ลำพูนขนสินค้าเกษตรปลอดภัยให้คนเชียงใหม่และนักท่องเที่ยวได้เลือกซื้อใช้ในงาน“LAMPHUN AGRICULTURE FESTIVAL มหกรรมสินค้าเกษตรปลอดภัย ดัง เด่น ดี @ลำพูน”

ลำพูนขนสินค้าเกษตรปลอดภัยให้คนเชียงใหม่และนักท่องเที่ยวได้เลือกซื้อใช้ในงาน“LAMPHUN AGRICULTURE FESTIVAL มหกรรมสินค้าเกษตรปลอดภัย ดัง เด่น ดี @ลำพูน”

สำนักงานเกษตรจังหวัดลำพูน จัดงาน“LAMPHUN AGRICULTURE FESTIVAL มหกรรมสินค้าเกษตรปลอดภัย ดัง เด่น ดี @ลำพูน”งานแสดงและจำหน่ายสินค้าเกษตรปลอดภัย และรณรงค์การบริโภคสินค้าเกษตรปลอดภัย ระหว่างวันที่ 28-30 กรกฎาคม 2566 ณ ลานกิจกรรมมีโชคพลาซ่า (MeeChock Plaza) จังหวัดเชียงใหม่

เมื่อวันที่ 29 ก.ค.66 ที่ลานกิจกรรมมีโชคพลาซ่า จังหวัดเชียงใหม่ นายชาตรี กิตติธนดิตถ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เป็นประธานเปิดงาน “LAMPHUN AGRICULTURE FESTIVAL มหกรรมสินค้าเกษตรปลอดภัย ดัง เด่น ดี @ลำพูน”งานแสดงและจำหน่ายสินค้าเกษตรปลอดภัย และรณรงค์การบริโภคสินค้าเกษตรปลอดภัย  ซึ่งสำนักงานเกษตรจังหวัดลำพูนจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 28-30 กรกฎาคม 2566 โดยมี นางวิไล อุตส่าห์ เกษตรจังหวัดลำพูน และนางกนกรัตน์ ยุกติรัตน์ พาณิชย์จังหวัดลำพูน ร่วมงาน

นางวิไล อุตส่าห์ เกษตรจังหวัดลำพูน กล่าวว่า งานนี้เป็นการส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร ประชาสัมพันธ์ผลผลิต และผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรที่มีความปลอดภัย เกษตรกรเป็นผู้จำหน่ายเองให้เป็นที่รู้จักสู่ผู้บริโภค สินค้ามากมายหลากหลาย ดัง เด่น ดี ของจังหวัดลำพูน จัดโดยสำนักงานเกษตรจังหวัดลำพูน ภายใต้กิจกรรมจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าเกษตรปลอดภัย และรณรงค์การบริโภคสินค้าเกษตรปลอดภัยของจังหวัดลำพูน

ซึ่งเป็นการดำเนินงานโครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตสินค้าเกษตรให้ได้คุณภาพมาตรฐานและมูลค่าเพิ่ม กิจกรรมเพิ่มศักยภาพการผลิตสินค้าเกษตรให้ได้คุณภาพมาตรฐานและมูลค่าเพิ่ม มีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาเกษตรกรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจด้านการผลิตสินค้าเกษตรตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) ส่งเสริมเกษตรกรผู้ผลิตเข้าสู่ระบบมาตรฐาน GAP       เพื่อสร้างโอกาสในการส่งออกและเพื่อประชาสัมพันธ์เพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลผลิตและผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรที่มีคุณภาพของเกษตรกร ให้เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง และพัฒนาทักษะทางด้านการตลาดให้แก่เกษตรกร

 

อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้เกษตรกรเป็นผู้ประกอบการด้านการตลาด วางแผนระบบการผลิตและการบริหารจัดการ จนถึงการเชื่อมโยงการตลาดกับภาคเอกชน โดยการส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร เป็นการประชาสัมพันธ์ผลผลิต และผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรที่มีความปลอดภัย เกษตรกรเป็นผู้จำหน่ายเองให้เป็นที่รู้จักสู่ผู้บริโภค

ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งเป็นการเชื่อมโยงผลผลิตที่มีคุณภาพและได้รับการรับรองมาตรฐานจากกิจกรรมแปลงใหญ่ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน Young Smart Farmer และ Smart Farmer สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าผลิตภัณฑ์ ถือเป็นช่องทางในการช่วยเหลือเกษตรกรในด้านการตลาดให้เข้มแข็งและมั่นคง สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน มั่งคั่ง มั่นคงต่อไป

ด้านนายชาตรี กิตติธนดิตถ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน กล่าวว่า ลำพูนเป็นทั้งเมืองอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ด้านเกษตรกรมมีผลผลิตที่มีคุณภาพออกสู่ตลาดทุกปี โดยเฉพาะลำไย มีการควบคุมการผลิตตั้งแต่ผู้ปลูกไปจนถึงผู้บริโภค มีการแปรรูปเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออกซึ่งได้ทำมาระยะหนึ่งแล้ว มีการเปิดช่องทางการจำหน่ายให้กว้างขึ้น การจัดงานในครั้งนี้ เป็นโอกาสที่ผู้ผลิตและผู้บริโภคจะได้พบกัน โดยได้กล่าวเน้นย้ำด้วยว่า

จังหวัดลำพูนมีวิสัยทัศน์ คือ “เมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บนความพอเพียง” โดยมีพันธกิจที่สำคัญ คือ Lamphun Creative Lanna : มุ่งยกระดับโครงสร้างระบบอุตสาหกรรม เชื่อมโยงหัตถอุตสาหกรรม เกษตรกรรม ส่งเสริมการผลิต การบริโภค สร้างความเข้มแข็งพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากสู่การเป็นระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ (NEC) และ Lamphun Food Valley : มุ่งต่อยอดและพัฒนาเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น ส่งเสริมระบบเกษตรอัจฉริยะให้เกิดเกษตรกรรมยั่งยืน สร้างมูลค่าตลอดห่วงโซ่คุณค่า และได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาจังหวัดลำพูน ในการเป็น “เมืองแห่งเกษตรสุขภาพและเกษตรนวัตกรรมสร้างสรรค์”

นอกจากสินค้าทางการเกษตรจากผู้ประกอบการ จังหวัดลำพูน ภายในงานยังพบกับ นิทรรศการสินค้าเกษตรปลอดภัย การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร Good Agricultural Practices For Food Crop (GAP), การสาธิตจากผู้ประกอบการภายในงาน, กิจกรรมนาทีทองจากร้านค้า, การแสดง และศิลปินมากมาย พบกับความสนุกสนาน ได้ที่งาน “LAMPHUN AGRICULTURE FESTIVAL มหกรรมสินค้าเกษตรปลอดภัย ดัง เด่น ดี @ลำพูน” ตั้งแต่วันที่ 28 – 30 กรกฎาคม 2566 ณ ลานกิจกรรมมีโชคพลาซ่า (MeeChock Plaza) จังหวัดเชียงใหม่

You may also like

กลุ่ม Chiang Mai Pride จับมือร่วมกับ Asset World Corporation (AWC) และ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดงาน “Chiang Mai Colourful Pride Month 2024” เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ และเชื่อมโยงการท่องเที่ยว

จำนวนผู้