้นที่เห็นความสำคัญของการสร้างความเข้มแข็งในชุมชน ให้สามารถบริหารจัดการตนเองได้เหมือนที่บ้านพงสะตือได้ทำไว้ส่วนนายแชน อะทะไชย ผู้จัดการโครงการสนับสนุนติดตามประเมินผลและสังเคราะห์ความรู้ภาคเหนือ สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม สสส. กล่าวว่า หัวใจสำคัญของการทำงานในชุดโครงการชุมชนน่าอยู่ คือแต่ละหมู่บ้านต้องจัดตั้งสภาผู้นำชุมชนขึ้นมาเป็นแกนนำในการขับเคลื่อนงาน และวิเคราะห์ปัญหาในท้องถิ่นให้ได้ว่ามีอะไรบ้าง แล้วเลือกหยิบยกปัญหาที่มีความสำคัญเร่งด่วนขึ้นมาจัดการ เช่น ปัญหาการจัดการขยะ หรือปัญหาด้านสุขภาพ เป็นต้น โดยทาง สสส.พร้อมจะสนับสนุนโครงการในปีแรก โครงการละไม่เกิน 2 แสนบาท หลังจากนั้นอาจมีการขับเคลื่อนเพื่อแก้ไขปัญหาอื่นๆ และพัฒนาศักยภาพชุมชนให้ยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวบ้านอย่างยั่งยืน ซึ่งสามารถทำโครงการขอรับการสนับสนุนจาก สสส.อย่างต่อเนื่องได้อีก 2 ปี.

You may also like

เครือข่ายแรงงานภาคเหนือลั่นสู้ พร้อมรวมพลังทวงคืนความมั่งคั่งจากนายทุน

จำนวนผู้