“วังขอนงุ้น”แหล่งผลิตส้มปลอดภัย เพื่อสุขภาพผู้บริโภค

“วังขอนงุ้น”แหล่งผลิตส้มปลอดภัย เพื่อสุขภาพผู้บริโภค

ากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี 2559 ของชาวบ้านวังขอนงุ้น หมู่ 7 ต.แม่สำ อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย ระบุว่า มีรายรับเฉลี่ย 79,953.28 บาทต่อครัวเรือนต่อปี แต่มีรายจ่ายเฉลี่ยถึง 115,047.93 บาทต่อครัวเรือนต่อปี นั่นหมายความว่ามีผลต่างขาดทุน 35,094.66 บาทต่อครัวเรือนต่อปี

ที่บ้านวังขอนงุ้น มีประชากรทั้งหมด 225 คน 77 หลังคาเรือน ในจำนวนนี้มีถึง 59 หลังคาเรือน หรือคิดเป็น 76.62% คืออาชีพทำสวนส้มสีทอง นอกจากนั้นยังทำนา ไร่ข้าวโพด ไร่ขมิ้นชันและจับสัตว์น้ำในแม่น้ำยมจำหน่ายตามฤดูกาลสาเหตุที่ชาวบ้านมีรายจ่ายมากกว่ารายรับ พบว่ามาจากการลงทุนซื้อสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ปุ๋ย สารเร่งการเจริญเติบโตเฉลี่ย 64,090.34 บาทต่อครัวเรือนต่อปี เมื่อสืบค้นลงไปในรายละเอียดก็พบว่าในพื้นที่ปลูกส้มรวม 412 ไร่ ใช้ยาฆ่าแมลงถึง 11,080 ลิตรต่อปี ยาฆ่าหญ้า 5,130 ลิตรต่อปี ปุ๋ยยาเร่งโตอีก 55,200 ลิตรต่อปี ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งด้านสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมจากข้อมูลนี้เอง สมประสงค์ ยาใจ ผู้ใหญ่บ้านวังขอนงุ้น จึงคิดหาทางแก้ไข เพราะถ้าปล่อยไว้ สุขภาพของชาวบ้านอาจจะย่ำแย่จนหมดหนทางเยียวยา เขาจึงพูดคุยกับแกนนำชาวบ้านจำนวนหนึ่ง เข้าไปหารือกับเจ้าหน้าที่รพ.สต.แม่สำ ก่อนจะขอรับการสนับสนุนและร่วมโครงการโครงการชุมชนน่าอยู่กับทางสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)“พอเข้าร่วมโครงการ ก็ให้ทาง อสม. ตรวจหาสารเคมีในเลือดของตัวแทนชาวบ้านที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป และบางรายไม่ได้ทำสวนส้มจำนวน 102 คน ปรากฏว่าอยู่ในระดับปลอดภัยแค่ 3 คนเท่านั้น” ผู้ใหญ่สมประสงค์ บอกและให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้วยว่า ในปี 2559 รพ.สต.แม่สำตรวจสารเคมีในเลือดของชาวบ้าน พบสารพิษตกค้างในเลือดในระดับสูง 34 คน และไม่ปลอดภัย 21 คน จาก 114 คน คิดเป็น 48.24% และเสี่ยงเป็นมะเร็งปอด 2 คน มะเร็งผิวหนัง 3 คน แพ้สารเคมีเฉลี่ย 3 คนต่อเดือน สัมผัสผิวหนังพุพอง 2 คนต่อเดือนเมื่อคืนข้อมูลที่สำรวจพบให้กับชาวบ้าน จึงเกิดกระแสตื่นตัว มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนอย่างกว้างขวาง จนในที่สุดมีการตกลงร่วมกันว่าเกษตรกรชาวสวนส้มบ้านวังขอนงุ้น จะร่วมกันผลิต “ส้มปลอดภัย” ทั้งต่อตัวเกษตรกรและผู้บริโภค โดยจำกัดสารเคมีไม่ให้เกินอัตราที่กำหนด และเก็บเกี่ยวส้มในระยะที่ปลอดภัยกระบวนการดำเนินงานตามความตั้งใจนี้ โดยเริ่มต้นจากกลุ่มสภาผู้นำชุมชน 25 คน และให้แต่ละคนจับคู่กับเพื่อนที่เป็นเกษตรกรในชุมชน ซึ่งเรียกคนกลุ่มนี้ว่า “เกษตรกรอาสา” ผลิตส้มปลอดภัยอย่างน้อย 20 ต้นต่อคน ขณะเดียวกันเจ้าของสวนรายหนึ่งในหมู่บ้าน ก็สมัครใจทำแบบปลอดสารเคมี 100% ปรากฏว่าทุกต้นยังให้ผลผลิตเท่าเดิม แต่ต้นทุนต่ำลง ทำให้ชาวบ้านมีกำลังใจที่จะขยายสวนส้มปลอดภัย จากพื้นที่รวม 150 ไร่ที่ทดลองทำในปีนี้ ให้ครอบคลุมพื้นที่สวนส้มทั้งหมด 412 ไร่ ทั้งยังเริ่มเพาะปลูกพืชผักไว้กินเอง ทั้งในบ้าน และปลูกแซมในสวนส้มด้วยทองหล่อ สุขชัง สมาชิกทีมสภาผู้นำชุมชนบ้านวังขอนงุ้น และเจ้าของสวนส้มปลอดสารเคมี บอกว่า เริ่มทำสวนส้มอย่างจริงจังตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมา และใช้สารเคมีมาตลอด แต่ไม่เคยจดบันทึกว่าใช้ปุ๋ย หรือยาเท่าไหร่ บางปีขายได้ 80,000-100,000 บาท ก็คิดว่ารายได้ดีแล้ว ภายหลังเริ่มจดบันทึกค่าใช้จ่าย จึงเห็นว่าต้นทุนสูงถึง 80,000 บาท ไม่รวมค่าแรงที่ทุ่มเทลงไปตลอดทั้งปี“พอเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ชาวสวนไม่สามารถกำหนดราคาเองได้ ขึ้นอยู่กับพ่อค้าคนกลาง ปีไหนส้มให้ผลผลิตมาก ทั้งที่ลักษณะดี สีสวย รสชาติหวาน ก็มักจะถูกลดเกรด เพื่อกดราคาซื้อ ในปี 2559 จึงปรับเปลี่ยนมาทำสวนส้มปลอดสารเคมี ใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ สมุนไพรไล่แมลง น้ำหมักชีวภาพ สารเร่ง พด.3 ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ควบคุมเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคพืชในดิน และป้องกันยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคพืช ที่ทำให้เกิดอาการรากเน่า โคนเน่า รวมทั้งใช้น้ำส้มควันไม้ เชื้อราไตรโคเดอร์มา แทนสารเคมีทั้งหมด ปรากฏว่าขายผลผลิตได้ 80,000 บาท เปรียบเทียบต้นทุนกำไรแล้ว ก็ยังมีกำไรเหลือราว 40,000 บาท” ทองหล่อ อธิบายด้าน อภิชัย น้อยคง สมาชิกทีมสภาผู้นำชุมชนอีกรายหนึ่ง และเจ้าของสวนส้มพี่น้องสองสี เล่าเสริมว่า สิ่งสำคัญที่ทำให้โครงการสวนส้มปลอดภัยขับเคลื่อนไปได้ คือมีการวางกติการ่วมกัน มี 6 มาตรการหลัก คือ 1.ห้ามเกษตรกรสวนส้มใช้สารเคมีในสวนส้มเกินกว่าระดับปลอดภัยที่กำหนดไว้ 2.เกษตรกรสวนส้มที่เข้าร่วมโครงการต้องใช้สารชีวภาพ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ หรือกลวิธีธรรมชาติต่างๆ ที่มีการแบ่งปัน เรียนรู้ ผลิต และรับรองผลจากทีมสภาผู้นำชุมชน และกลุ่มปลูกส้มร่วมกัน 3 ต้องจดบันทึกผลการดำเนินกิจกรรมการใช้สรเคมี การใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ ในสวนส้มอย่างต่อเนื่อง และตรวจสอบได้ทุกเดือน ประกอบด้วยจำนวนปริมาณสารเคมี จำนวนปริมาณสารชีวภาพ ปุ๋ยหมัก จำนวนปริมาณผลผลิตส้มที่จำหน่าย ค่าใช้จ่ายสารเคมี สารชีวภาพ รายรับจากการจำหน่ายส้ม เป็นต้น4.เกษตรกรสวนส้มต้องชี้แจงผลผลิตที่จำหน่ายและตรวจประเมินจากทีมสภาผู้นำ เพื่อรับโลโก้รับรองผลผลิต 2 ประเภทคือ ส้มปลอดภัย และส้มปลอดสาร 5.ห้ามติดป้ายหรือประชาสัมพันธ์โฆษณาการจำหน่ายสินค้าสารเคมีในชุมชน และ 6.ต้องเข้าร่วมตรวจดิน ตรวจสุขภาพ อบรมความรู้ จัดทำสารชีวภาพ ปุ๋ยหมัก และรณรงค์สร้างกระแส ประชาสัมพันธ์การลดใช้สารเคมีในสวนส้มวังขอนงุ้นร่วมกัน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้งความตระหนักถึงพิษภัยของสารเคมี และความรู้ในการผลิตสารชีวภาพใช้เอง ไม่เพียงแค่ส่งผลต่อตัวเกษตรกร ช่วยให้มีสุขภาพดี และลดต้นทุนในการดูแลสวนส้ม หากยังส่งผลถึงผู้บริโภคในวงกว้าง ทำให้มีทางเลือกที่ปลอดภัยมากขึ้นอีกด้วย.

You may also like

เกษตรกร ชี้ซีพีเป็นรายเดียวเข้มนโยบายตรวจสอบย้อนกลับ ไม่รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ และที่มาจากการเผา

จำนวนผู้